จำนง รังสิกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนง รังสิกุล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2456
ไทย ศรีมหาโพธิ, ปราจีนบุรี
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
(81 ปี)
อนุสรณ์สถานพิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง
และหอจดหมายเหตุ
กรมประชาสัมพันธ์
สัญชาติไทย ไทย
ชื่ออื่นหัวหน้าจำนง
การศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย
วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
ศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์หลุยส์, ฉะเชิงเทรา
อาชีพข้าราชการ
ปีปฏิบัติงาน2479 - 2522
นายจ้างบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด
องค์การกรมโฆษณาการ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมประชาสัมพันธ์)
มีชื่อเสียงจากบิดาแห่งโทรทัศน์ไทย
ผลงานเด่นหัวหน้าฝ่ายรายการ
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม
โทรทัศน์สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม
กรรมการในบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด
คู่สมรสพิสมัย อมาตยกุล
บุตรพัชรี, นฤมล, ธีรชัย
รางวัลเมขลา
โทรทัศน์ทองคำ

จำนง รังสิกุล ข้าราชการกรมโฆษณาการ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นกรมประชาสัมพันธ์), นักสื่อสารมวลชนชาวไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม อันเป็นแห่งแรกของประเทศไทย, กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด, ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมเป็นคนแรก

ประวัติ[แก้]

จำนง รังสิกุล เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 ที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรชายคนโต ในจำนวน 6 คนของหลวงบัญชาพิชิตราษฎร์ (บิดา) และนางจันทร์ รังสิกุล (มารดา) จบการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนในจังหวัดนครนายก, จบการศึกษาชั้นมัธยม ที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงเรียนอัสสัมชัญ ตามลำดับ จบการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยเมื่อแรกเข้าศึกษา เป็นแผนกวิชารัฐศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ทางรัฐบาลสั่งให้ย้ายโอน ขณะที่จำนงกำลังศึกษาชั้นปีที่ 2

เมื่อจบการศึกษา จำนงก็เข้ารับราชการ เริ่มจากสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นที่ปลัดอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จากนั้นโอนไปเป็นผู้ตรวจการ กรมการประมง กระทรวงเกษตราธิการ และกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วจึงโอนกลับมาเป็น พนักงานแปลข่าวต่างประเทศ และนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ของกรมโฆษณาการ

ระหว่างนั้นกรมส่งจำนง ซึ่งมีความรู้ทางภาษาอังกฤษ ไปฝึกงานเป็นผู้ประกาศข่าวภาคภาษาไทย ของบรรษัทการแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (บีบีซี) ที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 3 ปี แล้วกลับมาดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองกระจายเสียงต่างประเทศ ของกรมโฆษณาการต่อไป จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทยสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้จำนงนำคณะข้าราชการกรมโฆษณาการ เดินทางไปศึกษาดูงานวิทยุโทรภาพที่สหรัฐอเมริกา สำหรับเตรียมการจัดตั้งในประเทศไทยเป็นครั้งแรก

โดยตั้งแต่บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เริ่มดำเนินงาน สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 จำนงเป็นบุคคลแรกที่ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท, ผู้อำนวยการสถานีวิทยุ (ท.ท.ท.) และสถานีโทรทัศน์ (ช่อง 4 บางขุนพรหม), รวมถึงหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ทั้งส่วนวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งสำนักข่าวสารอเมริกัน และสถานทูตนานาชาติ ให้ความร่วมมือแก่จำนง ในกิจการงานต่างๆ ด้วยดี ทั้งนี้ระหว่างดำรงตำแหน่ง จำนงเป็นผู้ดำริทั้งคำว่า "พิธีกร" (จากภาษาอังกฤษว่า Master of Ceremony - MC), "เพลงลูกทุ่ง" (จากภาษาอังกฤษว่า country song) หรือ "หอเกียรติคุณ" (Hall of Fame) เป็นต้น[1] ตลอดจนชื่อและรูปแบบรายการโทรทัศน์ ประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2511 อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ มีคำสั่งให้กลุ่มข้าราชการของกรม ซึ่งเข้าช่วยกิจการของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด กลับมาปฏิบัติราชการที่กรมตามเดิม จำนงจึงกลับมารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองข่าวในประเทศ และผู้อำนวยการกองข่าวต่างประเทศ ของกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนจะเกษียณอายุราชการ[4] หลังจากนั้น ธนาคารกรุงเทพเชิญให้เขาเป็นที่ปรึกษา ของรายการวิทยุและโทรทัศน์ "เพื่อนคู่คิด" ซึ่งธนาคารเป็นผู้จัดทำ

นอกจากนี้ จำนงยังเขียนหนังสือมาตั้งแต่ยังทำงานอยู่ โดยมีนามปากกาอยู่หลายชื่อเช่น "จินตนา" ในคอลัมน์ตอบปัญหาชีวิต ของนิตยสาร "สตรีสาร" และเมื่อเขียนสารคดีจะใช้นามจริง รวมทั้งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง รางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ "เมขลา" ซึ่งจำนงร่วมงานอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2526 จากนั้นจำนงมาร่วมก่อตั้ง รางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ "โทรทัศน์ทองคำ" ซึ่งเขาร่วมงานอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2529-2537 ก่อนจะยุติบทบาทในส่วนดังกล่าวลง

จำนงถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 81 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เกียรติคุณ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนงเข้ารับพระราชทานปริญญา วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2530 สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย มอบรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" สาขานักประชาสัมพันธ์ดีเด่นทางวิทยุและโทรทัศน์ ให้แก่จำนงด้วย

นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2556 มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีชาตกาล จำนง รังสิกุล อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี หนึ่งในจำนวนนั้นคือ การจัดสร้างรูปหล่อสำริดครึ่งตัวขนาด 2 ฟุตของจำนง ขณะมีอายุ 38 ปี ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย ยอดชาย เมฆสุวรรณ เมื่อเสร็จสิ้นจึงนำไปจัดแสดงไว้ที่ พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ เป็นการถาวร[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. จำนง รังสิกุล ru.ac.th
  2. หนังสือที่ระลึก 70 ปี กรมประชาสัมพันธ์, สำนักนายกรัฐมนตรี, 2546, หน้า 139.
  3. หนังสือ 70 ปี กปส. หน้า 142.
  4. หนังสือ 70 ปี กปส. หน้า 148-149.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๐, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๕๓, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๑, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๓ ง หน้า ๒๘๒๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๖
  10. ครบรอบ 100 ปีชาตกาล 'อาจารย์ จำนง รังสิกุล' เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วอยซ์ทีวี, 28 พฤษภาคม 2556.