งูปล้องทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูปล้องทอง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: งูตาแมว
(F. Boie, 1827)
สปีชีส์: Boiga dendrophila
ชื่อทวินาม
Boiga dendrophila
(F. Boie, 1827)
ชื่อพ้อง

งูปล้องทอง (อังกฤษ: Mangrove snake, Gold-ringed cat snake; ชื่อวิทยาศาสตร์: Boiga dendrophila) เป็นงูขนาดกลางมีความยาวเฉลี่ย 2.4–2.7 เมตร (8–9 ฟุต)[2] ลำตัวมีสีดำเป็นมันและมีสีเหลืองเป็นวงเล็ก ๆ เป็นระยะ แต่ไม่รอบตัว หัวดำ ปากลายเสือและท้องมีเขี้ยวพิษใต้ตา เมื่อถูกฉกกัดบริเวณปลายปากจะไม่เป็นอันตราย นอกเสียจากถูกฉกติดและงับไปจนถึงเขี้ยวพิษ ผู้ถูกกัดไม่มีอันตรายมากนัก หากแต่เพียงมีอาการปวดบวม แต่ไม่ปรากฏเป็นรอยแผลเป็น งูปล้องทองมีนิสัยดุ เมื่อเข้าใกล้จะงอพับตัวเตรียมฉก สามารถแผ่หนังคอทางตั้งแล้วอ้าปากเพื่อให้อีกฝ่ายกลัว งูปล้องทองชอบอาศัยอยู่ตามป่าริมแม่น้ำและริมทะเลทางภาคใต้ ในเวลากลางวันจะขดตัวนอนตามพุ่มไม้ และออกหากินในเวลากลางคืน งูปล้องทองกินอาหารได้หลายอย่างเช่น หนู, นก, ตุ๊กแก, กิ้งก่า, ปลา พบมากในจังหวัดระนอง, ชุมพร, สตูล, ยะลา, ปัตตานี, ตรัง และนราธิวาส นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบในมาเลเซียจนถึงฟิลิปปินส์

ชนิดย่อย[แก้]

มีชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับถึง 9 ชนิด ซึ่งรวมชนิดย่อยต้นแบบด้วย[3]

ชื่อชนิดย่อย levitoni ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่แอลัน อี. เลวีตัน นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอเมริกัน (เกิด ค.ศ. 1930)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Grismer, L.; Chan-Ard, T.; Demegillo, A.; Diesmos, A.C.; Gaulke, M.; Iskandar, D.; Stubbs, A. (2021). "Boiga dendrophila". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T183186A1731375. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. "Mangrove Snake - Reptiles Amino". สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
  3. ชนิด Boiga dendrophila ที่ The Reptile Database . www.reptile-database.org.
  4. Beolens, Bo; Watkins, Michael; Grayson, Michael (2011). The Eponym Dictionary of Reptiles. Baltimore: Johns Hopkins University Press. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. (Boiga dendrophila levitoni, p. 157).

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Boie F (1827). "Bemerkungen über Merrem's Versuch eines Systems der Amphibien, 1. Lieferung: Ophidier". Isis van Oken, Jena 20: 508–566. (Dipsas dendrophila, p. 549) (ในภาษาเยอรมันและละติน).
  • Boulenger GA (1896). Catalogue of the Snakes in the British Museum (Natural History). Volume III. Containing the Colubridæ (Opisthoglyphæ and Proteroglyphæ) ... London: Trustees of the British Museum (Natural History). (Taylor and Francis, printers). xiv + 727 pp. + Plates I-XXV. (Dipsadomorphus dendrophilus, pp. 70–71). (includes new variations: annectens, latifasciatus, melanotus, multicinctus).
  • Brongersma LD (1934). "Contributions to Indo-Australian herpetology". Zool. Med. 17: 161–251. (Boiga brongersma, p. 200).
  • Das I (2006). A Photographic Guide to Snakes and other Reptiles of Borneo. Sanibel Island, Florida: Ralph Curtis Books. 144 pp. ISBN 0-88359-061-1. (Boiga dendrophila, p. 22).
  • Ryabov, Sergei A.; Orlov, Nikolai L (2002). "Breeding of Black Mangrove Snake Boiga dendrophila gemmicincta (Duméril, Bibron et Duméril, 1854) (Serpentes: Colubridae: Colubrinae) from Sulawesi Island (Indonesia)". Russ. J. Herpetol. 9 (1): 77–79.


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Boiga dendrophila