คุยกับผู้ใช้:Lovekit

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับทุกๆท่านนะครับ กระผมเองนั้นก็ยังใหม่อยู่สำหรับที่จะเขียนสารานุกรม ให้ได้ครบสมบูรณ์ความ
และกระผมยินดีรับข้อมูล,ความคิดเห็น ในทุกๆแนวทางครับผม แนะนำ,ติชม ได้ทุกเรื่องเลยนะครับ ติดต่อที่หน้าพูดคุยได้เลยครับ
หน้านี้ยินดีต้อนรับภาษาแชทครับ กล่องกรุอยู่ด้านล่างสุดนะครับ
ความชอบส่วนตัวของผู้ใช้
ผู้ใช้คนนี้ชอบเล่นหมากล้อมมากเป็นพิเศษ
ผู้ใช้คนนี้เล่นเปียโน

ชีวิตและความสนใจ
ผู้ใช้คนนี้มีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร
ผู้ใช้คนนี้เกิด ราศีกันย์
ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
ผู้ใช้คนนี้ มีความสนใจในเรื่อง กฏหมายรัฐธรรมนูญ และ รัฐธรรมนูญไทย
100ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
ปรัชญา
600ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี
800ตามระบบดิวอี้ ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่อง
วรรณกรรม วรรณคดี

ความถนัด
Ps ผู้ใช้คนนี้ปรุงโฉมประสมภาพด้วย
อะโดบี โฟโตชอป
Ir ผู้ใช้คนนี้เล่นแร่แปรธาตุเสกภาพมีชีวิตด้วย
อะโดบี อิมเมจเรดี้
สคริปต์จัดให้ รุ่นล่าสุด
วิกิพีเดีย:สคริปต์จัดให้/ความสามารถ#กล่องรุ่นสคริปต์จัดให้
10.721
9 ธันวาคม 2566 (ปรับปรุงล่าสุด)
สถานะการติดตั้ง
คุณยังไม่ได้ติดตั้งสคริปต์จัดให้
หรือใช้รุ่นเก่ากว่า 3.0
สถานะการทำงานของบอตคุง

บันทึกการทำงานอัตโนมัติครั้งล่าสุดเมื่อ
19 กุมภาพันธ์ 2024 14:06 (UTC+7) (เรื่องที่เขียน)
หยุดการทำงานไปมากกว่า 12 ชั่วโมง โปรดติดต่อผู้ควบคุม
วิกิพีเดีย:บาเบล
thผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่
en-2ผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับกลาง
This user can contribute with an intermediate level of English.
ผู้ใช้ตามภาษา
ความคิดเห็นและการใช้งานวิกิฯ
ผู้ใช้คนนี้คิดว่า กับ th แตกต่างกันสิ้นเชิง
และไม่ใช้ th ถอดเสียง ธ ในชื่อตัวเอง
ผู้ใช้คนนี้ชอบกล่องผู้ใช้
ผู้ใช้คนนี้ยอมรับการใช้ภาษาแชต
ผู้ใช้คนนี้ยินดีที่จะช่วยขัดเกลา
และตรวจแก้รูปแบบการใช้ภาษาไทย
ผู้ใช้คนนี้ติดตั้งและใช้งาน
สคริปต์จัดให้
ผู้ใช้นี้อยู่ในเขตเวลา UTC+7
22ผู้ใช้คนนี้อายุ 22 ปี
ผู้ใช้คนนี้เกิดวันที่ 07/OCT/1984

ภาษาคอมพิวเตอร์
ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียน HTML
ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียนภาษาพีเอชพี
จาวาสคริปต์ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียนจาวาสคริปต์
ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียน ภาษาจาวา
ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียนภาษาซี
ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียนภาษาซีพลัสพลัส
C#ผู้ใช้คนนี้สามารถเขียนภาษาซีชาร์ป
กรุข้อความ
coming soon กำลังศึกษาวิธีใช้อยู่ครับ

ระบบเลข[แก้]

ระบบเลขฐานสองที่เขียนเป็น 4 หรือ 8 หลักนั้น เน้นใช้ในด้านคอมพิวเตอร์ (ต่างจากจำนวนบิตในไบต์ที่ต่อมากลายเป็นมาตรฐาน) แต่จริงๆแล้วเลขฐานสองยังมีการใช้ในทางคณิตศาสตร์ซึ่งคิดค้นและใช้งานก่อนหน้าคอมพิวเตอร์นานมากครับ -- Lerdsuwa 17:43, 16 สิงหาคม 2007 (UTC)

ขออภัย ในความรู้อันน้อยนิด[แก้]

