จักรวรรดิกาแลกติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรวรรดิกาแลคติด)
ปฐมจักรวรรดิกาแลกติก

ตราสัญลักษณ์และธงของปฐมจักรวรรดิกาแลกติก
จักรวาลสตาร์ วอร์ส
ประเภท
ปรากฎตัวครั้งแรกสตาร์ วอร์ส (1977)
ปรากฎตัวครั้งล่าสุดThe Mandalorian (2019)
ก่อตั้ง19 ปีก่อนยุทธการยาวิน จากสาธารณรัฐกาแลกติก
ปิดกิจการ
  • 4 ปีหลังยุทธการยาวิน: เกิดการแตกหักออกเป็นเศษเล็กเศษน้อยของจักรวรรดิในช่วงยุทธการเอนดอร์
  • 5 ปีหลังยุทธการยาวิน: ถูกล่มสลายไปหลังจากยุทธการแจคคู โดยประสบความสำเร็จ แล้วจึงก่อตั้งสาธารณรัฐใหม่
  • โดย 21 ปีหลังยุทธการยาวิน: มีการจัดระเบียบใหม่บางส่วน (29 ปีหลังยุทธการยาวิน: ก่อตั้งขึ้นโดยสาธารณะ) เป็นปฐมภาคี
สถานที่ตั้งStar Wars galaxy
ผู้นำจักรพรรดิกาแลกติก:

ผู้นำในสถานการณ์ฉุกเฉิน:[b]

สภานิติบัญญัติ:

  • Imperial Senate (19 – 0 ปีก่อนยุทธการยาวิน)

ฝ่ายบริหาร:

  • Imperial Ruling Council (19 ปีก่อนยุทธการยาวิน – 4 ปีหลังยุทธการยาวิน)
  • Imperial Future Council (4 ปีหลังยุทธการยาวิน)
  • Shadow Council (5 ปีหลังยุทธการยาวิน)
บุคคลสำคัญ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศัตรู
สกุลเงินGalactic Standard Credit (Imperial Dataries)
เมืองหลวงคอรัสซัง (Senate District, Imperial Center)
ภาษาทางการImperial Basic

จักรวรรดิกาแลกติก (อังกฤษ: Galactic Empire) เป็นระบอบการปกครองแบบอัตตาธิปไตยที่ถูกสมมุติขึ้นในสื่อแฟรนไชส์สตาร์ วอร์ส เปิดตัวครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส (ค.ศ. 1977) และปรากฏตัวอีกครั้งในสองภาคต่อ จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ (ค.ศ. 1980) และการกลับมาของเจได (ค.ศ. 1983) เป็นฝ่ายตัวร้ายหลักในไตรภาคเดิม ด้วยการกดขี่ข่มเหงและอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จของระบอบการปกครองพร้อมกับระบบราชการที่มีความซับซ้อน จักรวรรดิกาแลกติกพยายามที่จะทำให้แน่ใจแล้วว่ากฏเพียงหนึ่งเดียวและการควบคุมสังคมเหนือดาวเคราะห์และอารยธรรมทุกดวงภายในกาแลกซี

ณ จุดสูงสุด จักรวรรดิกาแลกติกได้แผ่ขยายไปทั่วทั้งกาแลกซีในจักรวาลสตาร์ วอร์สที่เป็นที่รู้จักกัน ซึ่งประกอบไปด้วยระบบดาวนับล้านดวงและอีกพันล้านดวงที่เป็นทั้งอาณานิคมชายขอบ อู่ต่อเรือ ป้อมปราการ และดินแดนรอบนอก ต้นกำเนิดของจักรวรรดิกาแลกติกได้ปรากฏให้เห็นอยู่ในภาพยนตร์ไตรภาคต้น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น (ค.ศ. 2005) ซึ่งได้เข้ามาแทนที่สาธารณรัฐกาแลกติกเมื่อสงครามโคลนยุติลง ซึ่งถูกจัดฉากขึ้นโดยชีฟว์ พัลพาทีน สมุหนายกแห่งสาธารณรัฐ ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาคือซิธลอร์ดนามว่า ดาร์ธ ซีเดียส ผู้หลบซ่อนในเงามืดที่คอยบงการสงครามโดยมีเป้าหมายคือการทำลายล้างนิกายเจไดให้สิ้นซากและฟื้นฟูนิกายซิธกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง

