จ้าวนักเลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จ้าวนักเลง
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง จ้าวนักเลง
กำกับรังสรรค์ ตันติวงศ์
ประทีป โกมลภิส
เขียนบทบทประพันธ์ :
เศก ดุสิต
บทภาพยนตร์ประทีป โกมลภิส
นักแสดงนำมิตร ชัยบัญชา
อมรา อัศวนนท์
เรวดี ศิริวิไล
ปัญจะ สุทธิรินทร์
เชาว์ แคล่วคล่อง
ศรินทิพย์ ศิริวรรณ
น้ำเงิน บุญหนัก
พร ไพโรจน์
ประมินทร์ จารุจารีต
ไสล พูนชัย
สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม
สมพงษ์ พงษ์มิตร
ทานทัต วิภาตะโยธิน
วิน วันชัย
ถ่ายภาพไพรัช สังวริบุตร
ผู้จัดจำหน่ายทัศไนยภาพยนตร์
วันฉายไทย 7 มีนาคม พ.ศ. 2502
ประเทศไทย ประเทศไทย
ภาษาไทย
ต่อจากนี้ทับสมิงคลา (2505)

จ้าวนักเลง เป็นภาพยนตร์ไทย ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. สี พากย์สด ที่สร้างจากนวนิยายของ เศก ดุสิต กำกับโดย ประทีป โกมลภิส สร้างโดย ทัศไนยภาพยนตร์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และ อมรา อัศวนนท์ ร่วมด้วย ปัญจะ ศุทธรินทร์, เชาว์ แคล่วคล่อง, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502 ฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงและเฉลิมบุรี

ภาพยนตร์เล่าถึงต้นกำเนิดของ อินทรีแดง ว่าแท้ที่จริงคือ โรม ฤทธิไกร ลูกชายของมหาเศรษฐีที่ปลอมตัวเพื่อปราบเหล่าร้ายทั้งหลายนั่นเอง

ประวัติการสร้าง[แก้]

ภาพยนตร์อินทรีแดงเรื่องนี้เป็นการสร้างครั้งแรก โดย รังสรรค์ ตันติวงศ์ และประทีป โกมลภิส เตรียมสร้างภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ต่อจาก ชาติเสือ ให้ มิตร ชัยบัญชา แสดง ระหว่างนั้น มิตร ชัยบัญชา ได้อ่านนิยายเรื่อง อินทรีแดง ที่บ้านรังสรรค์ ตันติวงศ์ จึงชอบและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการแสดงเป็นอินทรีแดง เพราะมีสองบุคลิก เมื่อผู้สร้างและผู้กำกับเห็นความตั้งใจของพระเอก จึงตัดสินใจพามิตร ชัยบัญชา ไปพบ เศก ดุสิต เพื่อขอซื้อนิยายอินทรีแดง ตอน จ้าวนักเลง ให้มิตร ชัยบัญชา รับบทอินทรีแดงครั้งแรก กับภาพยนตร์เรื่องจ้าวนักเลง เมื่อผู้ประพันธ์พบหน้าพระเอกมิตร เขาถูกใจในรูปร่างสูงใหญ่ แบบชายชาติทหาร และได้กล่าวกับมิตรว่า "คุณคืออินทรีแดงของผม"

ภาพยนตร์ได้ออกฉายครั้งแรกวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502 ทำรายได้เกินล้านบาท ซึ่งทำให้มิตร ชัยบัญชามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว นับตั้งแต่นั้นมา (หลังจากเป็นที่รู้จักและเริ่มมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่องแรก "ชาติเสือ" (2501)) พร้อมสร้างชื่อกลายเป็นพระเอกขวัญใจ มหาชน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเรื่อยๆ

และยังมีภาพยนตร์ที่มิตรรับบทเป็นอินทรีแดงอีก 5 ตอนคือเรื่อง ทับสมิงคลา (2505), อวสานอินทรีแดง (2506), ปีศาจดำ (2509), จ้าวอินทรี (2511), และ อินทรีทอง (2513) (ซึ่ง มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตขณะถ่ายทำฉากโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากการผิดพลาดทางเทคนิคที่ทำให้การถ่ายทำไม่เป็นไปตามที่กำหนด)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]