เข้าใจแล้วครับ วันนั้นง่วงมากๆ เพราะกำลัง รวบรวมข้อมูลเลข ฐาน 16 จนถึงตี 2นู่นแน่ะครับ

จนลืมไปว่า ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการใช้ระบบเลขฐาน 2 ในการส่งสัญญาณ รหัสมอร์ส และใช้ส่ง ครั้งละ 1-6 จุด(digit) ต่อ 1 ตัวอักษร แล้วแต่การเข้ารหัส

แต่ก่อนหน้านั้น ไม่เคยพบว่าใช้ทำอะไร และอย่างไรเลยนะครับ จากที่ได้ร่ำเรียนมา(แต่ผมก็ยังเด็กนัก)

ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากจะทราบ รายละเอียดการใช้เลข ฐาน 2 ในอดีตจะได้ใหมครับ ?

ไม่ได้จะลองภูมิ หรืออะไรแบบนั้นนะครับ แต่อยากทราบจริงๆ เพราะผมเป็นคนขี้สงสัยครับ


.......................................ผิดพลาดประการใด ขอความกรุณาอภัยให้กันด้วยครับ



ปล. กระผมไม่ได้บอกว่า บทความเก่ามันผิดหรอกนะครับ แต่ที่ผมแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล ณ.ปัจจุบันครับผม (อีกอย่าง คอมพิวเตอร์ มีอยู่ทุกหนแห่งครับ เพราะถ้าจะคิดถึงรากฐานต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ ก็ถือกำเนิดจากหลอดแก้วสุญญากาศ 3 ขาที่ใช้ไฟฟ้ายิงประจุอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน และสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาก็มิใช่อะไรไกลตัว ทรานซิสเตอร์นั่นเอง[1]

และแน่นอน มีทรานซิสเตอร์อยู่ในอุปกรณที่ใช้ไฟฟ้าทุกชนิด โดยเฉพาะขนาดเล็กพิเศษที่อยู่ใน CPU[2]

ดังนั้น การที่จะบอกว่า อุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีทรานซิสเตอร์ ก็คือคอมพิวเตอร์(ขนาดย่อม)นั่นเอง และมันทำงานด้วยรหัสเลขฐาน2[3])

       ต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับผม

...................................................................--นายการ์ตูน 21:02, 21 สิงหาคม 2007 (UTC)

ผมเพียงเสนอความเห็นว่าเลขฐานสองเป็นพื้นฐานของความรู้หลาย ๆ ด้านครับ จึงไม่ควรมองเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ด้านเดียว ลองดูบทความ en:Binary numeral system ในวิกิภาษาอังกฤษจะเห็นว่า Leibniz คิดระบบเลขฐานสองที่เขียนแบบเดียวกับปัจจุบันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 พีชคณิตแบบบูล ก็คิดเมื่อ ค.ศ. 1854 ครับ ทางคณิตศาสตร์อาจไม่คุ้นเคยกันเพราะนักคณิตศาสตร์เขาศึกษาต่อยอดจากระบบฐานสองไปเป็นทฤษฎีที่ค่อนข้างลึก และไม่ค่อยได้เรียนกัน เช่น เรื่อง en:Finite field (เกี่ยวกับเลขฐานที่เป็นจำนวนเฉพาะ เช่น 2, 3, 5, 7, ...) ซึ่งพัฒนาจนปัจจุบัน ใช้ในการเข้ารหัส (encryption) และเรื่อง error correction (เช่น ใช้ในแผ่นซีดี มีรอยขูดขีดนิดหน่อยเครื่องก็ยังอ่านข้อมูลได้) (ป.ล. ผมก็จบวิศวกรรมไฟฟ้าครับ พวกเรื่องอิเล็คทรอนิกส์ก็คุ้นเคยดี :) --Lerdsuwa 06:18, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)


ขอบคุณครับ ที่ช่วยแก้ข้อสงสัย แต่ผมก็ยังอยากรู้อยู่ดี ว่าเค้าสร้างมันขึ้นมาเพื่ออะไร พอจะรู้อยู่ว่า ช่วงยุคนั้นเป็นยุคที่เรียกว่า ยุคแห่งการคิดค้น จึงไม่แปลกที่จะมีใคตรค้นพบ ทฤษฎีอะไรใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ๆในโลก แต่เค้าคิดมาแล้ว เค้าเอาไปทำอะไรในตอนนั้น ผมสงสัยมากเลยครับ