พัลพาทีนได้กล่าวใส่ร้ายป้ายสีต่อพวกเจได้ว่าเป็นตัวต้นเหตุของสงครามโคลน สงครามแบ่งแยกดินแดน เพื่อทำให้สาธารณรัฐกาแลกติกอ่อนแอลงและได้รับอำนาจ พัลพาทีนได้ชักใยเบื้องหลังให้วุฒิสภากาแลกติกในการใช้กองกำลังทหารโคลนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงความขัดแย้งเพื่อกวาดล้างเหล่าเจได ภายหลังจากได้จัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้ด้วยตนเองแล้ว พันพาทีนได้เปลี่ยนแปลงสาธารณรัฐให้กลายเป็นรัฐที่สามารถ "รับรองถึงความมั่นคงและเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง และ [จัดหา] ความปลอดภัยและมั่นคงแก่สังคม" จักรวรรดิกาแลกติกโดยมีตัวเขาเองเป็นจักรพรรดิ วุฒิสภาได้ให้การสนับสนุนการตัดสินใจนี้อย่างท่วมท้น และได้กล่าวยกย่องสรรเสริญต่อการตัดสินใจที่ชัดเจน กล้าหาญ และการเสียสละของพัลพาทีน

แม้ว่านิกายซิธของพัลพาทีนยยังคงเป็นความลับสำหรับทุกคน ยกเว้นบุคคลเพียงไม่กี่คน ลูกศิษย์ของเขา ซิธลอร์ดนามว่า ดาร์ธ เวเดอร์ ยังคงแสดงตนต่อสาธารณะมากขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นตัวตนของอำนาจจักรวรรดิ ในช่วงเวลาของเอพพิโซด 4 - ความหวังใหม่ จักรวรรดิได้แปรสภาพกลายเป็นระบอบปกครองแบบอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จอย่างเต็มตัว ซึ่งถูกต่อต้านโดยพันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐ การสร้างดาวมรณะอย่างเสร็จสมบูรณ์ อาวุธมหาประลัยทำลายดวงดาว ทำให้พัลพาทีนสามารถก่อให้เกิดการรัฐประหารตัวเองและทำการยุบวุฒิสภาจักรวรรดิที่ไร้ซึ่งอำนาจ จักรวรรดิกาแลกติกได้ถูกอธิบายและแสดงให้เห็นในสื่อสตาร์ วอร์สต่าง ๆ ว่า เป็นระบอบเผด็จการที่โหดเหี้ยม โดยอิงมาจาก "ลัทธิมนุษย์คือศูนย์กลางของสพรรพสิ่ง(Anthropocentrism) การโอนมาเป็นของรัฐ(nationalization) วินาศกรรมโดยรัฐ และความเกลียดกลัวต่างชาติ การจับกุมให้กลายเป็นทาสและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อผู้ที่ไม่ใช่มนุษย์ การแสดงอำนาจ การคุกคามด้วยการใช้กำลังถึงแก่ความตาย และเหนือกว่าสิ่งอื่นใดคื่อความหวาดกลัวอย่างต่อเนื่อง"

จักรวรรดิได้พ่ายแพ้ในภาคการกลับมาของเจได แต่ปฐมภาคีได้ถูกก่อตั้งขึ้นจากเศษส่วนที่เหลือของจักรวรรดิในไตรภาคต่อ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 30 ปีต่อมา

ประวัติ[แก้]

กำเนิด[แก้]

