ชาลเลนเจอร์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟวี 4034 ชาลเลนเจอร์ 2
บทบาทรถถังประจัญบานหลัก
สัญชาติ บริเตนใหญ่
ประจำการปีพ.ศ. 2541-ปัจจุบัน
ผู้ใช้งานกองทัพบกอังกฤษ, กองทัพบกโอมาน
สงครามสงครามอ่าว
บริษัทผู้ผลิตอัลวิส วิกเกอร์ส, บีเออี ซิสเทมส์
มูลค่า4,217,000 ปอนด์[1]
จำนวนที่ผลิตไม่เกิน 446 คัน
น้ำหนัก62.5 ตัน
ความยาว8.3 เมตร
11.5 เมตร (รวมปืน)
ความกว้าง3.5 เมตร
4.2 เมตร (รวมเกราะเสริม)
ความสูง2.5 เมตร
ลูกเรือ4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน พลบรรจุ และพลขับ)
เกราะเกราะช็อบแฮม/ดอร์เชสเตอร์ ระดับ 2 (เป็นความลับ)
อาวุธหลักปืนใหญ่ลำกล้องเกลียวแอล30เอ1 ขนาด 120 ม.ม. พร้อมกระสุน 52 นัด
อาวุธรองปืนกล แอล94เอ1 อีเอ็กซ์-34 ขนาด 7.62 มม.
ปืนกล แอล37เอ2 ขนาด 7.62 มม.
เครื่องยนต์เครื่องยนต์ดีเซลวี12 เพอร์กินส์ ซีวี-12 บรรจุน้ำมัน 26 ลิตร
1,200 แรงม้า
กำลัง/น้ำหนัก19.2 แรงม้า/ตัน
ระบบส่งกำลังระบบสงกำลังแบบเกียร์ เดวิด บราวน์ ทีเอ็น54 (เดินหน้า 6 เกียร์ ถอยหลัง 2 เกียร์)
ระบบช่วงล่างสปริงไฮโดรนิวเมติก
ระยะห่างระหว่างตัวถังกับพื้น0.5 เมตร[2]
ความจุเชื้อเพลิง1,592 ลิตร[2]
พิสัย450 กิโลเมตร[2]บนถนน
250 กิโลเมตร[2] นอกถนน
ความเร็ว56 กม./ชม.[2] บนถนน
48.3 กม./ชม.[2] นอกถนน

เอฟวี 4034 ชาลเลนเจอร์ 2 (อังกฤษ: FV4034 Challenger 2) เป็นรถถังประจัญบานหลักสัญชาติอังกฤษที่ประจำการอยู่ในกองทัพบกสหราชอาณาจักรและกองทัพบกโอมาน มันถูกออกแบบและสร้างโดยบริษัทวิกเกอร์ส ดีเฟนซ์ ซิสเท็มส์ของอังกฤษ (ตอนนี้เป็นบีเออี ซิสเท็มส์ แลนด์ แอนด์ อาร์มเมนท์ส)[3]

ชาลเลนเจอร์ 2 เป็นรถถังที่ออกแบบใหม่มาจากชาลเลนเจอร์ 1 แม้ว่าตัวรถและส่วนขับเคลื่อนนั้นจะคล้ายคลึงกัน แต่ชาลเลนเจอร์ 2 นั้นมีชิ้นส่วนที่ออกแบบและสร้างขึ้นใหม่กว่าของชาลเลนเจอร์ 1 และมีเพียง 5% ของชิ้นส่วนที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนกับรถถังทั้งสองแบบได้ ชาลเลนเจอร์ 2 ได้เข้าแทนที่ชาลเลนเจอร์ 1 ในกองทัพบกอังกฤษและกองทัพบกโอมานเองก็ใช้รถถังนี้เช่นกัน ชาลเลนเจอร์ 2 ได้เข้าร่วมรบในบอสเนีย คอซอวอ และอิรัก

ประวัติ[แก้]

ชาลเลนเจอร์ 2 เป็นรถถังแบบที่สามในตระกูลชาลเลนเจอร์ โดยรถถังแบบแรกคือเอ30 ชาลเลนเจอร์ เป็นรถถังในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้โครงของรถถังครอมเวลล์พร้อมปืนใหญ่ 17-ปอนด์ รถถังแบบที่สองคือชาลเลนเจอร์ 1 ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นรถถังประจัญบานหลักของอังกฤษตั้งแต่ช่วงพ.ศ. 2523-2533

