ชิงกันเซ็ง 700 ซีรีส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
700 ซีรีส์
700 ซีรีส์ บนเส้นทางระหว่างสถานีคาเกงาวะและชิซูโอกะ
ประจำการ1999-ปัจจุบัน
ผู้ผลิตHitachi, Kawasaki Heavy Industries, Kinki Sharyo, Nippon Sharyo
แทนที่0 ซีรีส์, 100 ซีรีส์, 300 ซีรีส์
สายการผลิต1997-2006
จำนวนที่ผลิต1,328 ตู้ (91 ขบวน)
จำนวนในประจำการ1,248 ตู้ (86 ขบวน) (เมื่อ เม.ย. 2013)[1]
จำนวนที่ปลดระวาง80 ตู้ (5 ขบวน)
รูปแบบการจัดขบวน16 ตู้ต่อขบวน (8 ตู้สำหรับ ฮิการิเรลสตาร์)
ความจุผู้โดยสารขบวน 16 ตู้: 1,323 ที่นั่ง
ขบวน 8 ตู้: 571 ที่นั่ง
ผู้ให้บริการJR ตอนกลาง, JR ตะวันตก
โรงซ่อมบำรุงสถานีโตเกียว, โอซากะ, ฮากาตะ
สายที่ให้บริการโทไกโดชิงกันเซ็ง, ซันโยชิงกันเซ็ง, สายฮากาตะมินามิ
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังอะลูมินัม
ความยาว25,000 mm (82 ft 0 in) (ตอนกลาง),
27,350 mm (89 ft 9 in)
(ตู้ปลาย)
ความกว้าง3,380 mm (11 ft 1 in)
ความสูง3,690 mm (12 ft 1 in)
จำนวนประตู2 บานต่อข้าง
ความเร็วสูงสุด270 km/h (170 mph) (โทไกโด), 285 km/h (177 mph) (ซันโย)
ระบบส่งกำลัง48 x 275 kW (369 hp) (16-car set),
24 x 275 kW (369 hp) (ขบวน 8 ตู้)
กำลังขับเคลื่อน13.2 MW (17,700 hp) (16-car set),
6.6 MW (8,900 hp) (ขบวน 8 ตู้)
ความเร่ง2.0 km/h/s (0.56 m·s−2)
ความหน่วง2.7 km/h/s (0.75 m·s−2)
ระบบจ่ายไฟฟ้า25 kV AC, 60 Hz 25 kV AC, 60 Hz จ่ายไฟเหนือหัว
ตัวรับกระแสไฟPantograph
ระบบความปลอดภัยATC-1, ATC-NS
มาตรฐานทางกว้าง1435

700 ซีรีส์ (ญี่ปุ่น: 700系) เป็นรุ่นของรถไฟความเร็วสูง ชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น ซึ่งมีสายการผลิตระหว่างปี ค.ศ. 1997-2006 และให้บริการครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1999 เดิมทีนั้นออกแบบโดยใช้ชื่อว่า N300 ซีรีส์ ชิงกันเซ็งรุ่นนี้ได้รับการออกแบบร่วมโดย JR ตอนกลาง และ JR ตะวันตก โดยปัจจุบันให้บริการในสาย โทไกโด และ ซันโยชิงกันเซ็ง

เวอร์ชัน[แก้]

16 ตู้ C เซต[แก้]

เวอร์ชันนี้ถูกนำไฟใช้งานโดย JR ตอนกลาง โดยวิ่งในเส้นทาง โตเกียว - ฮากาตะ ขบวน โนโซมิ ซึ่งถูกนำมาใช้งานแทนการปลดระวางของ 300 ซีรีส์ ที่ทำขบวนในเส้นทางนี้ก่อนหน้านี้

การจัดขบวน[แก้]
ตู้ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
ตำแหน่ง Tc M2 M'w M1 M1w M' M2k T's Ts M2s M'h M1 M1w M' M2w T'c
รหัส 723 727 726-500 725 725-300 726 727-400 718 719 717 726-700 725-600 725-500 726-200 727-500 724
จำนวนที่นั่ง 65 100 85 100 90 100 75 68 64 68 63 100 90 100 80 75
ภายใน[แก้]

16 ตู้ B เซต (700-3000 ซีรีส์)[แก้]

JR ตะวันตก 700-3000 ซีรีส์ ขบวน B9

เวอร์ชันนี้ถูกนำไปใช้งานโดย JR ตะวันตก สำหรับทำขบวน ฮิการิ จากกรุงโตเกียว ซึ่งถูกนำมาใช้งานแทนการปลดระวางของ 100 ซีรีส์ ที่ทำขบวนในเส้นทางนี้ก่อนหน้านี้

การจัดขบวน[แก้]
ตู้ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
ตำแหน่ง Tc M2 M'w M1 M1w M' M2k T's Ts M2s M'h M1 M1w M' M2w T'c
รหัส 723-3000 727-3000 726-3500 725-3000 725-3300 726-3000 727-3400 718-3000 719-3000 717-3000 726-3700 725-3600 725-3500 726-3200 727-3500 724-3000
จำนวนที่นั่ง 65 100 85 100 90 100 75 68 64 68 63 100 90 100 80 75
ภายใน[แก้]

8 ตู้ E เซต (700-7000 ซีรีส์)[แก้]

ขบวน ฮิการิ เรล สตาร์

เวอร์ชัน 8 ตู้นี้ เป็นความต้องการของ JR ตะวันตก สำหรับใช้งานในเส้นทาง ซันโยชิงกันเซ็ง รูปแบบ ฮิการิ เรล สตาร์ ซึ่งเป็นเส้นทางจาก สถานีรถไฟชินโอซากะถึงสถานีรถไฟฮากาตะ โดยเวอร์ชันนี้เริ่มนำมาทำขบวนเมื่อ 11 มีนาคม ค.ศ. 2000 แทนที่การปลดระวางของ 0 ซีรีส์ ขบวน ฮิการิเวสต์

การจัดขบวน[แก้]
ตู้ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8
ตำแหน่ง Tc M1 Mpk M2 M2w Mp M1kh T'c
รหัส 723-7000 725-7600 726-7500 727-7000 727-7100 726-7000 725-7700 724-7500
จำนวนที่นั่ง 65 100 80 80 72 72 50 52
ภายใน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. JR電車編成表 2013夏 [JR EMU Formations - Summer 2013]. Japan: JRR. May 2013. pp. 413–415. ISBN 978-4-330-37313-3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]