ชิงกันเซ็ง E5 และ H5 ซีรีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชิงกันเซ็ง E5 ซีรีส์)
E5 ซีรีส์
ภาพของ E5 ซีรีส์
E5 ซีรีส์ ขบวน ฮายาบูซะ
ประจำการมีนาคม 2011–ปัจจุบัน
ผู้ผลิตฮิตาชิ, คาวาซากิ เฮวี่ อินดรัสทรีส์
สายการผลิต2009–ปัจจุบัน
อยู่ระหว่างผลิต310 ตู้ (31 ขบวน)
จำนวนที่ผลิต280 ตู้ (28 ขบวน)
จำนวนในประจำการ280 ตู้ (28 ขบวน) (เมื่อ เม.ย. 2014)
รูปแบบการจัดขบวน10 ตู้ต่อขบวน
หมายเลขตัวรถU1-
ความจุผู้โดยสาร731 ที่นั่ง (658 ชั้นธรรมดา, 55 ชั้นกรีน, 18 ชั้นหนึ่ง)[1]
ผู้ให้บริการJR ตะวันออก
สายที่ให้บริการโทโฮกุชิงกันเซ็ง
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังอลูมินัม อัลลอยด์
ความยาวทั้งขบวน253 m (830 ft)
ความยาว26,500 mm (86 ft 11 in)
(ตู้ปลาย)
25,000 mm (82 ft 0 in) (ตู้กลาง)[2] ที่นั่งถูกจัดเรียงแถวหน้ากระดานในรูปแบบ 3+2 มีปลั๊กไฟสำหรับที่นั่งริมหน้าต่างและแถวที่นั่งปลายตู้โดยสาร[3]
ความกว้าง3,350 mm (11 ft 0 in)
ความสูง3,650 mm (12 ft 0 in)
ความเร็วสูงสุด320 km/h (200 mph)
น้ำหนัก453.5 ตันต่อขบวน
ระบบส่งกำลังMT207 AC traction motors (300 kW)[4]
กำลังขับเคลื่อน9,960 kW (13,360 hp)
ความเร่ง1.71 กม./ชั่วโมง/วินาที
ระบบจ่ายไฟฟ้า25 kV AC, 50 Hz จ่ายไฟเหนือหัว
ตัวรับกระแสไฟแหนบรับไฟ
ระบบเบรกระบบคืนกำลังขณะเบรก (Regenerative)
ระบบความปลอดภัยDS-ATC
สามารถทำขบวนร่วมกับE3 ซีรีส์/E6 ซีรีส์
มาตรฐานทางกว้างรางมาตรฐาน 1,435 mm (4 ft 8 12 in)

E5 ซีรีส์ เป็นรุ่นของรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น ดำเนินงานโดย บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR ตะวันออก) ในเส้นทาง โทโฮกุชิงกันเซ็ง เริ่มให้บริการครั้งแรกในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554[5] ในขั้นตอนการออกแบบ เดิมรถไฟรุ่นนี้ถูกออกแบบให้มีความเร็วสูงสุด 300 กม./ชั่วโมง แต่ก็มีการปรับเพิ่มเป็น 320 กม./ชั่วโมง ในขบวน ฮายาบูซะ ระหว่างโตเกียวกับอาโอโมริ จะวิ่งให้บริการผู้โดยสารด้วยความเร็ว 300 กม./ชั่วโมง ส่วนขบวน ฮายาเตะ (ต่อพ่วงกับ E3 ซีรีส์) กับ ยามาบิโกะ จะวิ่งด้วยความเร็ว 275 กม./ชั่วโมง

การจัดขบวน[แก้]

ตู้หมายเลข 1 ถึง 8 เป็นตู้ชั้นธรรมดา ตู้หมายเลข 9 เป็นตู้ชั้นกรีน ตู้หมายแลข 10 เป็นตู้ชั้นกรังซ์ (ชั้นหนึ่ง)

เลขตู้ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
รหัสผัง T1c M2 M1 M2 M1k M2 M1 M2 M1s Tsc
หมายเลข E523 E526-100 E525 E526-200 E525-400 E526-300 E525-100 E526-400 E515 E514
น้ำหนัก (ตัน) 41.9 45.9 46.0 46.3 46.1 46.8 46.8 46.0 45.8 42.7
จำนวน
ที่นั่ง
29 100 85 100 59 100 85 100 55 18
สิ่งอำนวย
ความสะดวก
สุขา   สุขา, โทรศัพท์   สุขา, เครื่องกระตุกหัวใจ, โทรศัพท์, พื้นที่วีลแชร์   สุขา   สุขา, พื้นที่วีลแชร์, ห้องพนักงาน  

ตู้หมายเลข 3 และ 7 เป็นตู้ที่มีแหนบรับไฟแขนเดี่ยวติดตั้งอยู่

ภายใน[แก้]

ชั้นกรังซ์มีระยะห่างที่นั่ง 130 เซนติเมตรกับเบาะกว้าง 52 เซนติเมตร สามารถปรับเอนได้สูงสุด 45 องศา ชั้นกรีนมีระยะห่างที่นั่ง 116 เซนติเมตรกับเบาะกว้าง 47.5 เซนติเมตร สามารถปรับเอนได้ 31 องศา ส่วนชั้นธรรมดามีระยะห่างที่นั่ง 104 เซนติเมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. 日本最高の時速320km運転やグランクラスを実現 E5系 [Achieves Japan's highest speed of 320km / h and Gran Class E5 Series]. 完全保存版!新幹線まるわかりBOOK (ภาษาญี่ปุ่น). マイナビ出版. 2016. pp. 74–75. ISBN 9784839960049.
  2. JR東日本 E5系新幹線電車(量産先行車) [JR East E5 series shinkansen pre-series train]. 鉄道ダイヤ情報. Vol. 38 no. 304. Tokyo: Kotsu Shimbun. August 2009. pp. 68–69. ASIN B002EJ6WQ6.
  3. Osaka, Naoki (10 April 2014). なぜ北陸新幹線は全席コンセント付きなのか [Why does the Hokuriku Shinkansen have power outlets for every seat?]. Toyo Keizai Online (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Toyo Keizai Inc. p. 3. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
  4. 鉄道のテクノロジー 3 JR高速特急Part.1 [Railway Technology 3: JR High-speed Limited Express Trains Part.1]. 三栄書房 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo. July 2009. p. 9. ISBN 978-4-7796-0669-4.
  5. 新しい東北新幹線の列車愛称等の決定について [Name selected for new Tohoku Shinkansen services] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). JR East. 11 May 2010. สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]