จรัญประกันภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:CHARAN
อุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน
ประกันภัยและประกันชีวิต
ก่อตั้ง10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 (74 ปี)
สำนักงานใหญ่408/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
โสภน กล้วยไม้ ณ อยุธยา (ประธานกรรมการ)
สุกิจ จรัญวาศน์ (กรรมการผู้จัดการ)
รายได้เพิ่มขึ้น 326.70 ล้านบาท (2562)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 900.35 ล้านบาท (2562)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 528.56 ล้านบาท (2562)[1]
เว็บไซต์www.charaninsurance.co.th

บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: CHARAN INSURANCE PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:CHARAN)[2] เดิมชื่อ “บริษัท ซุ่นเฮงหลีประกันภัย จำกัด” ก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2492 เพื่อดำเนินธุรกิจรับประกันวินาศภัยทุกประเภท ได้แก่ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยเบ็ดเตล็ด และการประกันภัยรถยนต์

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญของ บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)[3] ได้แก่

  • พ.ศ. 2518 บริษัทได้ทำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด”
  • พ.ศ. 2523 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 2 ล้านบาท เป็น 5 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2526 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 5 ล้านบาท เป็น 10 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2534 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 30 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2535 บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหุ้นสามัญ 6 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2537 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัท มหาชน จำกัด ในชื่อ “บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)” ทะเบียนเลขที่ บมจ. 327
  • พ.ศ. 2549 บริษัทได้รับ “รางวัลเกียรติยศบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการพัฒนาการบริหารงานดีเด่น อันดับ 3” จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
  • พ.ศ. 2558 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียน เป็น 120 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยหุ้นสามัญ 12 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท

ลักษณะธุรกิจ[แก้]

บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลัก แบ่งได้เป็น 2 ส่วน[4] ดังต่อไปนี้

ด้านการรับประกันภัย[แก้]

ธุรกิจหลักของบริษัทฯ คือ รับประกันวินาศภัยทุกประเภท โดยแบ่งเป็น

  • การรับประกันโดยตรง เป็นการรับประกันภัยผ่านตัวแทนนายหน้า บุคคลธรรมดา นายหน้านิติบุคคล สถาบันการเงิน และลูกค้าโดยตรง
  • การรับประกันต่อจากบริษัทประกันวินาศภัยอื่น ๆ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจรับประกันวินาศภัยตามประเภทการรับประกันภัยหลัก 4 ประเภท ได้แก่

  1. การประกันอัคคีภัย เป็นการรับประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) ที่อยู่อาศัย อาคาร บ้าน ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว อาคารพณิชย์ โรงงาน และ/หรือ ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง สต๊อกสินค้า เฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ
  2. การประกันภัยทางทะเลและลอจิสติกส์ เป็นการรับประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และภายในประเทศ โดยทางเดินเรือทะเล และการขนส่งทางบกโดยรถยนต์ รถไฟ ตลอดจนการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน ซึ่งจะให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสินค้าที่เอาประกันภัยในระหว่างการขนส่งที่นำเข้าในประเทศ และส่งออกต่างประเทศที่เกิดความเสียหายจากภัยทางทะเล ความเสียหายจากภัยธรรมชาติต่างๆ และยังให้ความคุ้มครองพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การลักขโมย ภัยสงคราม การจลาจล การนัดหยุดงาน เป็นต้น
  3. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด เป็นการประกันภัยประเภทหนึ่งของการประกันวินาศภัย ซึ่งให้ความคุ้มครองต่อความสูญเสีย และความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากความคุ้มครองของการประกันอัคคีภัย การประกันภัยรถยนต์ และการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง โดยแบ่งประเภทการรับประกันภัยต่างๆ
  4. การประกันภัยรถยนต์ เป็นการรับประกันความเสี่ยงภัยของการใช้รถยนต์ โดยให้ความคุ้มครอง การสูญหาย และความเสียหายของตัวรถ อุปกรณ์ประจำรถถูกลักขโมย ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถ ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งความคุ้มครองพิเศษอื่นๆ เช่น การประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา เป็นต้น

ด้านการลงทุน[แก้]

บริษัทประกันวินาศภัยสามารถนำเงินสดคงเหลือไปลงทุนหรือแสวงหาผลตอบแทน เพื่อเป็นรายได้สำคัญอีกทางหนึ่งให้แก่บริษัทฯ โดยการเลือกลงทุนต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่บริษัทฯ ยอมรับได้ และมีสภาพคล่องในการเปลี่ยนสินทรัพย์ลงทุนเป็นเงินสดสำหรับส่วนที่บริษัทฯต้องใช้ในอนาคตอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งต้องปฏิบัติตามประเภท สัดส่วน และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด ภายใต้ข้อกำหนดว่าด้วยการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 การให้กู้ยืมเงิน การลงทุนในหลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร หุ้นสามัญ หุ้นกู้ รวมทั้งการฝากเงินในธนาคาร

รายนามประธานกรรมการ[แก้]

  1. โสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[5]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 นาย สุกิจ จรัญวาศน์ 2,171,944 18.10%
2 นาย วิเชียร ศรีมุนินทร์นิมิต 1,089,700 9.08%
3 นาย กิตติพงศ์ จรัญวาศน์ 718,100 5.98%
4 นาย กิตติ จรัญวาศน์ 692,000 5.77%
5 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 578,000 4.82%
6 นาย สิทธิชัย เกื้อเกียรติงาม 570,000 4.75%
7 นาง เอลิซาเบธ์ จรัญวาศน์ 467,200 3.89%
8 นาย นิพนธ์ จรัญวาศน์ 412,800 3.44%
9 น.ส. วีรดา เกื้อเกียรติงาม 400,000 3.33%
10 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 239,200 1.99%

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 งบการเงิน/ผลประกอบการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  3. ประวัติบริษัท บมจ.จรัญประกันภัย
  4. ลักษณะการประกอบธุรกิจ บมจ.จรัญประกันภัย
  5. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เก็บถาวร 2021-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย