คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การแก้ความกำกวม

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แก้ความกำกวมกรณีหน่วยงาน[แก้]

ข้อความต่อไปนี้ย้ายมาจาก พูดคุย:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประเทศไทย)
  1. สำหรับบทความนี้
    ผมไม่แน่ใจว่ามันจำเป็นไหมที่ต้อง (ประเทศไทย) ต่อท้าย บทความอย่างกระทรวง หรือ กรรมการการเลือกตั้ง ผมเห็นด้วยว่าควรมีประเทศไทยต่อท้าย เพราะเป็นชื่อสามัญ ประเทศไหนๆ จะมีหน่วยงานชื่อเช่นนั้นก็ได้
    แต่สำหรับบทความนี้รู้สึกว่าไม่ใช่ครับ เลยต้องขอความเห็น/ตัวอย่างด้วย การที่ใส่วงเล็บประเทศไทย แล้วลบหน้าเปลี่ยนทางออกอาจจะมีผลต่อการเข้าชมพอสมควรนะครับ
    --taweethaも 06:07, 7 มกราคม 2553 (ICT)
  2. "คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" มีในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ในหลาย ๆ รัฐของสหรัฐอเมริกา อินเดีย ไนจีเรีย ญี่ปุ่น โดยแต่ละที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษต่าง ๆ กันในคำ แต่แปลเป็นอย่างเดียวกัน เช่น
    • Basic Education Commission (BEC)
    • Basic Education Board (BEB)
    • Commission on Basic Education (CBE)
    • State Board of Basic Education (SBBE)
    • State Universal Basic Educational Board (SUBEC)
    • Universal Basic Educational Commission (UBEC)
    —— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๓.๐๑.๐๖, ๐๖:๔๔ นาฬิกา (ICT)
  3. ขอบคุณครับ
    ชัดเจนเลยครับว่าถ้าเอามาแปลกเป็นไทยแล้วจะต้องใช้ชื่อเดียวกันหรือคล้ายกันแน่นอน แต่ปกติแล้วชื่อเหล่านี้มักไม่ถูกแปลและถูกเรียกเป็นไทยหรือเปล่าครับ
    อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือ ชื่อนี้ให้เป็นชื่อเฉพาะในภาษาไทย ไม่มีวงเล็บประเทศไทย เพราะเป็นความหมายหลัก ส่วนประเทศอื่นๆ มีวงเล็บประเทศต่อท้าย และทำหน้าแก้ความกำกวมต่างหาก
    ผมไม่ซีเรียสครับ เพียงแค่สงสัยว่าเราควรวางมาตรฐานอย่างไรหรือไม่ครับ ถ้าได้มาตรฐานที่ยอมรับกันได้แล้ว ก็จะลุยแก้ชื่อบทความที่ไม่ถูกต้องให้หมดในคราวเดียว
    --taweethaも 07:23, 8 มกราคม 2553 (ICT)
  4. ผมก็เข้าใจว่า
    บทความ "คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ของประเทศต่างๆ มักจะไม่ถูกแปลเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีการเติม (ประเทศไทย) เข้าไป แต่ถ้าดูบทความในภาษาไทยแล้ว มีบทความ "สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)" เพียงบทความเดียวเท่านั้น
    ในทัศนของผมคิดว่า ควรเติมเฉพาะหน่วยงานที่บทความภาษาไทย ซ้ำซ้อนกับของประเทศอื่นๆ เท่านั้น
    --Pongsak ksm 12:43, 8 มกราคม 2553 (ICT)
  5. สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานเทียบเท่ากับระดับกระทรวง ผมจึงคิดว่าประเทศต่างๆ ก็มีหน่วยงานเช่นเดียวกันและแปลเป็นไทยบ่อยๆ ได้พอสมควร แต่ที่คุณ Pongsak ksm เสนอมาก็น่าคิดครับ
    --taweethaも 13:32, 8 มกราคม 2553 (ICT)

ขอสรุปตรงนี้ก่อนว่ามันต้องมีหน้าอะไรบ้าง

  1. กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. (ประเทศไทย)
  2. กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. (ประเทศ A)
  3. กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. (ประเทศ B)
  4. กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. (แก้ความกำกวม)
  5. กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. --> อธิบายว่าหน่วยงานนี้คืออะไร มีไว้ทำอะไรแบบสากล (อาจไม่จำเป็นต้องมี ถ้าในแต่ละประเทศมันใช้แค่ชื่อเดียวกัน แต่ทำคนละเรื่องกันไปจนไม่อาจเอามาเขียนรวมกันได้)

ปัญหาคือ เรากำลังชิงพื้นที่ บทความ "กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก" กันว่าควรจะใส่เนื้อหาอะไรลงไปดี ระหว่าง