วิกเกอร์ส ดีเฟนซ์ ซิมเท็มส์ได้เริ่มพัฒนารถถังที่จะทำหน้าที่ต่อจากชาลเลนเจอร์ 1 ในปีพ.ศ. 2529 บริษัทวิกเกอร์สได้ยื่นแผนการสร้างชาลเลนเจอร์ 2 อย่างเป็นทางการให้กับกระทรวงกลาโหมของอังกฤษขอเรียกร้องหารถรถถังรุ่นใหม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอังกฤษ จอร์จ ยังเกอร์ ได้ประกาศให้สภาสามัญชนทราบว่า บริษัทวิกเกอร์สจะได้รับสัญญามูลค่า 90 ล้านปอนด์ในการสร้างรถถังตัวอย่างเพื่อนำมาสาธิต ข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532[4] การสาธิตประกอบด้วยการทดสอบสามขั้นตอนด้วยกัน โดยจัดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2532 มีนาคม พ.ศ. 2533 และกันยายน พ.ศ. 2533 เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบบริษัทวิกเกอร์สจะต้องหาบรรลุปัจจัยทั้ง 11 ของรถถัง[4]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 หลังจากการแข่งกันกับรถถังแบบอื่นๆ (รวมทั้งเอ็ม1เอ2 เอบรามส์และลีโอพาร์ด 2) กระทรวงกลาโหมของอังกฤษได้วางคำสั่งซื้อรถถัง 127 คันและรถถังสำหรับฝึกอีก 13 คันเป็นมูลค่า 520 ล้านปอนด์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2537 ได้มีการสั่งซื้อรถถังอีก 259 คัรและรถถังฝึกขับอีก 9 คัน เป็นจำนวนเงิน 800 ล้านปอนด์ ประเทศโอมานได้สั่งซื้อรถถังชาลเลนเจอร์ 2 จำนวน 18 คันในปีพ.ศ. 2537 และอีก 20 คันในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540

การผลิตเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2536 โดยมีสถานที่ผลิตหลักสองแห่งคือ พื้นที่เอลส์วิกค์ ทีน และแวร์ และที่บาร์นโบว์ในลีดส์ มีผู้ทำสัญญารับช่วงกว่า 250 ราย รถถังคันแรกถูกส่งมอบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537

การออกแบบ[แก้]

อาวุธ[แก้]

รถถังชาลเลนเจอร์ 2 ที่กำลังยิงปืนใหญ่ขณะทำการซ้อมรบ

ชาลเลนเจอร์ 2 มีอาวุธหลักเป็นปืนใหญ่แอล30เอ1 ขนาด 120 มม.[5] ซึ่งเป็นปืนรุ่นถัดจากปืนใหญ่แอล11 ของรถถังชิฟเทนและชาลเลนเจอร์ 1 ปืนถูกทำขึ้นจากเหล็กที่ผ่านกระบวนการนำกลับมาหลอมใหม่ในแสลกพร้อมภายในที่เป็นโครเมียมอัลลอยที่มีความแข็งแกร่งสูง ปืนนี้มีระบบขับไอเสียและความคุมโดยระบบอิเลคทรอนิกส์ทั้งหมด ป้อมปืนสามารถหมุนได้ 360 องศาภายใน 9 วินาที