พัลพาทีนกล่าวแถลงการณ์การสถาปนาจักรวรรดิกาแลกติก

อาจถือได้ว่าจักรวรรดิถือกำเนิดขึ้นจากการวางแผนของวุฒิสมาชิกพัลพาทีนแห่งนาบูผู้ที่แท้จริงแล้วคือซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียส พัลพาทีนสร้างวิกฤติการณ์ขึ้นโดยเริ่มจากให้สหพันธ์พาณิชย์ดำเนินการปิดกั้นนาบู และยุยงให้ราชินีอมิดาลายื่นญัตติไม่ไว้วางใจในตัวสมุหนายกวาโลรัม และในที่สุดพัลพาทีนก็ได้รับเลือกให้เป็นสมุหนายก เมื่อดาร์ธ มอลศิษย์ของพัลพาทีนถูกโอบีวัน เคโนบี สังหารบนดาวนาบู ซิเดียสก็ได้รับเอาอดีตอาจารย์เจได เคานท์ดูกู เข้าเป็นศิษย์แทน เคานท์ดูกูนี่เองที่เข้าร่วมกับกับสหพันธ์พาณิชย์าภายใต้การนำของอุปราชนุต กันเรย์ และก่อตั้งสหภาพพิภพอิสระขึ้นเพื่อทำสงครามกับสาธารณรัฐ พัลพาทีนอาศัยภาวะสงครามนี้สร้างกองทัพโคลนขึ้นเพื่อรับใช้สาธารณรัฐ

พัลพาทีนใช้ความเป็นผู้นำที่เก่งกาจของตนยุติการฉ้อฉลในสภา และได้รับมอบอำนาจมากขึ้นซึ่งเป็นผลจากสงครามโคลน จนในที่สุดแล้ว สภาแทบจะสูญเสียอำนาจทั้งหมดให้กับพัลพาทีน แม้สภาจะดูยังมีเสถียรภาพอยู่ก็ตาม แต่ที่จริงแล้วพัลพาทีนได้ควบคุมวุฒิสมาชิกนับพันภายใต้การฉ้อฉลของตัวเอง นอกจากนั้นยังก้าวก่ายในสภาเจไดทำให้เหล่าบรรดาเจไดไม่พอใจอีกด้วย อย่างไรก็ดี อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ได้สืบรู้ว่าพัลพาทีนคือซิธลอร์ด และแจ้งอาจารย์เจไดเมซ วินดูถึงการค้นพบนี้ จนนำไปสู่การเข้าจับกุมพัลพาทีน หลังจากการประลองอันรวดเร็ว ดูเหมือนว่าพัลพาทีนจะเป็นฝ่ายเสียท่า แต่อนาคินก็ช่วยเหลือพัลพาทีนจนสังหารวินดูเป็นผลสำเร็จและเข้าร่วมเป็นศิษย์ของพัลพาทีนแทนดูกูที่ถูกสังหารไปก่อนหน้านี้ โดยได้รับสมญาว่าดาร์ธ เวเดอร์ พัลพาทีนออกคำสั่งให้ดำเนินการกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ ซึ่งสังหารเจไดไปนับพัน และให้เวเดอร์สังหารนุต กันเรย์ และผู้นำกลุ่มแบ่งแยกฯ คนอื่นๆ ซึ่งนำไปสู่จุดจบของสงครามโคลน พัลพาทีนอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจัดฉากว่านิกายเจไดวางแผนกบฏและลอบสังหารเขา จึงสถาปนาจักรวรรดิกาแลกติกและให้ตนเป็นจักรพรรดิ โดยอ้างว่าเพื่อรับรองความสงบสุขของกาแลกซีในปีที่ 19 ก่อนยุทธการยาวิน