จะขอยกตัวอย่างที่ตัวเลขฐาน 2 นี่แหละครับ การที่ผู้ใดคิดค้นอะไรซักอย่างนึงขึ้นมา ในยุควิทยาศาสตร์เฟื่องฟูนั้น หากทำการแถลงการหรือบรรยายการค้นพบของตน และแนวโน้มที่ว่ามันจะมีประโยชน์อย่างไร หรือจะใช้อะไรได้บ้าง มันจะไม่ได้รับการยอมรับนะครับ เท่าที่ผมทราบ --นายการ์ตูน 18:15, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
นักคณิตศาสตร์ชอบศึกษาพวกความสัมพันธ์หรือคุณสมบัติต่าง ๆ แทนที่จะเป็นตัวเลขธรรมดา ลองทำเป็นตัวเลขเชิงซ้อน หรือ เมตริกซ์ ดูว่า คุณสมบัติการบวก ลบ คูณ หาร ฯลฯ เปลี่ยนไปเป็นยังไง เช่น เมตริกซ์ A*B ไม่เท่ากับ B*A ยกเว้นบางกรณี ซึ่งก็ไปศึกษากันต่อเขียนเป็นเงื่อนไข ว่าเมื่อไหร่ถึงจะเกิด A*B = B*A
การศึกษาพวกเลขฐานสองหรือฐานอื่น ๆ ก็คงแบบเดียวกันครับ มีการคำนวณอย่างนึงที่คิดว่าสำคัญ ก็คือการคำนวณโมดูโล ซึ่งมีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมายกลายเป็นวิชา finite field ไป ยกตัวอย่าง เรื่องหนึ่งที่ศึกษาในวิชานี้ ก็เช่น โพลิโนเมียล เช่น แบบเดียวกับที่เรียนสมัยมัธยม แต่ตอนนี้ เป็นเลขฐานสองหรือฐานอื่น ๆ เป็นต้นครับ -- Lerdsuwa 06:43, 23 สิงหาคม 2007 (UTC)

อ้างอิง[แก้]

  1. ทรานซิสเตอร์
    • ทรานซิสเตอร์ ได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้แทนหลอดสุญญากาศก็ด้วยเหตุที่ว่า
      • 1 ขนาดเล็กกว่า
      • 2.กินไฟน้อยกว่า
      • 3.ทนทานต่อการใช้งานดีกว่า
    ทรานซิสเตอร์ประกอบด้วยการนำสาร 2 ชนิดมาประกอบกันคือสารชนิด p กับ n สามารถแยกชนิดได้เป็น 2 ประเภทคือ pnp และ npn
    มีขาต่อใช้งาน 3 ขาคือ c,b,e การนำแต่ละชนิดไปใช้งานขึ้นกับความเหมาะสมว่าต้องการใช้ในงานลักษณะใดซึ่ง เรียกการนำชนิดขาไปใช้งานว่า common เช่น common b คือนิยมใช้ในการขยายแรงดันเราลองสังเกตดูว่าทรานเตอร์แบบเก่ากับแบบใหม่เหมือนกันคือมี 3 ขา แต่รูปร่างของใหม่มันพัฒนาไปให้เล็กขึ้นเป็นแบบแผนมากขึ้นเช่นทรงกระบอกเพื่อประโยชน์สะดวกในการใช้ครับผม

  2. Central Processing Unit หรือหน่วยประมวลผลกลาง
    • ทำหน้าที่เป็นตัวประมวลผล โดยคำนวณจากชุดคำสั่งที่ส่งเข้ามา ด้วยรหัสเลข ฐาน 2 และตอบกลับด้วยเลขฐาน 2 เช่นกัน 1=true,0=false

  3. รหัสเลขฐาน 2
    • ทำไมต้องใช้รหัสนี้คำนวณ เพราะว่าคอมพิวเตอร์ คำนวณได้แค่ "ถูก" หรือ "ผิด" โดยใช้สัญญาณไฟฟ้า
    • สัญญาณนาฬิกาและพัลส์
    ในระบบดิจิตอลที่การทำงานต่างๆเปลี่ยนไปตามเวลาจะใช้สัญญาณนาฬิกา (Clock) เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของระบบซึ่งเป็นสัญญาณที่มีค่าลอจิกกลับไปกลับมา (เปลี่ยนจากลอจิก "0" เป็นลอจิก "1" เปลี่ยนจาก ลอจิก "1" เป็นลอจิก "0") โดยสัญญาณนาฬิกาจะเป็นสัญญาณที่มีค่าคาบเวลาออกมาเป็นเวลาที่แน่นอน (Periodic) หรือมีความถี่คงที่ค่าหนึ่ง ส่วนสัญญาณพัลส์ (Pulse Signal) จะเป็นสัญญาณที่ส่งออกมาในช่วงเวลาสั้นๆเวลาหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้ระบบทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสัญญาณพัลส์จะมีพัลส์แบบบวก (positive-pulse) ที่สัญญาณเปลี่ยนจากลอจิก "0" เป็นลอจิก "1" และพัลส์แบบลบ (negative-pulse) ที่เปลี่ยนจาก ลอจิก "1" เป็นลอจิก "0"