สิ่งที่ปืนนี้แตกต่างจากรถถังคันอื่นๆ ในกลุ่มนาโต้ก็คือ มันเป็นปืนที่มีลำกล้องเกลียว เพราะว่ากองทัพบกอังกฤษนั้นใช้กระสุนหัวอัดทำลายด้วยระเบิดแรงสูง (high explosive squash head) กระสุนดังกล่าวสามารถยิงได้ไกลกว่ากระสุนเจาะเกราะทั่วไปและสามารถจัดการกับอาคารและพาหนะหุ้มเกราะขนาดเบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในตัวรถถังจะบรรจุกระสุนปืนใหญ่ไว้ทั้งหมด 49 นัด ประกอบด้วยกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ แอล27เอ1 กระสุนหัวอัดทำลายด้วยระเบิดแรงสูง แอล31 และกระสุนฟอสฟอรัสขาว แอล34 การบรรจุกระสุนยังคงใช้วิธีบรรจุกระสุนและตัวประจุแยกจากกัน สำหรับกระสุนเกราะเกราะทั่วไปจะใช้ตัวประจุติดไฟง่าย และตัวประจุแบบครึ่งวงกลมใช้กับกระสุนระเบิดแรงสูงและกระสุนฟอสฟอรัส ท่อระบายอากาศจะถูกใช้เพื่อเริ่มต้นการยิงปืนใหญ่ การยิงอาวุธหลักจึงมีด้วยกันสามขึ้นตอนคือ บรรจุตัวกระสุน ตัวประจุ และท่อปล่อยความดัน

ชาลเลนเจอร์ 2 ยังมีอาวุธรองเป็นปืนกล แอล94เอ1 อีเอ็กซ์-37 ขนาด 7.62 มม.ที่ข้างกระบอกปืนใหญ่ และปืนกลแอล37เอ2 ที่บนฝาปิดพลบรรจุกระสุน รถถังบรรทุกกระสุนขนาด 7.62 มม.ทั้งหมด 4,200 นัด

การควบคุมการยิงและการมองเห็น[แก้]

ภาพระยะใกล้ของชาลเลนเจอร์ 2

รถถังนี้ใช้ตัวควบคุมการยิงด้วยคอมพิวเตอร์แบบดิจิทัลของเจเนรัล ไดนามิกส์ที่ประกอบด้วยตัวประมวลผล 32-บิต พร้อมกับฐานข้อมูลเอ็มไอแอล เอสทีดี1553บี ที่สามารถรองรับระบบเพิ่มเติมได้ เช่น ระบบควบคุมข้อมูลสนามรบ

ผู้บัญชาการรถถังสามารถมองเห็นได้เป็นมุมกว้างด้วยกล้องซาเจม วีเอส 580-10 พร้อมเครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์ มีระยะมองบนล่างที่ +35° ถึง −35° พร้อมกล้องหักสายตาอีก 8 ตัวเพื่อมองให้เห็น 360 องศารอบรถถัง

กล้องจับความร้อนและศูนย์เล็งปืนแบบทอกส์ 2 (TOG II) ของบริษัทเธลส์ทำให้รถถังสามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ รูปภาพที่เป็นความร้อนจะถูกแสดงบนหน้าจอของพลปืนและผู้บัญชาการรถถัง พลปืนจะมาสามารถหาระยะได้ด้วยเครื่องหาระยะด้วยเลเซอร์ที่มีพิสัยตั้งแต่ 200 เมตรถึง 10 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีกล้องหักสายตาที่สามารถขยายความคมชัดของภาพสำหรับพลขับในตอนกลางคืนอีกด้วย

การป้องกัน[แก้]

ชาลเลนเจอร์ 2 เป็นหนึ่งในรถถังที่มีเกราะหนาที่สุดและมีการป้องกันดีที่สุดในโลก[6] ป้อมปืนและตัวรถใช้เกราะช็อบแฮมรุ่นสอง (หรือดอร์เชสเตอร์) ที่รายละเอียดยังคงเป็นความลับ ระบบป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมีถูกติดตั้งไว้ที่ตัวป้อมปืน

ทั้งสองด้านข้างของป้อมปืนมีเครื่องยิงระเบิดควันแอล8 ติดตั้งอยู่ นอกจากนี้ชาลเลนเจอร์ 2 นั้นสามารถสร้างม่านควันได้ด้วยการฉีดน้ำมันดีเซลเข้าไปที่ท่อไอเสีย

ระบบขับเคลื่อน[แก้]