ประชาชนจำนวนมากในจักรวรรดิใหม่นี้ชื่นชมและเห็นดีเห็นงามต่อหลักการของการสร้างอำนาจใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นแผ่กว้างในกาแลกซีจากสงครามโคลน วุฒิสมาชิกจำนวนมากยินยอมพร้อมใจสนับสนุนอำนาจใหม่ในขณะที่ยังมีจำนวนหนึ่งที่กังขาและจับตาดูการใช้อำนาจของจักรวรรดิอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพัลพาทีนได้วางแผนทั้งหมดมาอย่างรัดกุม การเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้จึงดำเนินไปอย่างราบรื่น

เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ใช่ว่าวุฒิสมาชิกทั้งหมดจะชื่นชมยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น อันที่จริงแล้วมีการล่ารายชื่อถึง 2000 รายชื่อ เสนอให้พัลพาทีนหยุดการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จหลังสงครามยุติ และแสดงความกังวลต่อการแต่งตั้งตำแหน่งมอฟฟ์ เพราะเห็นว่าจะทำให้สภาสูญเสียอำนาจ การล่ารายชื่อนี้นำโดยวุฒิสมาชิกเบล ออร์กานา, มอน มอธมา และแพดเม่ อมิดาลา แต่ภายหลังจากการสถาปนาจักรวรรดิ วุฒิสมาชิกจำนวนมากได้ถอนชื่อของตนออกจากการล่ารายชื่อนี้ ทำให้เหตุการณ์นี้ไม่ตกอยู่ในความสนใจของพัลพาทีน และพัลพาทีนยังประกาศกร้าวว่า รายชื่อเหล่านี้เป็นรายชื่อของผู้คิดกบฏ อย่างไรก็ดีจากเหตุการณ์นี้ก็เป็นชนวนให้ออร์กานาและมอธมาเริ่มคิดก่อตั้งพันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐขึ้น

การทำจักรวรรดิ[แก้]

ข้าได้นำสันติ อิสรภาพ ความยุติธรรม และความมั่นคงมาสู่จักรวรรดิใหม่ของข้า!

— ดาร์ธ เวเดอร์, Star Wars Episode III: Revenge of the Sith

เมื่อจักรวรรดิถือกำเนิดขึ้น องค์กรสำคัญต่างๆ ของสาธารณรัฐเก่าพบว่าพวกเขาอาจถูกรื้อถอนหรือเปลี่ยนไปจนจำไม่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทุกสิ่งให้กลายเป็นของจักรวรรดิเพื่อสรรเสริญจักรพรรดิคนใหม่ ผ่านไปเพียงหนึ่งคืนเขตคอรัสซังก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเขตจักรวรรดิ คอรัสซังเองก็ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็นศูนย์บัญชาการของจักรวรรดิ และกาแลกติกซิตี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอิมพีเรียลซิตี้หรือเมืองของจักรวรรดิ วุฒิสภากาแลกติกได้กลายมาเป็นวุฒิสภาจักรวรรดิ กองทัพแห่งสาธารณรัฐกลายเป็นกองทัพบกของจักรวรรดิ และกองทัพเรือของสาธารณรัฐก็กลายเป็นกองทัพเรือของจักรวรรดิ หน่วยข่าวกรองที่อ่อนแอของสาธารณรัฐถูกยุบรวมเข้าเป็นหน่วยข่าวกรองของจักรวรรดิโดยมีอาร์มานด์ ไอซาร์ดเป็นหัวหน้า ราชวังของสาธารณรัฐถูกสร้างขึ้นใหม่และขยายใหญ่จนกลายเป็นพระราชวังจักรวรรดิ บดบังสิ่งก่อสร้างอื่นๆ บนคอรัสซัง คณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยของสาธารณรัฐได้เปลี่ยนมาเป็นคณะกรรมการรักษาระเบียบใหม่ ภายในไม่กี่วัน มีเพียงไม่กี่ชื่อเท่านั้นที่ทำให้ผู้คนระลึกได้ว่าครั้งหนึ่งมันเคยเป็นสาธารณรัฐมาก่อน

