จังหวัดวาน

พิกัด: 38°29′57″N 43°40′13″E / 38.49917°N 43.67028°E / 38.49917; 43.67028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดวาน

Van ili
ที่ตั้งของจังหวัดวานในประเทศตุรกี
ที่ตั้งของจังหวัดวานในประเทศตุรกี
ประเทศตุรกี
ภูมิภาคอานาโตเลียตะวันออกตอนกลาง
ภูมิภาคย่อยวาน
การปกครอง
 • เขตเลือกตั้งวาน
 • ผู้ว่าการMehmet Emin Bilmez
พื้นที่
 • รวม19,069 ตร.กม. (7,363 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2020)[1]
 • รวม1,149,342 คน
 • ความหนาแน่น60 คน/ตร.กม. (160 คน/ตร.ไมล์)
รหัสพื้นที่0432[2]
ทะเบียนพาหนะ65

จังหวัดวาน (ตุรกี: Van ili; เคิร์ด: Parezgêha Wanê;[3] อาร์มีเนีย: Վանի մարզ) เป็นจังหวัดในภูมิภาคอานาโตเลียตะวันออกของประเทศตุรกี ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบวานกับชายแดนประเทศอิหร่าน มีพื้นที่ 19,069 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรช่วงปลาย ค.ศ. 2010 ที่ 1,035,418 คน ทางตะวันตกติดกับจังหวัดบิตลิส ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดซีอีร์ท ทางใต้ติดกับจังหวัดชือร์นัคกับฮักชารี และทางเหนือติดกับจังหวัดอารือ เมืองหลวงของจังหวัดนี้คือวาน ชาวอาร์มีเนียถือว่าจังหวัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาร์มีเนียตะวันตก[4] และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโบราณวัสปูรากัน (Vaspurakan)[5] ภูมิภาคนี้ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมอาร์มีเนีย จังหวัดวานเคยเป็นส่วนหนึ่งของวิลาเยตอาร์มีเนียทั้งหกก่อนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย[6][7] ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดเป็นชาวเคิร์ด[8] ผู้ว่าการคนปัจจุบันคือ Mehmet Emin Bilmez[9]

ประชากร[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดนี้เป็นชาวเคิร์ดและถือเป็นส่วนหนึ่งในเคอร์ดิสถานของตุรกี[10] จังหวัดนี้เคยมีประชากรชาวอาร์มีเนียจำนวนมากก่อนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน ค.ศ. 1915[11]

ประวัติ[แก้]

พื้นที่นี้เป็นดินแดนหัวใจ (heartland) ของชาวอาร์มีเนียที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยฮัยก์ (Hayk) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งจักรวรรดิออตโตมันยึดดินแดนทั้งหมดจากชนพื้นเมืองในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[12] ในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช บริเวณวานเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรอัวร์อาร์ทู (Urartu)[13] พื้นที่นี้กลายเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญในรัชสมัยไทกราเนสที่ 2 แห่งอาร์มีเนีย ผู้ก่อตั้งเมืองTigranakertในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[14]

เซลจุคกับออตโตมัน[แก้]

เมื่อเซลจุคได้รับชัยชนะในยุทธการมาลาซเกิร์ท (Battle of Malazgirt) ในปี ค.ศ. 1071 ที่อยู่ทางตอนเหนือของทะเลสาบวาน [15] พื้นที่นี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเซลจุค ต่อมาหลังสงครามกับอิหร่านสมัยซาฟาวิดเป็นเวลานานก็กลายเป็นของจักรวรรดิออตโตมัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Population of provinces by years - 2000-2018". สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2019.
  2. Area codes page of Turkish Telecom website เก็บถาวร 2011-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาตุรกี)
  3. "Li Agirî û Wanê qedexe hat ragihandin" (ภาษาเคิร์ด). Rûdaw. 25 November 2019. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
  4. Myhill, John (2006). Language, Religion and National Identity in Europe and the Middle East: A historical study. Amsterdam: J. Benjamins. p. 32. ISBN 978-90-272-9351-0.
  5. Hovannisian, Richard G. (1999). Armenian Van/Vaspurakan. Costa Mesa, California: Mazda Publishers. ISBN 1-56859-130-6. Retrieved 2011-01-22.
  6. İsmail Soysal, Türkiye'nin Siyasal Andlaşmaları, I. Cilt (1920-1945), Türk Tarih Kurumu, 1983, p. 14.
  7. Verheij, Jelle (2012). Jongerden, Joost; Verheij, Jelle (eds.). Social Relations in Ottoman Diyarbekir, 1870–1915. Brill. p. 88. ISBN 9789004225183.
  8. Watts, Nicole F. (2010). Activists in Office: Kurdish Politics and Protest in Turkey (Studies in Modernity and National Identity). Seattle: University of Washington Press. p. 167. ISBN 978-0-295-99050-7.
  9. "T.C. Van Valiliği Resmi Web Sitesi". www.van.gov.tr. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
  10. "Kurds, Kurdistān". Encyclopaedia of Islam (2 ed.). BRILL. 2002. ISBN 9789004161214.
  11. Anna Grabolle, Celiker (2015). Kurdish Life in Contemporary Turkey: Migration, Gender and Ethnic Identity. Bloomsbury Publishing. p. 41. ISBN 9780857725974.
  12. Hofmann, Tessa, บ.ก. (2004). Verfolgung, Vertreibung und Vernichtung der Christen im Osmanischen Reich 1912-1922 [Persecution, Expulsion and Annihilation of the Christian Population in the Ottoman Empire 1912-1922]. Münster: LIT. ISBN 3-8258-7823-6.
  13. European History in a World Perspective - p. 68 by Shepard Bancroft Clough
  14. The Journal of Roman Studies – p. 124 by Society for the Promotion of Roman Studies
  15. Melissa Snell. "Alp Arslan: Article from the 1911 Encyclopedia". About Education.

บรรณานุกรม[แก้]

Dündar, Fuat (2000), Türkiye nüfus sayımlarında azınlıklar (ภาษาตุรกี), ISBN 9789758086771

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดวาน

38°29′57″N 43°40′13″E / 38.49917°N 43.67028°E / 38.49917; 43.67028