ชาลเลนเจอร์ 2 ของทหารม้ารักษาพระองค์สก็อตที่กำลังข้ามสิ่งกีดขวางในการฝึกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ในอิรัก
  • เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ดีเซล ซีวี12 26.6 ลิตรของเพอกินส์ที่ให้กำลัง 1,200 แรงม้า
  • เกียร์: ระบบส่งกำลังแบบเกียร์ ทีเอ็น54 ของเดวิด บราวน์ (มี 6 เกียร์หน้าและ 2 เกีบร์หลัง)
  • ระบบช่วงล่าง: ระบบไฮโดรนิวเมติก
  • ตีนตะขาบ: แบบปรับด้วยไฮดรอลิกของวิลเลียม คุก ดีเฟนซ์
  • ความเร็วสูงสุด: 60 กม./ชม. (บนถนน) ; 40 กม./ชม. (ข้ามประเทศ)
  • พิสัย: 450 กม. (บนถนน); 250 กม. (ข้ามประเทศ)

ลูกเรือและการอำนวยความสะดวก[แก้]

กองทัพบกอังกฤษยังคงใช้ลูกเรือ 4 คนเหมือนเดิม โดยรวมพลบรรจุด้วย เพราะว่าหลังจากการทำการประเมินความเสี่ยงแล้ว การใช้เครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัตินั้นจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในสนามรบ การผิดพลาดของกลไกและระยะเวลาในการซ่อมบำรุงนั้นเป็นสิ่งแรกที่กังวล

เช่นเดียวกับรถถังของอังกฤษตั้งแต่รถถังเซนจูเรียน ชาลเลนเจอร์ 2 มีที่ทำน้ำร้อนสำหรับชงชาและในการประกอบอาหารถุง[7] สิ่งนี้เป็นที่นิยมทั่วไปสำหรับยานเกราะในกองทัพอังกฤษและยังเป็นเอกลักษณ์ของสหราชอาณาจักรอีกด้วย

ประวัติการใช้งาน[แก้]

ชาลเลนเจอร์ 2 ได้ทำภารกิจรักษาความสงบและทำการซ้อมรบมากมายก่อนที่มันจะได้เข้าสู้สนามรบจริงในการบุกอิรักเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 กองพลน้อยยานเกราะที่ 7 จากกองพลยานเกราะที่ 1 ของสหราชอาณาจักรได้เข้าร่วมรบพร้อมชาลเลนเจอร์ 2 จำนวน 120 คัน รถถังแสดงบทบาทสำคัญในการล้อมเมืองบาสรา ด้วยการยิงสนับสนุนให้กับกองกำลังของอังกฤษ ความสามารถของรถถังทำออกมาได้ดีเยี่ยมและปัญหาที่พบในการซ้อมรบก่อนหน้าได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที

ในช่วงการบุกอิรักในปีพ.ศ. 2546 ไม่มีรถถังชาลเลนเจอร์ 2 คันใดถูกทำลายโดยข้าศึก มีเพียงหนึ่งคันเท่านั้นที่ถูกระเบิดจากระเบิดแสวงเครื่อง โชคร้ายที่รถถังคันดังกล่าวไม่ได้ติดตั้งเกราะ"ดอร์เชสเตอร์" ทำให้พลขับได้รับบาดเจ็บ ในการปะทะกันครั้งหนึ่งในบริเวณเมือง รถถังชาลเลนเจอร์ 2 คันหนึ่งถูกโจมตีด้วยปืนกลและอาร์พีจี ช่องมองของพลขับถูกทำลายและช่องมองที่เหลือถูกทำลายในขณะที่กำลังล่าถอย ทำให้ตีนตะขาบของรถถังตกลงไปในคูน้ำ รถถังถูกยิงด้วยอาร์พีจี 14 ลูกในระบะประชิดและถูกยิงด้วยอาวุธต่อต้านรถถังมิลานอีกหนึ่งลูก[8] ลูกเรือทั้งหมดรอดชีวิตอย่างปลอดภัยภายในรถถังและได้รับการช่วยเหลือในเวลาต่อมา หลังจากการซ่อมแซมนานหกชั่วโมงรถถังคันดังกล่าวจึงกลับมาใช้งานได้ ในอีกเหตุการณ์หนึ่งมีรถถังชาลเลนเจอร์ 2 ที่ถูกยิงด้วยอาร์พีจีถึง 70 ลูกแต่สามารถรอดมาได้[9]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่อัล-อะมาราห์ อาร์พีจี-29 ลูกหนึ่งได้ยิงทะลุเข้าส่วนหน้าของรถถังบริเวณห้องคนขับ ทำให้พลขับเสียเท้าทั้งสองข้างและมีลูกเรืออีกสองคนได้รับบาดเจ็บ แต่พลขับสามารถเข้าเกียร์ถอยหลังและถอยกลับไปที่ค่ายที่ห่างไป 2.4 กิโลเมตรได้ เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ถูกประกาศสู่สาธารณะจนกระทั่งถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยทางกระทรวงกลาโหมอังกฤษได้ออกมากล่าวว่า "เราไม่เคยอ้างว่าชาลเลนเจอร์ 2 นั้นไม่สามารถถูกเจาะทะลุได้"[10][11]