ในช่วงปีแรกของจักรวรรดิ กาแลกซี่ได้เห็นการเสริมกองทัพครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สภาของมอฟฟ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพื่มประสิทธิภาพในการปกครองส่วนท้องถิ่นของจักรวรรดิ การสนับสนุนนโยบายการการจัดการของพัลพาทีนพุ่งขึ้นสูง

ช่วงเวลาอันมืดมน[แก้]

เราต้องรีบ พวกเจไดไม่ยอมหยุด หากพวกมันทั้งหมดไม่ถูกทำลาย จะเกิดสงครามกลางเมืองที่ไม่สิ้นสุด

— พัลพาทีนพูดถึงเจได, Star Wars Episode III: Revenge of the Sith

เมื่อเกิดกระบวนการดังกล่าว พัลพาทีนได้สั่งการกวาดล้างศัตรูของเขา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเจ้าหน้าที่ของสาธารณรัฐเก่า ผู้ซึ่งไม่ยอมอยู่ข้างเขา การกวาดล้างของพัลพาทีนต่อกองทัพเรือของสาธารณรัฐเกิดขึ้นเพียงสองอาทิตย์หลังจากที่จักรวรรดิเกิดขึ้น

จักรพรรดิเล็งเห็นว่าชาวคามาสิเป็นภัยต่อระเบียบใหม่ เขาจึงสั่งให้ทำการกวาดล้างดาวของพวกเขาที่ชื่อคามาส กลุ่มของชาวโบธานได้เข้าก่อวินาศกรรมเครื่องกำเนิดเกราะของคามาส ทำให้ดาวนั้นไร้การปกป้องจากการระดมยิงของจักรวรรดิ ดาวที่ครั้งหนึ่งเคยงดงามถูกทำลาย ทำให้มันกลายเป็นพื้นที่รกร้างที่เป็นพิษ ชาวคามาสิที่รักสงบกระจัดกระจายไปทั่วกาแลกซี่ ในปีที่ 18 ก่อนยุทธการยาวิน จักรพรรดิได้สร้างมหาอาวุธขนาดใหญ่ที่เรีกยว่าดวงตาของพัลพาทีนเพื่อใช้มันทำลายที่หลบภยของเจไดบนเบลซาวิส อย่างไรก็ดี อาวุธที่แสนร้ายกาจนี้ถูกวินาศกรรมโดยอัศวินเจไดสองคนและทำให้เจไดบนเบลซาวิสสามารถหลบหนีไปได้

ในขณะเดียวกัน มีการประท้วงต่อความเป็นทรราชของจักรวรรดิกาแลกติกบนดาวกอร์แมนในเขตเซิร์น ยานธงของวิลฮัฟฟ์ ทาร์กินถูกปิดกั้นโดยผู้ประท้วงที่รักสงบ ผู้ซึ่งยืนอยู่บนแท่นจอดยานและปฏิเสธที่จะหลีกทางให้ ด้วยการอนุญาตจากพัลพาทีน ทาร์กินลงจอดทับใส่เหล่าผู้ประท้วงทำให้พวกเขาได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่าการสังหารหมู่บนกอร์แมน พันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐจึงเกิดขึ้น

