จินตนา สุขสถิตย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จินตนา สุขสถิตย์
จินตนา สุขสถิตย์
จินตนา สุขสถิตย์
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด6 ธันวาคม พ.ศ. 2481 (85 ปี)
จินตนา สุขสถิตย์
คู่สมรสภูมินทร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (เสียชีวิต)
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2500 - ปัจจุบัน
สังกัดคาเธ่ย์, กมลสุโกศล, เมโทร
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2547 - สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง)

จินตนา สุขสถิตย์ หรือ จินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2481) เป็นนักร้องหญิงเพลงไทยสากลชาวไทย มีผลงานบันทึกเสียงเป็นที่รู้จักในเพลง "สักขีแม่ปิง", "ฝากรักเอาไว้ในเพลง", "คิดจะปลูกต้นรักอีกกอ", "ไม่เคยรักใครเท่าเธอ" และเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยอีกจำนวนมาก และยังมีผลงานบันทึกแผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทั้งเนื้อร้องภาษาไทย และเนื้อร้องภาษาอังกฤษ

จินตนา สุขสถิตย์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง) พ.ศ. 2547

ประวัติ[แก้]

จินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขสถิตย์) เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เป็นธิดาของกมล กับพยุง สุขสถิตย์ สมรสกับภูมินทร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา 3 คน

ประวัติการศึกษา[แก้]

จินตนา สุขสถิตย์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสตรีวิทยา และระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง จากโรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ประวัติชีวิตและผลงาน[แก้]

จินตนา สุขสถิตย์ เริ่มเข้าสู่วงการเพลง เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยได้รับการสนับสนุนจากเชาว์ แคล่วคล่อง หัวหน้าวงดนตรีวายุบุตร ซึ่งเป็นวงดนตรีของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลให้มาฝึกขับร้องเพลงเวลาหลังเลิกเรียน หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้มาเป็นนักร้องประจำอยู่ในวงดนตรีวายุบุตร ได้ขับร้องเพลงในงานการกุศลต่าง ๆ เช่น งานกาชาด งานช่วยเหลือทหาร ตำรวจชายแดน คนพิการ เด็กอนาถา เป็นประจำทุกปี จนถึงปี พ.ศ. 2508 หลังจากนั้นได้ออกไปประกอบอาชีพเป็นนักร้องตามไนท์คลับ ห้องอาหารในโรงแรมต่าง ๆ และสถานที่อื่น ๆ ทั่วไป

จินตนา สุขสถิตย์ เป็นนักร้องที่มีน้ำเสียงที่ไพเราะ จึงทำให้มีผู้แต่งเพลงหลายคน เช่น บุญช่วย กมลวาทิน, สง่า อารัมภีร, สมาน กาญจนะผลิน ชาลี อินทรวิจิตร และ เชาว์ แคล่วคล่อง เห็นความสามารถดังกล่าว ได้แต่งเพลงให้ร้องจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงในสมัยอยู่กับวงดนตรีวายุบุตร คือ เพลงสักขีแม่ปิง ขับร้องคู่กับชรินทร์ นันทนาคร หลังจากนั้นได้มีผลงานเพลงอีกมากมาย

เธอยังได้ร้องเพลงประกอบในฉากภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ หนึ่งในทรวง (2506), มือเสือ (2506), อรุณเบิกฟ้า (2509), ไฟรัก (2518)

ผลงานเพลงขับร้องและบันทึกแผ่นเสียง[แก้]

จินตนา สุขสถิตย์ มีผลงานเพลงที่ขับร้องอยู่มากมาย และขับร้องได้อย่างยอดเยี่ยมมาก ได้แก่

  1. สักขีแม่ปิง
  2. กุลสตรี
  3. ลุ่มเจ้าพระยา
  4. แม่ปิงสะอื้น
  5. ฝนสั่งฟ้า
  6. คิดไปใจหาย
  7. เธอกับฉันคือเพลง
  8. ฝากรักเอาไว้ในเพลง
  9. คิดจะปลูกต้นรักสักกอ
  10. คิดถึง
  11. ดาวเคียงเดือน
  12. กล้วยไม้
  13. ลุ่มเจ้าพระยา
  14. อยากจะรักสักครั้ง
  15. ใจสนองใจ
  16. ศัตรูหัวใจ
  17. ลมจ๋าลม
  18. สายทิพย์
  19. ทั้ง ๆ ที่รู้
  20. ถามดาว
  21. หลงเพ้อ
  22. ไม่เคยรักใครเท่าเธอ
  23. พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอจนตาย
  24. คืนหนึ่ง
  25. ตะวันลา
  26. กระซิบรัก
  27. หัวใจเถื่อน
  28. เหยื่อโลกีย์
  29. ชุมทางชีวิต
  30. เปลวไฟรัก
  31. รักระทมใจ
  32. สาส์นรัก
  33. ไม่ขอลืม
  34. สายรัก - สายใต้
  35. คิดถึงถิ่นเหนือ
  36. วันนั้น
  37. จุฬาตรีคูณ
  38. วอลทซ์นาวี
  39. ชมประดู่
  40. วิมานไฟ
  41. นกเอี้ยง
  42. ตำหนักเพชร
  43. กล่อม
  44. เริงจักรยาน
  45. เงาบัว
  46. ช่วยไม่ได้
  47. กาสะลองบานแล้ว
  48. มองเข้าไปในชีวิต
  49. โนรี
  50. มาลัยหัวใจ
  51. โสนน้อยเรือนงาม
  52. สวรรค์วันเพ็ญ
  53. หนาวรัก
  54. ไก่นา
  55. วังสวาทนิราศรัก

เนื่องจาก จินตนา สุขสถิตย์ เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงในด้านการร้องเพลง และมีน้ำเสียงเป็นอมตะ จึงได้ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกหลายเพลง เพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง และยังได้รับเชิญจากรัฐบาลไทยให้ร่วมขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" และเพลง "เดอะซาวน์ออฟมิวสิค (The Sound of music)" กับวงดุริยางค์แห่งสถานีวิทยุเซาท์เวสต์ของประเทศเยอรมนี ที่มาเปิดการแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515

ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ที่ขับร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[แก้]

  1. แสงเทียน
  2. ชะตาชีวิต
  3. สายฝน
  4. ลมหนาว
  5. อาทิตย์อับแสง
  6. ใกล้รุ่ง
  7. ดวงใจกับความรัก
  8. รักคืนเรือน
  9. ภิรมย์รัก
  10. แว่ว
  11. เกาะในฝัน
  12. แผ่นดินของเรา
  13. แสงเดือน
  14. ในดวงใจนิรันดร์
  15. ยามค่ำ
  16. แก้วตาขวัญใจ
  17. ความฝันอันสูงสุด
  18. Candlelight blues
  19. H.M. Blues
  20. Falling rain
  21. Love in spring
  22. Blue day
  23. Near dawn
  24. Never mind the hungry men's blue
  25. Love over again
  26. A love story
  27. Echo
  28. Dream island
  29. Alexandra
  30. Magic beams
  31. Still on my mind
  32. Twilight
  33. Love light in my heart
  34. When
  35. Love at sun down
  36. Smiles
  37. Lullaby
  38. No moon
  39. Oh I say

เกียรติคุณ[แก้]

"จินตนา สุขสถิตย์" ถ่ายกับ "คณะสามศักดิ์" เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา, มีศักดิ์ นาครัตน์, อรสา อิศรางกูล ณ อยุธยา และ ศักรินทร์ ปุญญฤทธิ์ ในงานพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2509

จินตนา สุขสถิตย์ มีความตั้งใจปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ได้ไปขับร้องเพลงกล่อมขวัญทหาร ตำรวจชายแดน ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดปัตตานี เป็นต้น และไปขับร้องเพลงในงานกุศลต่าง ๆ อยู่เป็นประจำทุกปีจวบจนปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2547. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), พ.ศ. 2548. 176 หน้า. หน้า 120 - 131. ISBN 974-7103-59-1
  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. ISBN 978-974-8218-82-3