ชิงกันเซ็ง E3 ซีรีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
E3 ซีรีส์
E3 ซีรีส์ ทำขบวนในสายอากิตะชิงกันเซ็ง รูปแบบ โคะมะชิ , มีนาคม 2008
ประจำการ1997-ปัจจุบัน
ผู้ผลิตKawasaki Heavy Industries, Tokyu Car Corporation
ตระกูลมินิชินกังเซ็ง
สายการผลิต1995-2009
จำนวนที่ผลิต261 ตู้ (41 ขบวน)
จำนวนในประจำการ261 ตู้ (41 ขบวน)
รูปแบบการจัดขบวน6 หรือ 7 ตู้ต่อขบวน
หมายเลขตัวรถR1-R26, L51-L53, L61-L72
ความจุผู้โดยสาร6 ตู้ R เซต: 338 (23 Green + 315 Standard)
7 ตู้ L50 เซต (E3-1000): 402 (23 Green + 379 Standard)
7 ตู้ L60 เซต (E3-2000): 394 (23 Green + 371 Standard)
ผู้ให้บริการJR ตะวันออก
โรงซ่อมบำรุงสถานีอะกิตะ, ยะมะงะตะ
สายที่ให้บริการโทโฮกุชิงกันเซ็ง
อากิตะชินกังเซ็ง
ยามางาตะชินกังเซ็ง
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังอะลูมินัม
ความยาว20,050 ถึง 23,070 mm (65 ft 9 in ถึง 75 ft 8 in)
ความกว้าง2,945 mm (9 ft 8 in)
จำนวนประตู1 บานต่อด้าน
ความเร็วสูงสุด275 km/h (171 mph) (โทโฮะกุ ชิงกันเซ็ง), 130 km/h (81 mph) (อะกิตะ/ยะมะงะตะ ชินกังเซ็ง)
ระบบส่งกำลังขบวน 6 ตู้: 16 x 300 kW,
ขบวน 7 ตู้: 20 x 300 kW
กำลังขับเคลื่อนขบวน 6 ตู้: 4.8 MW (6,440 hp),
ขบวน 7 ตู้: 6 MW (8,050 hp)
ความเร่ง1.6 km/h/s
ระบบจ่ายไฟฟ้า20/25 kV AC, 50 Hz overhead catenary
ตัวรับกระแสไฟแหนบรับไฟ
ระบบความปลอดภัยATC-2, DS-ATC, ATS-P
สามารถทำขบวนร่วมกับ200 ซีรีส์, E2 ซีรีส์, E4 ซีรีส์, E5 ซีรีส์
มาตรฐานทางกว้าง1435

E3 ซีรีส์ เป็นรุ่นของรถไฟความเร็วสูง ชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการทำขบวนแบบ โคมาจิ ซึ่งเริ่มให้บริการเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2540 พร้อมกับการเปิดตัวใหม่ของ อากิตะชิงกันเซ็ง "มินิชิงกันเซ็ง" สายแรก สาเหตุที่เรียกว่ามินิก็เนื่องจากชินกันเซ็งสายนี้จะมีขนาดความกว้างของตัวถังที่แคบกว่า โดยอะกิตะ ชินกันเซ็ง เป็นการขยายความกว้างรางระหว่างสถานีโมริโอกะ ถึง สถานีอากิตะ จากขนาดราง 1,067 มม. เป็น รางมาตรฐาน 1,435 มม.

นอกจากนี้ เวอร์ชันภายหลังของ E3 ยังถูกนำไปใช้งานในสาย ยามางาตะชิงกันเซ็ง (มินิชินกันเซ็ง) รูปแบบ สึบะซะ ซึ่งมินิชินกันเซ็งทั้งสองสายนี้เอง เชื่อมต่อกับ โทโฮะกุ ชินกันเซ็ง

ในโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย บริษัทรถไฟของของญี่ปุ่นเสนอให้ไทยใช้ระบบชินกันเซ็ง ซึ่งญี่ปุ่นจะนำชินกันเซ็ง E3 มาให้บริการในสายตะวันออก (กรุงเทพ - ระยอง) เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างช่วงแอร์พอร์ตลิงก์ ที่ต้องใช้รถไฟความเร็วสูงขบวนแคบ

เวอร์ชัน[แก้]

  • E3 ซีรีส์ "R" เซต: ขบวน 26 x 6ตู้ ใช้งานในสาย อากิตะชิงกันเซ็ง ขบวน โคะมะชิ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 3 มิถุนายน 2540
  • E3-1000 ซีรีส์ "LR" เซต: ขบวน 3 x 7ตู้ ใช้งานในสาย ยามางาตะชิงกันเซ็ง ขบวน สึบาซะ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2542
  • E3-2000 ซีรีส์ "LR" เซต: ขบวน 12 x 7ตู้ ใช้งานในสาย ยามางาตะชิงกันเซ็ง ขบวน สึบาซะ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 20 ธันวาคม 2551

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]