signal
EX.สัญญาณนาฬิกา (คลิกเพื่อขยาย)
สัญญาณนาฬิกาครับ
ทดลองอ่านดูสิไม่ยากหรอก
ลองอ่านดูสิ ไม่ยากหรอก
ตรงกลางคือสัญญาณนาฬิกา
CLK = สัญญาณนาฬิกา ลูกศรชี้ขึ้น หมายความว่า ให้อ่านค่าที่ขอบขาขึ้น
ให้อ่านเล่นๆ
ใครอ่านเก่งแล้ว ลองอ่านดูนะครับ เดี๋ยวจะแอบเฉลยไว้ให้อย่าแอบดูล่ะ










ยินดีต้อนรับ[แก้]

สนับสนุนให้ทุกคนแก้ไขวิกิพีเดีย

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย ถ้ายังใหม่กับวิกิพีเดียแนะนำให้เริ่มอ่านได้ที่วิกิพีเดีย:เริ่มต้น นอกจากนี้ขอแนะนำ (1) ส่วนประกอบต่างๆ ของวิกิพีเดียอยู่ที่ "ศาลาประชาคม" จากเมนูด้านซ้ายมือ (2) วิธีการใช้งานอยู่ที่ ช่วยเหลือ หรือจากเมนูด้านซ้ายมือเช่นกัน ถ้าเริ่มต้นสามารถดูวิธีใช้ได้ที่ วิกิพีเดีย:วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน และ วิกิพีเดีย:นโยบาย คำถามหรือข้อสงสัยสามารถพูดคุยกับคนอื่นได้เช่นกันครับ ถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นที่ไหนลองแวะดูได้ที่ วิกิพีเดีย:คุณช่วยเราได้ เพิ่มเติมจากนี้สามารถแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาวิกิพีเดียได้ที่ วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (แสดงความเห็นได้ทุกคนแม้ว่าจะเป็นคนใหม่) และเวลาลงชื่อ ให้พิมพ์ ~~~~ (~ สี่ตัว) หรือกดไอคอน ที่เป็นเครื่องหมายลายเซ็นจากแถบเครื่องมือได้เช่นกันครับ มีคำถามอะไรสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน ถามเพิ่มได้ครับ โดยอาจจะถามไว้ที่หน้าพูดคุยของแต่ละคนครับ อย่าลืมแวะไปที่ โรงเรียนเตรียมพร้อมวิกิ (หน้าช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้ใหม่) และ หน้าวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขครับ ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทยครับ --Manop | พูดคุย 17:50, 16 สิงหาคม 2007 (UTC)

ข้อความที่ใช้[แก้]

สวัสดีครับ แนะนำนิดหน่อยในการเขียนสารานุกรมนะครับ พยายามไม่ใช้สรรพนาม (เรา,คุณ) และคำลงท้าย (ครับ) ขอบคุณครับ --Manop | พูดคุย 17:46, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)


รับทราบครับผม ต่อไปจะระวังนะครับ ขอบคุณที่คอยตักเตือนนะครับ --นายการ์ตูน 18:06, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)

ภาษา[แก้]

คุณอาจจะยังไม่รู้ก็ได้ ตอนนี้เรามีหลักเกณฑ์การทับศัพท์อยู่แล้วครับ ซึ่งเป็นข้อตกลงในวิกิพีเดีย ไม่ต้องมานั่งเถียงกัน ไปอ่านตามนี้

การเขียนคำทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน

ส่วนคำทับศัพท์อื่นๆ ที่ใช้บ่อยก็จะมีรวบรวมไว้ใน คำทับศัพท์หมวด A ฯลฯ

หรือค้นศัพท์บัญญัติจากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถานเมื่อต้องการแปลบทความจากวิกิภาษาอื่นก็ดี

สามารถช่วยแปลศัพท์เทคนิคได้อย่างมากโดยไม่ต้องใช้การทับศัพท์ --Octahedron80 20:42, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)

เขาไม่ได้ทำแล้วจบนะครับ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ไม่นานหรอกครับ อย่างภาษาฮินดีกับภาษาจีนก็เพิ่งออกปีนี้เอง สำหรับการทับศัพท์ภาษาอังกฤษในวิกิคงยังไม่ได้อัปเดต แต่ดูของใหม่ได้ที่เว็บราชฯ เลยครับ [1] --Octahedron80 20:58, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)