เจไดมากมายยังต่อต้านการปกครองของพัลพาทีน โอลี สตาร์สโตนและกลุ่มของเจไดที่รอดจากคำสั่งที่ 66พร้อมกับโรอัน ชรีนได้พยายามที่จะเริ่มสภาเจไดแต่ก็ไม่สำเร็จ กลุ่มหลบหนีไปที่คาชีคเพื่อหาเจไดที่รอดชีวิต แต่จักรวรรดิก็เปิดฉากการโจมตีเข้ายึดดาว ดาร์ธ เวเดอร์สังหารโรอัน ชรีนและเจไดที่เหลือ ชาววูคกี้ชื่อชิวแบคก้าได้หนีออกจากเมืองเพื่อหาครอบครัวของเขา ขณะนั้นเอง เฟอร์รัส โอลินพร้อมกับอาจารย์เจไดโซเลซได้สร้างความหายนะบนดาวของจักรวรรดิ รวมทั้งก่อกบฏบนดาวเบลลาสซา ทั้งสองบุกเข้าไปในวิหารเจไดที่ถูกทำลายบนคอรัสซัง และทำลายกองกำลังรักษาการและศูนย์ยุทธภัณฑ์ของจักรวรรดิบนนาบู ที่เคสเซล กลุ่มของเจไดที่มีอาจารย์ซุย ชอยและอัศวินเจไดบัลทาร์ สวอนได้วางแผนหลอกล่อดาร์ธ เวเดอร์เพื่อสังหารเขา เนื่องมาจากยุทธวิธีและแผนที่แย่ พวกเขาทั้งหมดจึงถูกสังหาร อย่างไรก็ตาม ชุดของเวเดอร์ก็ได้รับความเสียหาย

1 ปีก่อนยุทธการยาวิน จักพรรดและเวเดอร์ตกเป็นเป้าหมายในการพยายามปฏิวัติของนายทหารที่ทรยศที่นำโดยแกรนด์มอฟฟ์ทราชตา ทราชตาเห็นว่าซิธนั้นโง่เขลาและล้าสมัย และเชื่อว่าจักรวรรดิไม่สมควรถูกปกครองโดยคนทั้งสอง พวกเขาวางแผนที่จะเปลี่ยนให้สตอร์มทรูปเปอร์หันมาเชื่อฟังแต่พวกเขาและสังหารซิธลอร์ดทั้งสอง อย่างไรก็ตาม พวกเขาล้มเหลวเนื่องมาจากการแตกคอกันเอง

การต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิ[แก้]

ฟังนะ ผมไม่อยากมีส่วนในเรื่องนี้ ผมมีงานต้องทำ ไม่ใช่ว่าผมชอบจักรวรรดิหรอกนะ ผมเกลียดมัน! แต่ผมยังทำอะไรไม่ได้ตอนนี้ มันห่างไกลจากที่นี่มาก

— ลุค สกายวอล์คเกอร์พูดกับโอบีวัน เคโนบี, Star Wars Episode IV: A New Hope

หลังจากที่จักรวรรดิได้เผยธาตุแท้ออกมา วุฒิสมาชิกที่ทรงอิทธิพลที่สุดทั้งสามคน ได้แก่ เบล ออร์กานาแห่งอัลเดอราน การ์ม เบล อิบลิสแห่งคอเรลเลีย และมอน มอธมาแห่งชานดริลาได้นัดประชุมลับและลงนามในสนธิสัญญาคอเรลเลียน สิ่งนี้ได้สร้างพันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐขึ้นมา หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าพันธมิตรกบฏ อย่างไรก็ตาม การลงนามของฝ่ายกบฏนั้นทำให้พัลพาทีนทำการอนุมัติหลักการของทาร์กินโดยเป็นการปกครองด้วยความกลัว ไม่นานนักก่อนยุทธการยาวิน พัลพาทีนได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและยุบวุฒิสภาทิ้ง ด้วยเหตุนี้ทำให้องค์กรที่เคยเป็นตัวแทนของคุณค่าและความเหมาะสมของสาธารณรัฐจึงถูกกำจัดจนสิ้นซาก

หัวใจหลักในการปกครองด้วยความกลัวนี้ก็คือดาวมรณะดวงที่ 1 ซึ่งเป็นสถานีอวกาศขนาดเท่ากับดวงจันทร์ที่มีอำนาจการยิงที่ทรงพลังเสียจนสามารถทำลายดาวเคราะห์ได้ทั้งดวงด้วยการยิงเพียงครั้งเดียว ในทางตรงกันข้ามนั้นดาวเคราะห์มากมายก็มีเกราะหักเหที่สามารถป้องกันการโจมตีส่วนใหญ่ได้ แต่ก็ไม่มีดวงใดที่สามารถปกป้องตัวเองจากดาวมรณะ อาวุธนี้ถูกทำลายในยุทธการยาวิน ซึ่งได้สร้างชัยชนะครั้งใหญ่ครั้งแรกในอวกาศให้กับพันธมิตรกบฏ

