ชัมภละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระโพธิสัตว์ชัมภละ
เทวรูปพระชัมภละ ศิลปะปาละ พุทธศตวรรษที่สิบหก จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินิวเดลี นครนิวเดลี ประเทศอินเดีย
สันสกฤตजम्भला
Jambhalā
จีน五姓财神
(Pinyin: Wǔ xìng cáishén)
藏巴拉
(Pinyin: Cáng bā lā)
ไทยพระโพธิสัตว์ชัมภละ
ข้อมูล
นับถือในมหายาน
วัชรยาน
ตันตระ
พระลักษณะพระวรกายอวบอ้วนทรงมะงั่วในหัตถ์ขวาและพังพอนในหัตถ์ซ้าย
ศักติพระวสุธรา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ชัมภละ (IAST: Jambhalā, สันสกฤต: जम्भला) เป็นพระโพธิสัตว์ในคติพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานและตันตระ เป็นผู้ประทานโชคลาภทรัพย์สมบัติเงินทองแก่ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบและเป็นสัญญาลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์[1]

ในคติศาสนาพุทธแบบทิเบตคติที่มาของพระองค์มีการผสานความเชื่อเป็นเทพเจ้าที่ชาวทิเบตให้ความเคารพนับถือมาก่อนจะนับถือพระพุทธศาสนา โดยมีฐานะเป็นเทพแห่งความมั่งคั่งเช่นเดียวกัน เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระชัมภละจึงมีฐานะกลายเป็นยิดัมสังกัดรัตนโคตรในตระกูลของพระรัตนสัมภวพุทธเจ้า ซึ่งประติมานวิทยารูปบูชาของพระองค์เป็นเทวบุรุษ กายสีน้ำเงิน มีสองถึงหกกร ทรงเทวลักษณะอ้วนถ้วนบริบูรณ์ ทรงมะงั่วในหัตถ์ขวาและพังพอนอันคลายเพชรนิลจินดาหรือถุงเงินในหัตถ์ซ้ายบางแห่งกำหนดให้เป็นภาคสำแดงของพระกุเวระหรือพระมหากาฬ

อิตถีภาวะของพระชัมภละคือพระวสุธารา อันเป็นเทวีแห่งแผ่นดิน กายสีเหลือง มีสองถึงหกกร ตามแต่ประติมานวิทยาของคตินิกายนั้น ๆ ในหัตถ์ทรงรวงข้าวและอุ้มแจกันใส่เพชรพลอย ในเนปาลมีกายสีขาว ถือรวงข้าว ปีกนกยูงและลูกศร ซึ่งนางคือเป็นเทพีแห่งโลกที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและบิดน้ำออกจากมวยผมเพื่อขับไล่พวกมาร คือองค์เดียวกับแม่พระธรณีในคติพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท

ประติมานวิทยา[แก้]

ตามคัมภีร์ที่ว่าด้วยประติมานวิทยา ประติมากรรมรูปเคารพพระโพธิสัตว์ชัมภลมีลักษณะรูปกายเป็นบุรุษรูปร่างอ้วน ท้องพลุ้ย สวมมงกุฎ และเครื่องประดับตกแต่งกายมากมายเช่นเดียวกับท้าวกุเวร แต่จะแตกต่างกันตรงที่ พระโพธิสัตว์ชัมภลจะทรงผลมะงั่ว (หรือมะนาว) ในพระหัตถ์ขวา และทรงพังพอนในหัตถ์ซ้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย[2][3]

เทวรูปพระโพธิสัตว์ชัมภล ในฐานะของเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ขวา) พระโพธิสัตว์ชัมภล ศิลปะคุปตะ พุทธศตวรรษที่เก้าถึงสิบเอ็ด จากพื้นที่บริเวณสารนาถหรือพุทธคยา รัฐอุตตรประเทศ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ซานฟรานซิสโก สหรัฐ และ พระโพธิสัตว์ชัมภล ศิลปะชวาภาคกลาง พุทธศตวรรษที่สิบสี่ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโฮโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐ (ซ้าย)

ปัญจชัมภลห้าภาค[แก้]

ในคติวัชรยาน ประติมานวิทยาเทวประติมากรของพระชัมภละทั้งห้าภาคเป็นบุคลาธิษฐานการแสดงความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เพื่อนำทางสรรพสัตว์ไปตามเส้นทางไปสู่การบำเพ็ญเพียร อันมีแก่นแท้ของความเอื้ออาทรและเป็นตัวแทนของกิจกรรมที่เพิ่มผลประโยชน์แต่การบำเพ็ญภาวนา ซึ่งเป็นตัวแทนความปรารถนาของพระองค์คือการช่วยเหลือบรรดาผู้ทุกข์ยากและผู้ที่ทุกข์ทรมานจากเคราะห์ร้าย[4]

ชัมภลเขียว[แก้]

เทวรูปยับ-ยุมพระโพธิสัตว์ชัมภล พุทธศตวรรษที่ยี่สิบสี่ถึงยี่สิบห้า ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียแดลลัส แดลลัส สหรัฐ

พระชัมภลเขียว ถือเป็นประมุขของพระชัมภลทั้งหมดในบรรดาห้าภาคของพระองค์และเป็นพลังของพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า ประติมานวิทยาทรงมีสีวรกายเขียว ประทับเหนือกเฬวรากทรงกปาละในหัตถ์ขวาและพังพอนอันคลายสินทรัพย์ในหัตถ์ซ้าย[1] ในคติตันตระจะปรากฏองค์ในลักษณะยับ-ยุมพร้อมด้วยฑากินี ทรงประทับนั่งในเทวลักษณะวัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka - ท่านั่งขัดสมาธิเพชร) โดยบาทของพระองค์ประทับเหนือหอยสังข์และดอกบัว [5] หัตถ์ขวาทรงผลมะงั่วหัตถ์ซ้ายทรงพังพอนอันคลายสินทรัพย์ออกมา มนตร์สำหรับภาวนาในภาคพระชัมภลเขียวคือ:[6]

โอม การมา ชัมภาละ อัถ สวาหะ - Om Karma Jambhala Ah Svaha

เศวตชัมภล[แก้]

พระชัมภลขาว เป็นพลังของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (พระโพธิสัตว์กวนอิม) ภาคปรากฏทรงสามารถขจัดความยากจนและความเจ็บไข้ ชำระล้างกรรมและอุปสรรคทางกรรมให้บริสุทธิ์ คุ้มครองภัยพิบัติและความเจ็บป่วย และพัฒนาจิตใจสู่โพธิจิต[1][4]

ในฐานะพลังจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในเทพปกรณัมอธิบายว่าทรงมาจากเนตรขวาของพระองค์ โดยประติมานวิทยาทรงประทับบนเทพพาหนะคือสิงโตหิมะ ในขณะที่บางพื้นที่ทรงประทับบนเทพพาหนะคือมังกร บางที่หัตถ์ซ้ายทรงพังพอนอันคลายสินทรัพย์ออกมา[1] วรกายสีขาว ในหัตถ์ขวาทรงธงชัยและหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ มนตร์สำหรับ

ที่มาของพระชัมภละขาว ตามประวัติเล่าว่า พระชัมภละสีขาว กำเนิดขึ้นเมื่อพระอตีศะทีปังกระ พระสงฆ์ชาวอินเดีย ผู้แปลคัมภีร์พุทธศาสนาสู่ทิเบต ท่าน ได้โศกเศร้าเสียใจจากการได้พบชายขอทานที่ไม่มีอาหารกิน ถึงแม้จะ ยอมเฉือนเนื้อของท่าน เพื่อให้เป็นทานเขาก็ไม่ยอมทานอยู่ดี ด้วย ความเสียใจที่ไม่อาจช่วยเหลือผู้มีความทุกข์ได้ ชายขอทานได้กลาย เป็นพระอวโลกิเตศวระโพธิสัตว์ และตรัสว่า ต่อไปนี้สรรพสัตว์จะไม่ต้อง ทนต่อความทุกข์ยากอีกต่อไป และทรงบันดาลให้เกิดพระชัมภละสีขาว ประทับอยู่บนมังกร มีพังพอนเนเล่ในมือซ้ายที่พ้นเพชรและเครื่อง ประดับออกมา พระหัตถ์ขวาชูดาบทองคำ



ภาวนาในภาคพระชัมภลขาวคือ:[6]

โอม ปัทมะ โกรธะ อรยะ ชัมภาลา หฤทัย หู ผะฏะ - Om Padma Krodha Arya Jambhala Hridaya Hum Phat
พระเศวตชัมภล ประทับบนสิงโตหิมะเทพพาหนะ ศิลปะทิเบต พุทธศตวรรษที่ยี่สิบสาม-ยี่สิบสี่

