งูพิษมีเขาทะเลทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Saharan horned viper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cerastes Cerastes (Linnaeus, 1758)มีลักษณะเด่น คือ บริเวณเหนือตาแต่ละข้างมีส่วนที่คล้ายเขายื่นขึ้นมา ตาจะอยู่ด้านข้างแต่ค่อนไปทางด้านบนของหัว สามารถแยกเพศได้โดยเพศผู้จะมีขนาดของหัวและขนาดของตาที่ใหญ่กว่าเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญ สีของงูชนิดนี้มีตั้งแต่สีเหลือง สีน้ำตาลอ่อน สีเทาอ่อน สีชมพู และสีแดง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสีของงูนั้นจะกลืนไปกับพื้นที่อยู่อาศัย ด้านบนของงูจะมีแถบสีดำคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตลอดความยาวของลำตัว ด้านท้องมีสีขาว หางมีลักษณะแบน ปลายหางอาจเป็นสีดำ งูชนิดนี้จะโผล่เฉพาะส่วนของจมูกและส่วนของตาเหนือพื้นทะเลทราย ส่วนของลำตัวจะฝังอยู่ในพื้นทรายเพื่อเป็นการพรางตัว ในวัยเด็กมีการใช้ส่วนหางเป็นเหยื่อล่อโดยใช้หางสั่นไปมาคล้ายหนอนล่อเหยื่อกลุ่มกิ้งก่าหรือจิ้งเหลน[1]

รูป Saharan horned viper

Saharan horned viper พบใน ทวีปแอฟริกา โดยพบในทางตอนเหนือของแอฟริกาและแอฟริกาตะวันตกซึ่งจะเป็นบริเวณที่เป็นทะเลทราย [2]

Saharan horned viper มีต่อมพิษซึ่งภายในต่อมพิษนั้นจะมีพิษ โดยน้ำพิษนั้นแบ่งเป็นส่วนที่เป็นน้ำย่อยกับส่วนที่เป็นน้ำพิษโดยพิษของงูชนิดนี้มีความรุนแรงพอที่จะฆ่าหนู กิ้งก่า หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กภายในเวลาอันรวดเร็ว งูจึงไม่ต้องสูญเสียพลังงานกับการล่าเหยื่อมากนัก ซึ่งพบว่าลักษณะน้ำพิษของ Cerastes cerastes และ Cerastes vipera ที่หลั่งออกมานั้นมีความใกล้เคียงกัน .[3]

Saharan horned viper มีการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง (side winding) เพื่อลดพลังงานในการเคลื่อนที่ [4]

Saharan horned viper อาศัยอยู่ในในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเลยโดยน้ำที่ได้มานั้นได้มาจากตัวเหยื่อ [5]

Saharan horned viper อาศัยอยู่ในในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเลยโดยน้ำที่ได้มานั้นได้มาจากตัวเหยื่อโดยตรง [6]

อ้างอิง[แก้]

  1. name="Herpetologists' League">Harold H. and Elizabeth D. (2013) A Review of Caudal Luring in Snakes with Notes on Its Occurrence in the Saharan Sand Viper, Cerastes vipera. Herpetologists' League (7190):332-336. http://www.jstor.org/stable/pdfplus/3891463.pdf?acceptTC=true&acceptTC=true&jpdConfirm=true
  2. STEVEN M. G. (1994) THE DISTRIBUTION AND ETHNOZOOLOGY OF REPTILES OF THE NORTHERN PORTION OF THE EGYPTIAN EASTERN DESERT. JOURNAL OF ETHNOBIOLOGY. J. Ethnobiol. 14(1):75-100.
  3. Amine B, Naziha M, Mohamed El Ayeb1 et al. (2005) Snake venomics: Comparative analysis of the venom proteomes of the Tunisian snakesCerastes cerastes, Cerastes vipera and Macrovipera lebetina. Proteomics 5:4223-4235. doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.ibmb.2007.10.005 http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18342245
  4. STEVEN M. G. (1994) THE DISTRIBUTION AND ETHNOZOOLOGY OF REPTILES OF THE NORTHERN PORTION OF THE EGYPTIAN EASTERN DESERT. JOURNAL OF ETHNOBIOLOGY. J. Ethnobiol. 14(1):75-100.
  5. OZOOLOGY OF REPTILES OF THE NORTHERN PORTION OF THE EGYPTIAN EASTERN DESERT.JOURNAL OF ETHNOBIOLOGY. J. Ethnobiol. 14(1):75-100.
  6. OZOOLOGY OF REPTILES OF THE NORTHERN PORTION OF THE EGYPTIAN EASTERN DESERT.JOURNAL OF ETHNOBIOLOGY. J. Ethnobiol. 14(1):75-100.