ชะลูด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะลูด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
สกุล: Alyxia
สปีชีส์: A.  reinwardtii
ชื่อทวินาม
Alyxia reinwardtii var. lucida

ชะลูด ชื่อวิทยาศาสตร์: Alyxia reinwardtiiBlume var. lucida Markgr หรือ Alyxia nitens Kerr ชื่ออื่น ๆ ลูด (ปัตตานี) ชะนูด (สุราษฎร์ธานี) นูด (ภาคใต้), ขี้ตุ่น, ช้างตุ่น ต้นธูป (อีสาน) เป็นไม้เลื้อยในวงศ์ Apocynaceae เนื้อแข็ง ขนาดเล็ก เปลือกค่อนข้างดำ เกลี้ยง มียางสีขาวขุ่น เปลือกเถาชั้นใน กลิ่นหอมมาก[1]

เปลือกต้นชั้นในของชะลูดใช้เป็นยาได้ โดยทุบลอกเอาเปลือกสีดำข้างนอกทิ้ง ลอกเอาแต่เนื้อที่หุ้มแก่น แล้วผึ่งลมให้แห้ง เปลือกไม้จะม้วนเป็นแผ่นบาง ๆ มีสีขาว ตำรายาไทย ใช้ปลือกที่ทุบแล้วนี้เป็นยาขับผายลม แก้ปวดในท้อง บำรุงกำลัง แก้ปวดมวนท้อง บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษา แก้ดีพิการ แก้ไข้ แก้ปวดบวม เถาปรุงยาแก้พิษในเลือดและน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียน แก้อ่อนเพลีย ใช้เปลือกชะลูดเป็นส่วนผสมของตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” ที่มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง ชะลูดมีสารหอมกลุ่มคูมารินส์ ใช้อบผ้า ใช้ผสมทำธูป[1] ต้มรวมกับลูกซัด ย้อมเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ชะลูด
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555.