งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก งูไซด์ไวน์เดอร์)
งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Viperidae
วงศ์ย่อย: Crotalinae
สกุล: Crotalus
สปีชีส์: C.  cerastes
ชื่อทวินาม
Crotalus cerastes
Hallowell, 1854
ชนิดย่อย [2]
  • C. cerastes cerastes Hallowell, 1854
  • C. cerastes cercobombus Savage & Cliff, 1953
  • C. cerastes laterorepens Klauber, 1944
ชื่อพ้อง
  • Crotalus cerastes - Hallowell, 1854
  • C[audisona]. cerastes - Cope, 1867
  • Caudisona (Aechmophrys) cerastes - Coues In Wheeler, 1875
  • Aechmophrys cerastes - Coues In Wheeler, 1875
  • Crotalus cerastes - Boulenger, 1896
  • Crotalus cerastes [cerastes] - Klauber, 1944[3]

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ หรือ งูไซด์ไวน์เดอร์ (อังกฤษ: Sidewinder, Sidewinder rattlesnake, Horned rattlesnake[4]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalus cerastes) เป็นงูพิษขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่แถบทะเลทราย จัดเป็นงูจำพวกงูหางกระดิ่ง อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae)

จัดเป็นงูหางกระดิ่งชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.5-2.5 ฟุต แต่ตัวที่มีความยาวกว่า 30 นิ้ว มักไม่ค่อยพบ มีลักษณะเด่น คือ มีติ่งเล็ก ๆ เหนือตาคล้ายกับเขา ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการปกป้องดวงตา มีเกล็ดตามลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม สำหรับการปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นทราย [5]

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ มีการเคลื่อนที่ด้วยการเหวี่ยงตัวไปข้าง ๆ ด้วยการควบคุมตัวให้ตกลงสู่พื้นในแนวดิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถล เพื่อทำให้เกิดแรงผลักและทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าขณะเดียวกันลำตัวถูกยกขึ้นสูงจากพื้นวัสดุแล้วตกลงในแนวดิ่ง จึงสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่ทิศทางการเลื้อยอาจดูเฉียงไปด้านข้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะรูปแบบการเคลื่อนที่แบบนี้เหมาะมากสำหรับการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ไม่มีขาบนพื้นทราย ที่อ่อนนุ่มแบบนี้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกด้วย[6]

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ เป็นงูที่ออกหากินในเวลากลางคืน ด้วยการตรวจจับคลื่นอินฟาเรดจากความร้อนของตัวเหยื่อ ซึ่งเหยื่อ โดยมากจะได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู หรือสัตว์ฟันแทะและกิ้งก่าชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย [5]

แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐเท็กซัส, ยูทาห์, เนวาดา, อริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และตอนเหนือของเม็กซิโก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย[2] ตามแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัย (ดูในตาราง)

รอยบนพื้นทราย ที่เป็นงูเหวี่ยงตัวผ่าน

เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวได้มากกว่าครั้งละ 18 ตัว[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. จาก IUCN
  2. 2.0 2.1 จาก itis.gov
  3. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  4. Carr A. 1963. The Reptiles. Life Nature Library. Time-Life Books, New York. LCCCN 63-12781.
  5. 5.0 5.1 5.2 Sidewinder Rattlesnake
  6. หน้า 111, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Crotalus cerastes ที่วิกิสปีชีส์