จงโคร่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จงโคร่ง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Bufonidae
สกุล: Phrynoidis
สปีชีส์: P.  aspera
ชื่อทวินาม
Phrynoidis aspera
(Gravenhorst, 1829)
ชื่อพ้อง
  • Bufo asper Gravenhorst, 1829
  • Nectes obscurus Barbour, 1904
  • Phrynoidis asper Gravenhorst, 1829
กงตัวใหญ่

จงโคร่ง หมาน้ำ กง กระทาหอง กระหอง (ปักษ์ใต้)[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phrynoidis aspera) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกคางคกขนาดใหญ่ที่พบในประเทศไทยชนิดหนึ่ง

จงโคร่งนับเป็นคางคกชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย บริเวณหลังมีน้ำพิษเห็นเป็นปุ่มชัดเจน ตาใหญ่ ตัวมีสีน้ำตาลดำ ตัวผู้มักปรากฏลายสีเข้มเป็นแถบทั้งขาหน้า และขาหลัง บริเวณใต้ท้องมีสีขาวหม่น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร ขายาว 6-8 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง นิ้วเท้ามี 4 นิ้ว สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ตามสภาพแวดล้อม โดยตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

จงโคร่งเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะในป่าดิบชื้น โดยจะอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำในป่า เช่น ลำธารน้ำตกหรือลำห้วย โดยมักใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าอยู่บนบก มักหลบอยู่ตามขอนไม้หรือก้อนหินขนาดใหญ่ หากินในเวลากลางคืน อาหารหลักได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก

มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "หมาน้ำ" [3] โดยมีพฤติกรรมร้องเป็นจังหวะ ๆ ละ 6-10 วินาที ลักษณะไข่เป็นฟองกลม ๆ อาจติดอยู่ตามขอบแหล่งน้ำที่อาศัย โดยฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตกและภาคใต้

ในความเชื่อของคนปักษ์ใต้ จงโคร่งหรือกงเป็นสัตว์นำโชค หากเข้าบ้านใครถือเป็นลางมงคล โดยเฉพาะทางจังหวัดนราธิวาส มีความเชื่อเรื่องนี้มาก โดยเรียกว่า 'กง' หากเข้าบ้านใคร เขาจะเลี้ยงดูอย่างดี มีการอาบน้ำปะแป้งให้ และมีคติว่า กงไม่ชอบให้คนในบ้านทะเลาะกัน หากทะเลาะกัน มันจะหนีไปอยู่ที่อื่น ทั้งนี้นิสัยของกง คือ จะเลือกอาศัยอยู่กับบ้านที่มันชอบเท่านั้น ถ้าไม่ชอบ ต่อให้จับมาเลี้ยง ก็หนีไป แต่ในบางท้องถิ่นมีการเอาหนังของจงโคร่งมาตากแห้งแล้วมวนผสมกับใบยาสูบสูบเหมือนยาสูบทั่วไป มีฤทธิ์แรงกว่ายาสูบหรือบุหรี่ทั่วไป โดยมีความแรงเทียบเท่ากับกัญชา ในฟิลิปปินส์ก็นิยมทำเช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ศัตรูของจงโคร่ง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. ความหมายของคำว่า "กระทาหอง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. "จงโคร่ง หรือหมาน้ำ โดย พนาไพรสนณ์ ออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Phrynoidis aspera ที่วิกิสปีชีส์