มีรถถังชาลเลนเจอร์ 2 สองคันที่ได้รับความเสียหายและอีกหนึ่งคันถูกทำลาย:

  • 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 – เกิดเหตุการณ์ยิงกันเองในบาสราที่มีชาลเลนเจอร์ 2 หนึ่งคันจากกองกำลังแบล็ค วอชท์ (กรมรถถังรักษาพระองค์ที่ 2) และชาลเลนเจอร์ 2 อีกหนึ่งงคันจากกองพลหอกราชินีปะทะกันหลังจากเข้าใจผิดว่าเป็นศัตรู รถถังคันแรกได้ยิงเข้าใส่ช่องผู้บัญชาการรถถังของรถถังคันที่สอง ทำให้สะเก็ดกระสุนร้อนกระเด็นเข้าไปในส่วนป้อมปืนที่มีกระสุนอยู่และทำให้เกิดการระเบิดจนทำลายรถถังและสังหารลูกเรืออีกสองคน ซากของรถถังถูกทำลายทิ้ง เป็นชาลเลนเจอร์ 2 เพียงคันเดียวที่ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงขณะปฏิบัติหน้าที่[12]
  • 6 เมษายน พ.ศ. 2550 – ที่เมืองบาสรา ประเทศอิรัก รถถังคันหนึ่งถูกเจาะทะลวงด้วยไออีดีที่ด้านใต้รถ ทำให้พลขับเสียนิ้วเท้าสามนิ้วและทหารอีกหนึ่งนายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[13]

เพื่อที่จะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ในอนาคต รถถังชาลเลนเจอร์ 2 จึงได้รับการยกระดับที่มีเกราะแบบใหม่และเกราะเสริมที่ผลิตโดยบริษัทราฟาเฟล แอดวานซ์ ดีเฟนซ์ ซิสเทมส์ของอิสราเอล[14] ปัจจุบันเมื่อใช้ในปฏิบัติการ ชาลเลนเจอร์ 2 จะได้รับการติดตั้งให้เป็นระบบมาตรฐานมากขึ้นและเสริมด้วยการยกระดับของเกราะและระบบอาวุธ

การยกระดับและรุ่นต่างๆ[แก้]

คลิป[แก้]

ชาลเลนเจอร์ 2 พร้อมแผงเกราะระเบิดตอบสนองที่ผลิตโดยบริษัทราฟาเอล แอดวานซ์ ดีเฟนส์ ซิสเทมส์[14]

โครงการพัฒนาอาวุธของชาลเลนเจอร์หรือโครงการคลิป (Challenger Lethality Improvement Programme) เป็นโครงการที่แทนที่ปืนใหญ่ลำกล้องเกลียว แอล30เอ1 ด้วยปืนใหญ่ลำกล้องเกลี้ยงไรน์เมทัลล์ แอล55 ขนาด 120 มม.ที่ใช้โดยรถถังเลพเพิร์ด 2เอ6 การเปลี่ยนมาใช้ปืนลำกล้องเกลี้ยงนั้นทำให้ชาลเลนเจอร์ 2 สามารถใช้กระสุนของนาโต้ซึ่งผลิตโดยอเมริกาและเยอรมนีได้ กระสุนเหล่านี้ประกอบด้วย กระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ที่ทำจากทังสเตน ซึ่งไม่มีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและการเมืองเหมือนกระสุนยูเรเนี่ยมเสื่อมอายุ ด้วยสายการผลิตกระสุนขนาด 120 มม.ในสหราชอาณาจักรที่ปิดตัวไปเป็นปี ทำให้จำนวนกระสุนของแอล30เอ1 นั้นมีจำกัด[15] นับเป็นโชคดีที่ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการทดสอบกระสุนหัวระเบิดแรงสูงที่ผลิตขึ้นใหม่ในเบลเยี่ยม นี่หมายความว่าชาลเลนเจอร์ 2 สามารถใช้กระสุนทังสเตนและกระสุนหัวระเบิดแรงสูงได้หากจำเป็น ซึ่งเป็นการประหยัดกระสุนของปืนแอล30 ไปได้