ภาษาอื่นที่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ที่มี หรือมีคำอ่านเฉพาะที่อ่านไม่ออก ถ้าเป็นผมผมจะใช้ IPA ในการแสดงเสียงให้ออกมาเป็นรูปธรรม (ก็ค้นเอาจากวิกิภาษาอื่น) ซึ่งนั่นแหละเป็นคำอ่านที่ถูกต้องที่สุด จากนั้นจึงจะมาเทียบว่ามันตรงกับเสียงใดมากที่สุดก็ใช้ตัวนั้นเมื่อจำเป็นต้องทับศัพท์ แต่เราจะมาบ่นอะไรกัน? ในเมื่อมีกฎเกณฑ์แล้ว ก็ใช้ตามกฎเกณฑ์ไปสิครับ เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ไม่เป็นสองมาตรฐาน --Octahedron80 21:15, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)

แล้วจะไม่ลองเขียนหน้าผู้ใช้ของตัวเองบ้างเหรอครับ เอาไว้บรรยายสรรพคุณว่า คุณรักกิต เชี่ยวชาญอะไรบ้าง หรือสนใจในเรื่องอะไรบ้าง :D--Octahedron80 21:21, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)

ตอบครับ[แก้]

เว็บราชฯ คือที่แรกที่ผมเข้าไปหาข้อมูลอ้างอิงครับ แต่แล้วก็ ... นะครับ อย่างที่รู้กัน ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ถ้าจะเทียบเสียงจริงๆ ภาษาอังกฤษเอง เค้าก็มีอักษรที่เอาไว้ใช้บอกคำอ่านนะครับ ในพวกพจนานุกรม แปล อังกฤษ - อังกฤษ จะมีครับ

อ๋อๆๆๆ ผมนึกออกแล้วครับ เค้าเรียกว่า Pictograph ครับ เหมือนคำสะกดของบ้านเราน่ะครับ

บ้านเราใช้ --> "อนุสัญญาระหว่างประเทศ" ตัวอ่าน(อะ-นุ-สัน-ยา-ระ-หว่าง-ประ-เทด)

ของอังกฤษเองเค้าก็มีครับ ไว้จะหารูปมาให้ดูนะครับ

ผมไม่ได้กำลังเถียงหรอกนะครับ ขออภัยจริงๆถ้าทำให้เข้าใจผิด ผมเป็นคนช่างซักน่ะครับ

ที่พูดมาทั้งหมดเนี่ยไม่ใช่อะไรหรอกนะครับ แค่จะบอกว่า มันเขียนได้หลายแบบ อย่าไปตั้งกฏเกณฑ์ให้ลำบากกันเลยดีกว่าครับ

มันดีถ้าจะมีมาตรฐาน แต่ก็สมควรที่จะรองรับ ในหลายๆรูปแบบต่อ 1 คำ ไม่ใช่รูปแบบตายตัวสถานเดียวน่ะครับ นี่คือความคิดผม

  • ขออภัยต่อทุกวาจาที่อาจจะมีล่วงเกินครับ โปรดอภัยให้ผมด้วย ผมไม่มีเจตนาร้ายเลยครับ --นายการ์ตูน 21:22, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
ไม่ตั้งกฎเกณฑ์ไม่ได้ครับ การทับศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดียด้วย คือ วิกิพีเดีย:คู่มือในการเขียน และ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ ถ้าหากไม่มีการกำหนดไว้ ต่างคนต่างเขียนจะไม่เป็นเอกภาพ โต้เถียงกันก็ไม่มีข้อยุติเพราะจะเอาแต่เหตุผลของตัวเอง และเปลี่ยนชื่อบทความไปๆ มาๆ มันก็เละสิครับ ดังที่คุณจุติพังค์กล่าวไว้ว่า "การเขียนรูปแบบ A นั้นเป็นนโยบาย แต่คุณใช้วิธี B และ C ไม่ผิดจริง แต่ไม่ตรงกับนโยบายจึงแนะนำให้ใช้วิธี A เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน" เป็นบรรทัดฐาน เรื่องคำอ่านเทียบอังกฤษไม่ต้องหามาให้ดูครับ ผมเคยเห็นจาก dictionary.com --Octahedron80 02:42, 23 สิงหาคม 2007 (UTC)

สคริปต์จัดให้ บอตคุง การแก้ไขคำ[แก้]

สวัสดีครับ เริ่มแรกรบกวนให้ลงชื่อตามชื่อผู้ใช้คุณด้วยครับ บางคนอาจจะไม่งง แต่ผมสับสน และอาจถือว่าเป็นการ impersonate ได้ซึ่งหากต้องการเปลี่ยนชื่อ รบกวนให้แจ้งได้ที่ วิกิพีเดีย:เปลี่ยนชื่อผู้ใช้ ครับผม ส่วนเรื่องสคริปต์จัดให้ และบอตคุงนั้น ผมได้ตอบกลับที่หน้าผู้ใช้ผมแล้วนะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 23:21, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)