พันธมิตรกบฏเป็นกองทัพแบบกองโจรที่อุทิศตนให้กับการเอาชนะจักรวรรดิและฟื้นฟูสาธารณรัฐกาแลกติกขึ้นมาอีกครั้ง เป้าหมายนี้ถูกบรรลุเมื่อพัลพาทีนและดาร์ธ เวเดอร์เสียชีวิตลงพร้อมกับการทำลายดาวมรณะดวงที่สองในยุทธการเอนดอร์ แต่ทว่าแม้จักรวรรดิจะล่มสลายไปแล้ว แต่กองทัพที่จักรวรรดิได้สร้างเอาไว้จำนวนมากมายมหาศาลยังคงอยู่และแตกแยกกระจายกันไปทั่วกาแลคซี่ ดังนั้นสงครามกลางเมืองยังไม่สิ้นสุดลง กองทัพฝ่ายจักรวรรดิได้ทำสงครามต่อไปกับสาธารณรัฐใหม่ที่เหล่าพันธมิตรกบฏได้ทำการฟื้นฟูขึ้น ต่อมากองทัพจักรวรรดิได้พบกับความพ่ายแพ้ที่ดาวจัคคูในปีที่ 5 หลังยุทธการยาวิน หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็ได้ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นเป็นอันสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมือง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีกองทัพฝ่ายจักรพรรดิที่เหลือต่างไม่ยอมรับและต้องการทำสงครามรบกับสาธารณรัฐใหม่ต่อไป หากแต่ไม่ได้มีการโจมตีใดๆเกิดขึ้นเลยจนถูกเรียกว่า สงครามเย็น จนกระทั่งต่อมาในปีที่ 34 หลังยุทธการยาวิน ปฐมภาคีได้ถูกก่อตั้งขึ้นและได้ทำการรวบรวมกองทัพจักรวรรดิเก่าเอาไว้ในหนึ่งเดียวและประกาศทำสงครามกับสาธารณรัฐใหม่และกลุ่มฝ่ายต่อต้าน(Resistance)ซึ่งเป็นกลุ่มกองกำลังอดีตพันธมิตรฟื้นฟูสาธารณรัฐในช่วงสงครามกลางเมือง

ฉาก[แก้]

จอร์จ ลูคัส ผู้สร้างสตาร์ วอร์ส พยายามทำให้จักรวรรดิกาแลกติกที่หนึ่งมีความคล้ายคลึงกันในเชิงสุนทรียภาพและใจความกับนาซีเยอรมนีและดูเหมือนจะเป็นพวกฟาสซิสต์[1] ระบอบเผด็จการของจักรวรรดิกาแลกติกมีความคล้ายกับนาซีเยอรมนีตรงที่การควบคุมสังคมอย่างเข้มงวดที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยก่อนหน้าเสื่อมถอย และนำโดยผู้ปกครองสูงสุดที่มีอำนาจทั้งหมด[2] จักรวรรดิต้องการสร้างระเบียบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเหมือนกับนาซี[3] และใช้กำลังกับความรุนแรงอย่างล้นหลามเพื่อบรรลุจุดประสงค์[3] สตอร์มทรูปเปอร์ ชื่อกองกำลังหลักของจักรวรรดิ มีความคล้ายกับชื่อ ชตวร์มอัพไทลุง (เอ็สอา, "กองกำลังพายุ") หน่วยกองกำลังคุ้มกันที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ตั้งให้[2]

