พระสุวรรณมุนี (ฉุย สุโข)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฉุย สุขภิกขุ)

พระสุวรรณมุนี (ฉุย สุโข)[1] หรือ หลวงปู่ฉุย

ข้อมูลประวัติ[แก้]

เกิด วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 เป็นบุตรของ นายนง นางนก

อุปสมบท พ.ศ. 2421 ขณะอายุ 20 ปี

มรณภาพ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2466

รวมสิริอายุ 65 ปี 45 พรรษา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม[แก้]

เหรียญรุ่นแรก สร้างปี 2465 สร้างแจกในโอกาสทำบุญฉลองมณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งเหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญยอดนิยมของวงการ สำหรับเหรียญรุ่นปี พ.ศ. 2467 เป็นเหรียญตาย สร้างพร้อมกับรูปหล่อขนาดเท่าองค์จริง เพื่อประดิษฐานในมณฑป ปลุกเสกโดยหลวงพ่อมงคล และ หลวงพ่อแฉ่ง สำหรับเหรียญรุ่นแรกนี้มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์โมมีไส้ และพิมพ์โมไม่มีไส้

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา[แก้]

พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน และอยู่ในชุดเบญจภาคี ของพระเครื่องไทยตลอดมา เหรียญของหลวงปู่ฉุยจัดว่าเป็นเหรียญที่หาย่าก

ก่อตั้งโรงเรียน[แก้]

หลวงปู่ฉุยได้ก่อร่างสร้างฐานรากที่แข็งแกร่งทางการศึกษาให้ลูกหลานชาวเพชรบุรีได้มีที่สถานศึกษาเล่าเรียนที่มีคุณภาพดี[2] และสร้างบุคคลกรที่ดี คุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองสืบไป โดยหลวงปู่ฉุยได้ย้ายโรงเรียนของหลวงพ่อริด จาก วัดพลับพลาชัยที่เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2437 ด้วยเหตุว่าวัดพลับพลายชัยคับแคบ มาเรียน ณ วัดคงคารามวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนบำรุงไทย " ภายหลังโรงเรียนบำรุงไทยได้เปลียนเป็นชื่ออื่นเรื่อยมาและและกิจการด้านการเรียนการสอนได้เจริญรุดหน้าเป็นลำดับ สถานที่ของโรงเรียนในวัดคงคารามวรวิหารคับแคบเกินกว่าจะขยายฐานการศึกษาให้ใหญ่โตได้ จึงได้ย้ายโรงเรียนจากวัดคงคารามวรวิหารมาตั้ง ณ บริเวณวัดร้างเชิงเขาวัง (พระนครคีรี) ด้านทิศใต้ โดยตั้งในพื้นที่ของวัดป่าแก้ว วัดโคกมะกูด วัดช้างน้อย พื้นที่บางส่วนของวัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดพระนอน) วัดช้างใหญ่ (วัดช้าง) และวัดถ้ำแก้ว ได้เปลียนชื่อเป็น "โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชทินนนามตามสัญญาบัตรพระราชทานสมณศักดิ์คือ พระสุวรรณมุนี นรสีห์ธรรมทายาท สังฆปาโมกข์
  2. ประวัติโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี Link สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549