ชะนีดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะนีดำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์ใหญ่: Hominoidea
วงศ์: Hylobatidae
สกุล: Nomascus
สปีชีส์: N.  concolor
ชื่อทวินาม
Nomascus concolor
(Harlan, 1826)
ชนิดย่อย
  • N. c. concolor
  • N. c. lu
  • N. c. jingdongensis
  • N. c. furvogaster
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Hylobates concolor (Lesson, 1827)

ชะนีดำ (อังกฤษ: Black-cheeked gibbon) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nomascus concolor

มีรูปร่างหน้าตาคล้ายชะนีมงกุฎ (Hylobates pileatus) และชะนีมือขาว (H. lar) ตัวผู้มีขนปกคลุมลำตัวสีดำสนิท ยกเว้นบริเวณใบหน้า ที่มีขนสีขาวขึ้นแซมอยู่บริเวณรอบ ๆ ดวงตา จมูกและปาก ส่วนตัวเมียมีขนปกคลุมลำตัวสีครีม และมีสีดำอยู่กลางกระหม่อม

ชะนีดำมีความยาวลำตัวและหัว 46-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.5-9 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของจีน ภาคเหนือของลาวและเวียดนาม

แต่การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของชะนีดำมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามชะนีชนิดนี้มีความใกล้เคียงกับชะนีแก้มขาว (N. leucogenys) สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลายประเภท เช่น ป่าดิบ, ป่าเบญจพรรณ หรือป่าที่อยู่ในระดับความสูงประมาณ 2,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบว่าชะนีดำอาศัยอยู่บนยอดไม้ที่มีความสูงมากกว่าชะนีชนิดอื่น ๆ อาหารหลักคือ ยอดอ่อนของต้นไม้, ใบไม้, ผลไม้ หรือดอกไม้ แต่จะชอบกินไม้จำพวกไผ่มากที่สุด

ออกหากินในเวลากลางวัน มีพฤติกรรมการรวมฝูงแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยฝูงหนึ่งมีสมาชิกประมาณ 3-5 ตัว ตัวผู้เป็นผู้นำกลุ่มในการหาอาหารและดูแลฝูง จะลงมาบนพื้นดินบ้างเพื่อกินหน่อไม้ ลักษณะการร้องของชะนีดำมีความต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมีย โดย ตัวผู้มีเสียงร้องที่ยาวกังวาลและแหลมกว่าตัวเมีย

ปัจจุบัน ประชากรชะนีดำในเวียดนาม สำรวจพบว่ามีแค่ 110 ตัวเท่านั้น[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Eudey, A. & Members of the Primate Specialist Group (2000). Nomascus concolor. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 2006-11-21.
  2. "ไปดูหน้าตาเครือญาติมนุษย์ ใกล้สูญพันธุ์ในเวียดนาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-02-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Nomascus concolor ที่วิกิสปีชีส์