แล้วก็ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทยครับ เรามีหลายอย่างมากที่ต้องการความช่วยเหลือ ต้องเข้าใจว่าทุกอย่างและทุกคนนั้นเป็นอาสาสมัครกันหมดครับ มีอะไร ปัญหาอะไร เรื่องอะไร ต้องการเสนอแนะ ก็ยินดีมาพูดคุยกับผม หรือคนอื่นๆได้ตลอดครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 23:38, 22 สิงหาคม 2007 (UTC)
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ และการต้อนรับอย่างอบอุ่นครับ --นายการ์ตูน | ถามตอบ 18:43, 23 สิงหาคม 2007 (UTC)

สคริปต์จัดให้ ยินดีให้บริการคุณ[แก้]

สวัสดีครับ และขอยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย ผมเห็นคุณได้ทำการติดตั้งสคริปต์จัดให้ ซึ่งผมหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากความสามารถเสริมที่เพิ่มขึ้นมา

  • อย่าลืมตั้งค่าตามความต้องการ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้งานสคริปต์จัดให้ได้อย่างราบรื่นที่สุด
  • อยากจะทดลองใช้งาน? ลองได้ที่หน้ากระบะทราย
  • เพื่อให้แน่ใจว่าคุณใช้รุ่นล่าสุด คุณอาจสนใจที่จะใส่กล่องแจ้งสถานะสคริปต์จัดให้ที่หน้าผู้ใช้ หรือหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณ หรือสามารถตรวจสอบได้จากหน้าหลักสคริปต์จัดให้ได้เช่นกัน

หากมีปัญหาการใช้งาน ข้อสงสัย ต้องการแนะนำ หรือปรึกษาการใช้งาน พูดคุยกันได้ทุกเมื่อครับ เรื่องอื่นก็แวะมาคุยได้เช่นกันครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 19:48, 23 สิงหาคม 2007 (UTC)

การทับศัพท์[แก้]

สวัสดีครับ พอดีเห็นคุณ Lovekit สนใจในเรื่องการทับศัพท์ในวิกิพีเดีย อาจจะลองดูเพิ่ม พูดคุย และเสนอความเห็นได้ที่ วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ ครับ --Manop | พูดคุย 21:39, 26 สิงหาคม 2007 (UTC)

ประกาศโรคมะเร็ง[แก้]

สวัสดีครับ ผมลบประกาศออกแล้วนะครับ --Manop | พูดคุย 05:51, 21 กันยายน 2007 (ICT)

คุณสามารถเขียนในบทความ มะเร็ง ได้โดยไม่ต้องประกาศไว้บนส่วนหัวครับ โดยเขียนอธิบายพร้อมแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ (ไม่รวม fwd mail) แล้วก็อีกอย่างคำว่า "โอกาส" สะกดใช้ ส.เสือ ครับ --Manop | พูดคุย 05:54, 21 กันยายน 2007 (ICT)

สคริปต์จัดให้ ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ![แก้]

ขอขอบคุณที่ได้ใช้ และสนับสนุนสคริปต์จัดให้ตลอดมา ล่าสุดในรุุ่น 5.5 ทางเราได้เพิ่มความสามารถบริหารหมวดหมู่ พัฒนาเก็บกวาด โดยเพิ่มความสามารถอย่าง ย้ายโครงไปหลังหมวดหมู่ ปรับรูปแบบ ลบช่องว่าง เพิ่มช่องว่างระหว่างวงเล็บ และหลายๆอย่างเพื่อให้สคริปต์จัดให้ดีขึ้น ฉลาดขึ้น และช่วยเหลือคุณได้มากกว่าเดิม

วันนี้ผมมีความยินดีจะแจ้งให้คุณทราบว่าเราได้เริ่มโครงการกวาดล้างสระซ้อน ซึ่งสระซ้อนเป็นหนึ่งในปัญหาที่ได้เกิดขึ้นมาเวลานาน และด้วยวินโดวส์วิสตาที่ทำให้สามารถสังเกตเห็นสระซ้อนได้ชัดเจนขึ้น ทางสคริปต์จัดให้ ร่วมกับบอตคุง จึงได้เริ่มโครงการดังกล่าว เพื่อรวบรวมตัวอย่างรูปแบบสระซ้อนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาสคริปต์ และโค้ดสำหรับการตรวจจับ และแก้ไข โดยมีเป้าหมายให้สามารถตรวจและแก้ไขได้อย่างน้อย 80% ของกรณีทั้งหมด คุณสามารถช่วยเราได้ ง่ายๆ เพียงแค่คัดลอกข้อความที่คุณพบเจอสระซ้อน หรือแจ้ง ยกตัวอย่างข้อความ หรือรูปแบบที่คุณเคยเจอก่อนหน้านี้ มาใส่ไว้ที่หน้าโครงการ ความช่วยเหลือของคุณจะช่วยพัฒนาสคริปต์จัดให้ สามารถแก้ไขปัญหาสระซ้อนได้ดีขึ้นกว่าเดิม สุดท้าย หากคุณมีปัญหา มีคำแนะนำ หรืออย่างไรก็อย่าลืมแวะมาคุยกันได้นะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 08:58, 20 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

