งูทางมะพร้าวธรรมดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูทางมะพร้าวธรรมดา
C. radiatus ท่าทางข่มขู่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: Coelognathus
(F. Boie, 1827)[1]
สปีชีส์: Coelognathus radiatus
ชื่อทวินาม
Coelognathus radiatus
(F. Boie, 1827)[1]
ชื่อพ้อง
  • Coluber radiatus BOIE 1827
  • Coluber radiatus SCHLEGEL 1837: 135
  • Coluber quadrifasciatus CANTOR 1839
  • Tropidonotus quinque CANTOR 1839
  • Coelognathus radiata FITZINGER 1843
  • Elaphis radiatus DUMÉRIL 1853
  • Plagiodon radiata DUMÉRIL 1853
  • Compsosoma radiatum DUMÉRIL, BIBRON & DUMÉRIL 1854: 292
  • Elaphis (Compsosoma) radiatum BLEEKER 1857
  • Spilotes radiatus GÜNTHER 1858
  • Elaphis radiatus JAN 1863
  • Coluber radiatus BOULENGER 1894: 61
  • Coluber (Compsosoma) radiatus MÜLLER 1895: 203
  • Coluber radiatus WALL 1908: 327
  • Elaphe radiata BARBOUR 1912
  • Elaphe radiata POPE 1929
  • Coelognathus radiatus COCHRAN 1930
  • Elaphe radiata SMITH 1943
  • Elaphe radiata SCHULZ 1996: 219
  • Elaphe radiata MANTHEY & GROSSMANN 1997: 344
  • Elaphe radiata COX et al. 1998: 51
  • Elaphe radiata LAZELL et al. 1999
  • Elaphe radiata CHAN-ARD et al. 1999: 166
  • Coelognathus radiatus GUMPRECHT 2000
  • Coelognathus radiatus UTIGER et al. 2002
  • Elaphe radiata ZIEGLER 2002: 231
  • Coelognathus radiatus WINCHELL 2003
  • Coelognathus radiatus GUMPRECHT 2003
  • Elaphe radiata PAUWELS et al. 2003
  • Coelognathus radiata ZIEGLER et al. 2007
  • Elaphe radiatus MURTHY 2010

งูทางมะพร้าวธรรมดา เป็นงูไม่มีพิษขนาดกลาง เป็นงูบกที่มีสีและลวดลายงดงาม มีนิสัยดุ เมื่อโดนรบกวนจะพองตัวและอ้าปาก พับตัวเข้าเพื่อเตรียมฉกสิ่งที่มารบกวน ซึ่งในบางครั้งก็จะแกล้งตายโดยการอ้าปากนอนหงายท้องและถ่ายอุจจาระออกมา ทำให้นักล่าหรือสิ่งที่มารบกวนเลิกสนใจ เป็นงูที่พบเจอได้ทั่วไป

ลักษณะ[แก้]

ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอมเทา มีลายเป็นทางยาวสีดำ 4 เส้นพาดจากส่วนคอแล้วค่อยๆจางไปทางกึ่งกลางลำตัว ส่วนหัวมีสีน้ำตาลแดง มีเส้นสีดำ 3 เส้นพาดแผ่เป็นรัศมีออกจากมุมตาด้านหลัง ลักษณะเด่นคือมักแกล้งทำเป็นตายเพื่อหลีกเลี่ยงศัตรูเมื่อสู้ไม่ไหว หรือขู่ศัตรูโดยการทำคอแบนเข้าทางด้านข้างและขยายกว้างเป็นทางยาว พร้อมกับยกหัวและส่วนต้นประมาณหนึ่งในสี่ของความยาวลำตัวให้สูงขึ้นเป็นวงโค้งเหมือนสปริง และพุ่งเข้าใส่ศัตรูอย่างว่องไวเพื่อฉกกัด แต่จะกัดไม่ค่อยโดน

การกระจายพันธุ์และอาหาร[แก้]

พบทั่วไปในประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม จีน ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา บังคลาเทศ ภูฏานและบางส่วนของประเทศญี่ปุ่น อาหารของมันคือ หนู กบ นก กระรอก กระแต กิ้งก่า จิ้งจกและตุ๊กแก เป็นต้น

พฤติกรรมและการสืบพันธุ์[แก้]

เป็นงูออกหากินในเวลากลางวันตามป่าหญ้ารกและบนต้นไม้ บางทีพบตามยุ้งข้าว บนบ้าน ปกติไม่ดุ ถ้าตกใจและเข้าใกล้จะแว้งกัด เวลาขู่จะพองหนังคออ้าปากดูน่ากลัว ผสมพันธุ์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม หรือตลอดทั้งปี ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ 5 – 12 ฟอง ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกรกฎาคม และฟักเป็นตัวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 11.0 – 12.4 กรัม และความยาว 44 – 46 เซนติเมตร  

สถานภาพปัจจุบัน[แก้]

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.biolib.cz/en/taxon/id58575/ (Retrieved Feb. 18, 2010.)