อารยชัมภล[แก้]

พระสุวรรณชัมภล ศิลปะทิเบต

พระชัมภลเหลือง เป็นภาคในฐานะผู้ทรงทรัพย์มั่งคั่งมากที่สุดและทรงอานุภาพและได้รับความนิยมมากที่สุดของพระชัมภล[7] พระองค์ถือพลังของพระรัตนสัมภวพุทธเจ้า เพื่อนำพาสรรพสัตว์ข้ามพ้นสังสารวัฏทั้งหกภูมิ และคุ้มครองคุณธรรม อายุ และปัญญา[4] และในภาคนี้ทรงได้รับการยกย่องว่าคือท้าวเวสวัณ หนึ่งใน"จาตุมหาราชิกา "[8]

ทรงประทับนั่งในเทวลักษณะวัชรปรยังกะ (Vajraparyaṅka - ท่านั่งขัดสมาธิเพชร) หัตถ์ซ้ายทรงพังพอนอันคลายสินทรัพย์ออกมาหัตถ์ขวาทรงผลมะงั่ว[6]โดยทั่วไปท้าวเวสวัณในคติมหายานทรงมีสัญญาลักษณ์ในหัตถ์คือ เจดีย์อันเป็นสัญญาลักษณ์แห่งโชคลาภทรัพย์สินเงินทองโชคลาภ แต่ในวัฒนธรรมแบบทิเบต คือ พังพอน[8]และประทับเหนือสัญญาลักษณ์ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์[1] มนตร์สำหรับภาวนาในภาคพระชัมภลเหลืองคือ:[6]

โอม ชัมภะละ ชาเลนทะรา เย สวาหา - Om Jambhala Jalendraye Svaha

ชัมภลแดง[แก้]

Ganapati, Maha Rakta

พระชัมภลแดง ถือเป็นพลังของพระวัชรสัตว์ โดยประติมานวิทยาทรงมีสองพักตร์และสี่กร ทรงพังพอนในหัตถ์ซ้าย ทรงนามในภาษาทิเบตคือ Dzambhala Mapo.[1] ในบางท้องที่ถือเป็นองค์เดียวกับพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู[5] คือ พระคเณศแดง [1]ทรงทรงมีพักต์เป็นช้าง[7] มนตร์สำหรับภาวนาในภาคพระชัมภลแดง:[6]โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน ธะนัม เมธิ หะรี ทากินี ชัมภาลา สะมะภารา สวาหะ - Om Jambhala Jalendraye Dhanam Medehi Hrih Dakini Jambhala Sambhara Svaha

ชัมภลดำ[แก้]

พระชัมภลดำ ทรงมาจากคติท้าวกุเวร[7]โดยประติมานวิทยาทรงสองกร ทรงพังพอนในหัตถ์ซ้าย และ กปาละในหัตถ์ขวา ถือเป็นพลังของพระอโมฆสิทธิพุทธะ มนตร์สำหรับภาวนาในภาคพระชัมภลดำ:[6]

โอม ชัมภะละ ชาเลนทะราไย วสุธาริณี สวาหะ - Om Jambhala Jalendraye Bashu Dharini Svaha

รูปภาพประกอบการศึกษา[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Nepalese and Tibetan Arts Blog. Access date= June 3rd, 2013. Five Jambala (Dzambhala) and Mantra.
  2. https://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/view/21459-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%A5--%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A3--%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1
  3. https://www.finearts.go.th/songkhlamuseum/view/21458-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%A5--%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A3--%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2
  4. 4.0 4.1 4.2 Gaden Shartse Dro-Phen Ling (甘丹东顶渡悲林). Access date= June 3rd, 2013. Five Dzambalas Wealth-Congregating & Fortune Blessing Puja 五路财神聚财增福大法会.
  5. 5.0 5.1 Red Zambala. February 14th, 2013. Access date= June 3rd, 2013. Red Zambala เก็บถาวร 2013-09-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Tharpa Ling Jakarta – Indonesia Tibetan Tantric Buddhism. February 4th, 2013. Access date= April 3rd, 2013. Jambhala, The Bodhisattva of Wealth.
  7. 7.0 7.1 7.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ john
  8. 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tbs
  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต. 2547