สคริปต์จัดให้ 6.0[แก้]

สวัสดีครับ และขอถือโอกาสนี้สวัสดีวันขึ้นปีใหม่ไทย ซึ่งเป็นช่วงสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงพอดี เนื่องในโอกาสนี้ ผมมีความยินดีที่อัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับสคริปต์จัดให้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการออกความสามารถใหม่หลักๆหลายอย่างด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสรุปสิ่งที่คุณทำ บริหารหมวดหมู่รวดเร็ว รวมถึงความสามารถเก็บกวาดที่ได้รับการพัฒนาตลอดขึ้นมา ซึ่งล่าสุดได้รวมการเก็บกวาดสระซ้อน ซึ่งเป็นไปได้เนื่องจากความร่วมมือของทุกท่านในโครงการสระซ้อน ซึ่งปัจจุบันยังเปิดให้เพิ่มกรณีที่สคริปต์จัดให้รุ่นปัจจุบันไม่รองรับ เพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป

วันนี้ผมมีความยินดีที่จะแจ้งว่าสคริปต์จัดให้ 6.0 ได้ออกแล้ว โดยมีความสามารถอย่างป้ายเมนู ที่ได้มีความต้องการตั้งแต่สคริปต์จัดให้เปิดใหม่ 1-2 ปีที่ผ่านมา จนในที่สุดผมก็สามารถพัฒนาจุดนี้ให้รองรับเบราว์เซอร์ไออี และไฟร์ฟอกซ์ได้อย่างไม่มีปัญหา เกี่ยวกับเบราว์เซอร์ ทางสคริปต์จัดให้ได้เพิ่มความต้องการขั้นต่ำ โดยผมแนะนำให้ทุกท่านอัปเดตไปใช้ไออี 7.0 หรือไฟร์ฟอกซ์ 2.0 หรือสูงกว่าเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และราบรื่นมากที่สุด นอกจากป้ายเมนูแล้ว ผมยังได้เพิ่มความสามารถทับศัพท์ โดยมีเป้าหมายทั้งผูใช้เก่าและผู้ใช้ใหม่ ซึ่งทับศัพท์จะเรียกดึงข้อมูลจากคำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดียโดยตรง ณ เวลาที่คุณเรียกใช้ ซึ่งยังหมายความว่าทุกคนสามารถเพิ่ม แก้ไข หรือลบคำทับศัพท์บนวิกิพีเดีย และจะมีผลต่อความสามารถทับศัพท์ทันที

เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ใหม่ในการติดตั้งสคริปต์จัดให้ ผมยังได้ทำวิดีโอสาธิตการติดตั้ง ซึ่งตรงนี้หวังว่าจะช่วยผู้ใช้ใหม่ที่สับสนได้ขึ้นเยอะ ใครสนใจก็สามารถเปิดที่นี่ครับ ขอบคุณทุกท่านครับที่ใช้สคริปต์จัดให้ และให้ความสนับสนุนตลอดมา หากมีคำถาม ข้อสงสัย ปัญหาการใช้งาน หรือมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ทุกเมื่อที่หน้าพูดคุยนะครับผม สุดท้ายแล้วขอให้มีความสุขช่วงสงกรานต์นะครับ แม้คุณจะหยุด แต่สคริปต์จัดให้ไม่หยุดให้บริการคุณ --Jutiphan | พูดคุย - 10:59, 11 เมษายน 2551 (ICT)

สคริปต์จัดให้ 6.5[แก้]