มีชาลเลนเจอร์ 2 หนึ่งคันที่ติดตั้งปืนแอล55 และถูกทดสอบเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2549[16] ปืนลำกล้องเกลี้ยงนั้นมีความยาวเดียวกันกับปืนแอล30เอ1 และสามารถติดตั้งได้พอดีกับระบบเดิมของรถถัง การทดสอบในช่วงแรกเผยให้เห็นว่ากระสุนทังสเตน ดีเอ็ม53 ของเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่ากระสุนยูเรเนี่ยมเสื่อมสภาพ[6] จะต้องมีการปรับเปลี่ยนที่เก็บกระสุนและอุปกรณ์จัดการเพื่อรองรับกระสุนแบบใหม่ที่บรรจุกระสุนแบบขั้นตอนเดียว ในปี พ.ศ. 2549 ประเมินกันว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งปืนไรน์เมทัลล์ให้กับชาลเลนเจอร์ทุกคันในกองทัพบกอังกฤษ มีมูลค่าถึง 386 ล้านปอนด์[15]

การพัฒนาอื่นๆ ประกอบด้วยระบบป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมีแบบใหม่[17]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 กระทรวงกลาโหมอังกฤษได้เชิญให้บริษัทบีเออีเข้าประกวดราคาสำหรับโครงการเสริมความทนทานและความสามารถให้ชาลเลนเจอร์ 2 หรือซีทูซีเอสพี (Challenger 2 Capability Sustainment Program) ซึ่งรวบการยกระดับทั้งหมดไว้ในหนึ่งโครงการ อย่างไรก็ดี เมื่อถึงกลางปี พ.ศ. 2551 โครงการดังกล่าวก็ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกเนื่องจากทางกระทรวงพบกับปัญหาการเงิน[18]

ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

ประเทศที่ใช้รถถังชาลเลนเจอร์ 2

อ้างอิง[แก้]

  1. "Challenger 2". armedforces.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Foss, Chris. Jane's Armour and Artillery 2005–2006. Jane's Information Group. p. 143. ISBN 0-7106-2686-X.
  3. "Products & Services Challenger 2". BAE Systems. 14 February 2008. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.
  4. 4.0 4.1 Challenger 2 Main Battle Tank 1987–2006 By Simon Dunstan, Tony Bryan, page 5
  5. "Vickers Defence Systems Challenger 2 MBT". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-10.
  6. 6.0 6.1 "Main Battle Tank – Challenger 2". Fprado.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.
  7. Audrey Gillan. A brew brings coalition forces closer together, Guardian Unlimited, 7 April 2003
  8. "Dragoon guards survive ambush". BBC News. 2 April 2003. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.
  9. "Tanks and artillery 'face MoD axe'". BBC News. 3 April 2003. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.
  10. "Defence chiefs knew 'invincible' tank armour could be breached", Daily Mail, 24 April 2007
  11. Sean Rayment (12 May 2007 *). "MoD kept failure of best tank quiet". Sunday Telegraph. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. "UK Ministry of Defence : Army Board of Inquiry Report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-30. สืบค้นเมื่อ 2011-01-16.
  13. Foster, Patrick (23 April 2007). "Improvised bomb hits British tank". The Times.
  14. 14.0 14.1 British Next Generation Armour, Tankograd British Special no. 9009, Dan Hay
  15. 15.0 15.1 "ForecastInternational" (doc). สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.[ลิงก์เสีย]
  16. Army Technology.com
  17. Foss, Christopher F. "UK fields regenerative NBC system". Jane's Defence News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
  18. "Military Vehicles Forecast" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.[ลิงก์เสีย]
  • George Forty & Jack Livesey,the World Encyclopedia of Tanks,Anness,2006