จอห์น เวย์น พาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น เวย์น พาร์
ฉายาเดอะกันสลิงเกอร์
รุ่นมิดเดิลเวท
น้ำหนัก72 กก. (160 ปอนด์)
ส่วนสูง1.77 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)*
เกิด (1976-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 (47 ปี)
ชกทั้งหมด112 (มวยเตะ)
13 (มวยสากล)
ชนะ80 (มวยเตะ)
10 (มวยสากล)
ชนะน็อก37 (มวยเตะ)
10 (มวยสากล)
แพ้31 (มวยเตะ)
3 (มวยสากล)
เสมอ1 (มวยเตะ)
- (มวยสากล)
ค่ายมวยบุญชูยิม

จอห์น เวย์น พาร์ (อังกฤษ: John Wayne Parr) เกิดวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ JWP เป็นนักมวยไทยรุ่นมิดเดิลเวทชาวออสเตรเลีย ผู้มาจากบุญชูยิม เมืองโกลโคสต์ รัฐควีนส์แลนด์ เขาเป็นแชมป์โลก 8 สมัย และเป็นรองผู้ชนะของรายการ เดอะ คอนเทนเดอร์เอเชีย

ประวัติ[แก้]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

เวย์น พาร์ เริ่มฝึกเทควันโดเมื่อมีอายุได้ 11 ปี เมื่อพาร์เติบโตขึ้น ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปเป็นจำนวนมาก และแม่ของเขาช่วยให้เขาได้พบกับโรงยิมใหม่ทุกครั้งที่ทำการย้ายเพื่อให้ลูกชายของเธอได้รับการฝึกฝน เมื่อเขามีอายุสิบหกปี ครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายกลับคืนสู่รัฐควีนส์แลนด์ และพาร์ก็ได้เริ่มฝึกฝนกับแบลร์ มัวร์ ซึ่งมัวร์เป็นหนึ่งในโปรโมเตอร์ชั้นนำของควีนส์แลนด์ด้านมวยไทย

อาชีพช่วงต้นที่ออสเตรเลีย[แก้]

พาร์ เริ่มเข้าร่วมทำศึกในระดับอาชีพขณะมีอายุได้ 17 ปี มัวร์ได้ทำการฝึกแก่พาร์สำหรับการต่อสู้ใน 13 นัด โดยพาร์ได้ชนะการแข่งขันของออสเตรเลีย (รุ่น 63 กก.) ขณะที่มีอายุได้ 17 ปี และในรายการเซาธ์แปซิฟิค พาร์เป็นฝ่ายชนะน็อกโดยเทคนิคเหนือ สก็อตต์ เลิฟล็อก โดยพาร์เป็นฝ่ายชนะขณะมีอายุได้ 19 ปี[1] ในระหว่างการสร้างผลงานครั้งแรกของเขาในประเทศออสเตรเลีย เขาก็ได้รับรางวัลระดับภูมิภาคของ WKA ขณะที่มีอายุได้ 19 ปี พาร์ได้พบกับริชาร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรโมเตอร์คิกบ็อกซิ่งที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในออสเตรเลียที่ร้านอาหารไทยที่มีชื่อว่า บุญชูไทย และได้เชิญชวนเขาเพื่อให้เขาได้ฝึกฝนในประเทศไทย ในช่วงนี้เอง ที่พาร์ได้รับการตั้งชื่อว่า "จอห์น เวย์น พาร์" ภายหลังจากที่มีภาพยนตร์ตะวันตกของ จอห์น เวย์น โดยเวล

ผลงานระดับอาชีพในไทย[แก้]

ใน ค.ศ. 1995 พาร์ได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศไทยและใช้ชีวิตอยู่ในค่ายมวยไทยเป็นระยะเวลาสี่ปี และทำการฝึกฝนทั้งในพัทยาและกรุงเทพ โดยเข้าร่วมใน 30 รายการแข่งขัน และชนะสองรายการระดับโลก ในระดับอาชีพของเขาที่ประเทศไทย เขาได้ทำท่าเลียนแบบนักยิงปืนโดยทำท่าชักปืนขึ้นมายิงในช่วงตอนจบของการไหว้ครูรำมวยก่อนทำการแข่งขัน และการเคลื่อนไหวนี้ได้เป็นที่ตราตรึงแก่สายตาประชาชนชาวไทย และเส้นทางสายนี้เองที่ทำให้เขาได้เป็นที่นิยมในประเทศไทย รวมถึงได้รับการโหวตให้เป็น นักมวยฝรั่งยอดเยี่ยม แห่งปี ใน ค.ศ. 1997 จากการต่อสู้ที่สนามมวยเวทีลุมพินีสามครั้ง กับวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งแรกของเขา ใน ค.ศ. 1999 พาร์ได้ย้ายกลับไปยังประเทศออสเตรเลียเพื่อเปิดโรงยิมของเขาเองในชื่อ "บุญชูยิม"[2] และเขาได้เริ่มต้นการแข่งขันชกมวยสากล

เดอะ คอนเทนเดอร์เอเชีย รอบชิงชนะเลิศ[แก้]

วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2008 พาร์ได้ต่อสู้กับ ยอดแสนไกล ที่ประเทศสิงคโปร์ ในรายการ เดอะ คอนเทนเดอร์เอเชีย กับเงินรางวัล 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ การต่อสู้ในครั้งนี้ถือเป็นการต่อสู้ที่สะเทือนอารมณ์สำหรับพาร์ เพียงในช่วงสัปดาห์ก่อนการแข่งขัน พ่อของเขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย[3] อีกทั้งภรรยาของเขาก็กำลังตั้งครรภ์ เขาพยายามยืนหยัดจากการน็อคสองครั้งขณะทำการแข่งขัน แต่แล้วเขาก็เป็นฝ่ายแพ้จากการตัดสินของกรรมการอย่างเป็นเอกฉันท์

การแสดง[แก้]

จอห์น เวย์น พาร์ ยังได้ร่วมแสดงในภาพยนตร์ขนาดสั้น ดังเช่น เดอะไวโอเลนท์ ที่เขียนโดย เจมส์ ริชาร์ด และ เคธ แมคโดนัลด์ ภาพยนตร์ชุดนี้ถ่ายทำในประเทศออสเตรเลียและได้รับรางวัลออกแบบท่าต่อสู้ระยะสั้นยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Parr, Wayne. ""John Wayne Parr Biography" ". www.boonchu.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-14. สืบค้นเมื่อ 31 March 2008.
  2. Parr, Wayne. "About me:". www.myspace.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-01. สืบค้นเมื่อ 31 March 2008.
  3. OTHER: John Wayne Parr - FREESTYLE RIDES. Automotive (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]