สวัสดีครับ ขณะนี้ได้ผ่านมาแล้ว 2 เดือนกว่าหลังจากที่สคริปต์จัดให้ได้ออกรุ่น 6.0 ในช่วงสงกรานต์ซึ่งมีความสามารถใหม่อย่างปุ่มทับศัพท์ ในโอกาสนี้ผมขออัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับสจห.อีกครั้ง ใช่แล้วละครับ สจห. คือชื่อย่อใหม่สำหรับสคริปต์จัดให้ โดยตั้งแต่รุ่น 6.5 เป็นต้นไป ผมได้เปลี่ยนข้อความในคำอธิบายอย่างย่อให้แสดงแค่ชื่อย่อเท่านั้น ซึ่งผมเชื่อว่าผู้ใช้สจห. ทุกท่านคงต้อนรับการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ใดสนใจต้องการให้แสดงด้วยสคริปต์จัดให้เหมือนเดิม กรุณาแจ้งให้ผมทราบ เพื่อที่จะได้เพิ่มตัวเลือกดังกล่าวไปในการปรับแต่งสคริปต์จัดให้

ผมขอแนะนำความสามารถใหม่ในรุ่น 6.5 คือ คั่นหน้า ซึ่งเปิดให้คุณระบุหน้าที่ต้องการให้แสดงในกล่องคั่นหน้าด้านซ้ายมือ ซึ่งจะเป็นกล่องเหมือนกล่องสคริปต์จัดให้ที่เพิ่มให้คุณในปัจจุบัน โดยกล่องคั่นหน้าจะแสดงผลหลังจากกล่องสคริปต์จัดให้ แต่ก่อนหน้ากล่องข้ามภาษา คุณอาจไม่เห็นกล่องคั่นหน้าที่ผมพูดถึง โดยสคริปต์จัดให้จะไม่แสดงผลหากคุณไม่มีหน้าระบุในคั่นหน้า โดยปัจจุบันคุณสามารถระบุได้มากสุดถึง 5 หน้าด้วยกัน สำหรับรายละเอียดการใช้งาน และการปรับแต่ง เชิญดูวิธีได้ที่หน้านี้เลยครับ นอกจากนั้นแล้ว ผมยังขอแจ้งให้ทราบว่าคุณยังสามารถปรับแต่งเลือกแสดงผลป้ายแจ้งโครงการวิกิเฉพาะป้ายที่คุณต้องการได้ หรือเลือกไม่แสดงเลย เพราะผมเข้าใจดีว่าโครงการวิกินั้นมีเพิ่มขึ้นมาเยอะ และหวังว่าคุณจะได้ประโยชน์จากตัวเลือกปรับแต่งนี้

สุดท้าย สคริปต์จัดให้ได้เปิดให้คุณสามารถย้อนการแก้ไขที่มีเจตนาดีของบอตได้ นอกจากนั้นอย่าลืมว่าในความสามารถย้อนเจตนาดี และย้อน ที่แสดงในหน้าเปรียบเทียบระหว่างรุ่นนั้น เวลาคุณเลือกย้อนการแก้ไขของบอต สคริปต์จัดให้จะถามให้คุณเลือกว่าต้องการย้อนการแก้ไขของบอต หรือการแก้ไขของบุคคลก่อนหน้านี้ ซึ่งตรงนี้จะเป็นประโยชน์ในกรณีอย่างการย้อนการแก้ไขของผู้ใช้ก่อนหน้าที่ทีบอตช่วยลงชื่ออัตโนมัติเป็นต้น ผมขอขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่ใช้สคริปต์จัดให้ และให้ความสนับสนุนตลอดมา หากมีคำถาม ข้อสงสัย ปัญหาการใช้งาน หรือมีข้อเสนอแนะ สามารถแจ้งได้ทุกเมื่อที่หน้าพูดคุยนะครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 14:40, 30 มิถุนายน 2551 (ICT)

สวัสดีปีใหม่ 2010[แก้]

สวัสดีปีใหม่ 2010 ครับ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายดลบันดาลให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่ การงาน มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง รวมถึงมีเวลาและกำลังใจที่จะช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์วิกิพีเดียต่อไปครับ เนื่องในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณที่ยังได้ให้ความไว้วางใจการทำงานของบอตคุง ทีบอต และเจบอต ซึ่งปัจจุบันมีการแก้ไขมากกว่า 160,000 ครั้ง และได้ช่วยย้อนการก่อกวนมากกว่า 4,000 ครั้ง ซึ่งเราจะไม่หยุดยั้งเพื่อช่วยคุณให้แก้ไขวิกิพีเดียได้อย่างสบายใจ และไม่ต้องกังวลกับการก่อกวน หรืองานที่จำเจ เบื่อหน่ายที่เราทำให้คุณทุกนาทีทุกวันทุกเวลาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากผมหรือบอตเองทำอะไรให้คุณไม่พอใจ ก็ขออภัยด้วยครับและขอให้คุณให้โอกาสเราในปี 2010 นี้ใหม่อีกครั้ง สวัสดีปีใหม่ครับ --Jutiphan | พูดคุย - 15:11, 1 มกราคม 2553 (ICT)