รูปลักษณ์ภายนอกของดาร์ธ เวเดอร์ในชุดดำทั้งตัว ประกอบกับการเชื่อฟังจักรพรรดิ เป็นการพาดพิงถึงหน่วย ชุทซ์ชตัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) ของนาซี[2] ตามรายงานจากแหล่งที่มาที่ได้รับอนุญาตของลูคัสฟิล์ม ความสัมพันธ์ระหว่างดาร์ธ เวเดอร์กับพัลพาทีนมีความคล้ายกับความสัมพันธ์ระหว่างฮิตเลอร์กับไฮน์ริช ฮิมเลอร์ หัวหน้าหน่วยเอ็สเอ็ส[4]

นอกจากนี้ มีอย่างน้อยส่วนหนึ่งของจักรวรรดิกาแลกติกที่มีฐานจากสหภาพโซเวียต นั่นคือบุคลากรทางทหารต่าง ๆ และทายไฟต์เตอร์ที่เดินขบวนและบินเป็นแถวตอนที่พัลพาทีนเดินทางมาถึงดาวมรณะที่สองในสตาร์ วอร์ส 3 ชัยชนะของเจได ซึ่งลูคัสอธิบายว่า พิธีต้อนรับจักรพรรดิได้แรงบันดาลใจจากกองเดินขบวนทหารในวันเมย์เดย์ของสหภาพโซเวียต[5]

ลูคัสยังระบุอีกว่า การดิ้นรนของจักรวรรดิกาแลกติกต่อหน่วยกองโจรที่มีขนาดเล็กกว่า มีแรงบันดาลใจจากการมีส่วนร่วมของสหรัฐในสงครามเวียดนาม และความประหลาดใจของเขาที่มีเพียงไม่กี่คนที่เรียกร้องต่อต้านสงคราม[6][7]

มีผู้เทียบการขึ้นสู่อำนาจของพัลพาทีนเข้ากับการขึ้นสู่อำนาจของจูเลียส ซีซาร์, จักรพรรดิเอากุสตุส, นโปเลียน โบนาปาร์ต และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[4]

หมายเหตุ[แก้]

  1. The following, (disputed) commissionary heads of the Galactic Empire, Mas Amedda (4 ปีหลังยุทธการยาวิน – 5 ปีหลังยุทธการยาวิน), Rae Sloane (5 ปีหลังยุทธการยาวิน) and Gallius Rax (5 ปีหลังยุทธการยาวิน), were not called Emperors and did not hold full powers
  2. Which later becomes the ปฐมภาคี.

อ้างอิง[แก้]

  1. Henderson, Mary S.; Mary Henderson (1997). Star Wars: The Magic of Myth. New York City: Bantam Books. p. 184. ISBN 978-0-553-37810-8.
  2. 2.0 2.1 2.2 Henderson (1997), p. 146
  3. 3.0 3.1 Henderson (1997), p. 153
  4. 4.0 4.1 Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice, บ.ก. (2012). Star Wars and History. John Wiley & Sons.[ต้องการเลขหน้า]
  5. George Lucas, commentary, Star Wars Episode VI: Return of the Jedi, Special Edition (DVD, 20th Century Fox, 2004), disc 1.
  6. Taylor, Chris (2015). How Star Wars Conquered the Universe: The Past, Present Future of a Multibillion Dollar Franchise. New York City: Basic Books. pp. 87–88. Lucas was fascinated by the notion of how a tiny nation could overcome the largest military power on Earth, and this was baked into The Star Wars right from its earliest notes in 1973
  7. Ondaatje, Michael (2004). The Conversations: Walter Murch and the Art of Editing Film. New York City: Knopf Doubleday. p. 70. ISBN 978-0375709821. The message boiled down to the ability of a small group of people to defeat a gigantic power simply by the force of their convictions. [...] The rebel group were the North Vietnamese, and the Empire was the United States. And if you have 'the force,' no matter how small you are, you can defeat the overwhelmingly big power.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]