# เนื้อหาที่จะใช้ชื่อ "กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก" เหตุผลสนับสนุน เหตุผลคัดค้าน กรณีศึกษา
1 กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. (ประเทศไทย)
  • เพราะว่าเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ค้นหาและต้องการข้อมูล ควรอยู่ในชื่อที่สั้นและง่ายที่สุด
  • บางชื่อเป็นชื่อเฉพาะที่ไม่ปรากฏที่อื่น หรือยังไม่มีการแปลชื่ออื่นมาใช้ภาษาไทยที่ตรงกัน
  • ชาตินิยม ไม่เป็นสากล ปิดกั้นการเรียนรู้ที่เป็นอิสระจากรัฐบาล
  • en:Department of Immigration and Citizenship (แปลเป็นไทยคงได้ว่า กรมการตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ) เป็นบทความของออสเตรเลียประเทศเดียว ไม่มีชื่อวงเล็บประเทศ
  • en:Department of state (ทำหน้าที่คล้ายกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ) โดนเปลี่ยนทางไปหน้า US Department of state เลย เพราะถือเอาว่าคนเข้าเยอะ ส่วน Department of State (Ireland) ซึ่งมีอีกความหมายหนึ่ง ใน Ireland ถูกเตือนไว้ด้านบน ไม่มีการทำหน้าเปลี่ยนทางแต่อย่างใด
2 กระทรวง ทบวง กรม สำนัก ก. (แก้ความกำกวม)
  • ยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพราะลิงก์ไปทุกๆ ที่ให้เลือก
  • ทำให้เข้าถึงบทความได้ยากขึ้น ต้องกดลิงก์ และอาจดูน่ารำคาญ
  • เป็นแนวทางที่นำมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในหลายประเทศ อาจตกลงกันไม่ได้ว่าจะเอาหน้านี้ใส่หน่วยของประเทศอะไร วิกิพีเดียภาษาไทยไม่จำเป็นต้องทำตาม เพราะภาษาไทยเป็นภาษาทางการของประเทศไทยเท่านั้น
3 คำอธิบายโดยกว้างๆ ของหน่วยงานหรือสิ่งที่กล่าวถึง
  • ยุติธรรมกับทุกฝ่ายเช่นกัน ไม่ดูน่ารำคาญอย่างหน้าแก้ความกำกวม
  • ให้ความรู้อย่างมีมุมมองสากลกับผู้อ่านได้
  • คำอธิบายอย่างกว้างๆ ไม่ใช่ว่าจะมีเสมอไป ถ้าปล่อยไว้ไม่ทำความเข้าใจให้ดี เดี๋ยวก็จะกลายเป็นเนื้อหาที่ซ้ำกับหน่วยงานในประเทศไทยไปในที่สุด
  • en:Ministry of Foreign Affairs (กระทรวงการต่างประเทศ) เปลี่ยนทางไปที่ en:Foreign minister (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) มีลักษณะเป็นบทความ ไม่ใช่หน้าแก้ความกำกวม แต่มีรายการลิงก์บทความของประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ยกกรณีศึกษามาเป็นประกอบด้วยกันไปเลยครับจะได้ชัดเจน ไม่ทราบว่าเราควรจะมีหลักการที่ชัดเจนอย่างไรจะได้ไม่งงกัน ถ้าได้ข้อสรุปเดี๋ยวจะได้แก้ให้ครบหมดทุกหน่วยงานเลย ใช้ Bot ทำก็ได้ถ้าจำเป็น

อนึ่งเสนอเพิ่มเติมว่าข้อสรุปควรนำไปเพิ่มเติมไว้ที่วิกิพีเดีย:การแก้ความกำกวมและวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความเพื่อเป็นหลักการต่อไป --taweethaも 13:44, 8 มกราคม 2553 (ICT)


ข้อคิดเห็นสำหรับแต่ละรูปแบบ (ควรใช้รูปแบบนี้แบบเดียว/ควรใช้โดยมีเงื่อนไขคือ.../ไม่ควรใช้เลย)
แบบที่ 1
แบบที่ 2
แบบที่ 3
ข้อคิดเห็นอื่นๆ (เช่น ใช้แบบใดก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับอย่างไร)
  • ความจริงแล้วหน้าแก้ความกำกวมสามารถอธิบายได้ในเวลาเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีแต่รายชื่อ ผมเห็นว่าแบบที่ 2 กับ 3 ไม่แตกต่างกัน ตรรกะในการทำหน้าแก้ความกำกวมคือ (1) ความหมายหลักให้อยู่ที่บทความหลักอันหนึ่ง (2) ความหมายรอง หรือไม่มีความหมายหลัก หรือชั่งน้ำหนักไม่ได้ ให้แก้ความกำกวม (3) รายชื่อบทความในหน้าแก้ความกำกวม ให้นำชื่อที่เป็นที่รู้จักหรือกล่าวถึงมากขึ้นก่อนถ้าเป็นไปได้ ; ผมไม่เห็นด้วยกับแบบที่ 1 จนกว่า เราจะมีบทความเรื่องเดียวกันของประเทศอื่นออกมา จึงค่อยใส่วงเล็บเพราะไม่มีบทความไหนเป็นบทความหลัก (ชั่งน้ำหนักไม่ได้) แต่ถ้าใส่วงเล็บไปแล้วก็ปล่อยไว้ก็ได้จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนทีหลัง (หลังจากการอภิปรายนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เปลี่ยนชื่อบทความอื่นรอไว้) --octahedron80 14:58, 8 มกราคม 2553 (ICT)
บางหน่วยงานมีชื่อของมันที่แตกต่างจากหน่วยงานที่มีหน้าที่คล้ายกันอยู่แล้ว เช่นตัวอย่างของคุณ Watcharakorn ส่วนหน่วยงานที่มีชื่อเหมือนกัน (หรือแปลแล้วเหมือนกันเป๊ะ) ขอเสนอให้เติมวงเล็บด้านหลังเพื่อระบุให้ชัดเจนครับ --Horus | พูดคุย 21:43, 15 มกราคม 2553 (ICT)