อภิธานศัพท์การเมืองไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คืนหมาหอน)

ต่อไปนี้เป็นอภิธานศัพท์การเมืองไทย

รายชื่อ[แก้]

  • คืนหมาหอน, คืนสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง มีความสำคัญในแง่ว่าเป็นคืนที่จะมีการทุจริตการเลือกตั้งสูงมาก โดยเฉพาะการตระเวนตามบ้านเรือนทุกหลังคาเรือนเพื่อซื้อเสียงครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ การแจกเงินซื้อเสียงที่จะมีอิทธิพลต่อผู้ไปลงคะแนนนั้น หากทำในวันใกล้เลือกตั้งมากที่สุดก็อาจช่วยให้เป็นที่จดจำได้ง่ายด้วย[1] เนื่องจากปฏิบัติการดังกล่าวกระทำในเวลากลางคืนด้วยลักษณะหลบ ๆ ซ่อน ๆ และมีพิรุธ สุนัขเฝ้าบ้านจึงพากันเห่าหอนเกรียวกราว[1] ราชบัณฑิตยสถานลงคำนี้ไว้ใน พจนานุกรมคำใหม่[2]
  • งูเห่า, นักการเมืองที่ออกเสียงสวนมติพรรค มักเกิดจากได้รับประโยชน์ตอบแทนจากพรรคอื่น
  • นักรบไซเบอร์, ภาษาปากที่หมายถึงผู้ปฏิบัติการต่อสู้เชิงข้อมูลข่าวสารในสงครามไซเบอร์ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ ปรากฏใช้ครั้งแรกเมื่อปี ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย เช่น ในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง มีกลุ่มคนเผยแพร่ข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดสดการชุมนุม[3] และบ่อยครั้งที่แกนนำผู้ชุมนุมนำคลิปวิดีโอจากอินเทอร์เน็ตไปเผยแพร่ต่อบนเวทีปราศรัย ด้านรัฐบาลก็ได้มีการนำคลิปวิดีโอจากอินเทอร์เน็ตในการชี้แจงเช่นเดียวกัน[4]
  • นายกฯ คนนอก, การเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีนอกเหนือจากวิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ตามปกติ ซึ่งมีการเสนอว่ากระทำได้โดยการถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์
  • นางแบก/นายแบก, คำใช้เรียกผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยที่มีความเห็นดีเห็นชอบกับพรรคในทุกเรื่อง
  • มารยาททางการเมือง, แนวทางปฏิบัติแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งนักการเมืองมักใช้อ้างว่ายึดถือปฏิบัติกันมาในแวดวงการเมืองไทย
  • มุ้ง, ฝักฝ่ายในพรรคการเมือง ซึ่งมักมีนักการเมืองผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าคอยต่อรองผลประโยชน์ให้สมาชิก
  • ระบอบทักษิณ, คำที่นักวิจารณ์ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้เพื่อวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้น
  • ล้มเจ้า, คำกล่าวหาว่าบุคคลมีความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองปัจจุบันไปเป็นระบอบอื่น
  • แลนด์สไลด์, การชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย มักหมายถึงชนะแบบเสียงเกินกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาซึ่งทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  • บ้านใหญ่, ตระกูลทรงอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่น
  • ใบดำ, ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลตลอดชีวิต[5]
  • ใบแดง, คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง[5]
  • ใบส้ม, คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี ถ้าบุคคลนั้นได้รับเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่[5]
  • ใบเหลือง, คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งจัดการเลือกตั้งใหม่ในเขตนั้น[5]
  • ประชาธิปไตยครึ่งใบ, รูปแบบการปกครองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง เริ่มปรากฏในยุครัฐธรรมนูญปี 2520[6]
  • ประชาธิปไตยเต็มใบ, รูปแบบการปกครองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งคู่
  • ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, คำเรียกระบอบการปกครองของไทยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • 3 ทรราช, ผู้มีอำนาจในประเทศไทยช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร (บุตรชายของจอมพลถนอมและเป็นบุตรเขยของจอมพลประภาส) การปกครองสมัยนั้นเป็นยุคระบอบเผด็จการทหารและมีการวางทายาททางการเมืองกันอย่างชัดเจน
  • สลิ่ม, กลุ่มผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมในการเมืองไทย ซึ่งหมายถึงกลุ่มนิยมเจ้าและนิยมทหาร ในตอนแรกมาจากกลุ่มเสื้อหลากสี คำที่ความหมายคล้ายกัน เช่น กะทิ ขนมหวาน
  • สนามเล็ก, การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
  • สนามใหญ่, การเลือกตั้งระดับชาติ
  • ส.ส.นกแล, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก โดยอาศัยกระแสสังคมของนักการเมืองคนอื่นในขณะนั้น[7]
  • สอบตก, ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • เสื้อเหลือง, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  • เสื้อแดง, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
  • เสื้อหลากสี, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • ส้มเน่า, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันคือพรรคก้าวไกล
  • แมลงสาบ, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์
  • สามกีบ/สามนิ้ว เป็นคำเรียกของกลุ่มฝ่ายขวาหรือกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลที่หมายถึงผู้แสดงออกทางการเมืองหรือเรียกร้องประชาธิปไตยหรือฝ่ายซ้าย
  • อิกนอร์, คนที่เพิกเฉยทางการเมืองหรือคนที่แสดงออกเช่นนั้น
  • อำมาตย์, กลุ่มอภิชนในการเมืองไทย ซึ่งมีการตีความว่าหมายถึงองคมนตรี นักธุรกิจใหญ่ นายทหารใหญ่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าคอยบงการการเมืองไทยอยู่
  • ไอโอ, ผู้ปฏิบัติการสงครามข่าวสารของกองทัพ ในระยะหลังใช้เรียกผู้ปฏิบัติการสงครามข่าวสารในพรรคการเมืองต่าง ๆ ด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สมคิด เลิศไพฑูรย์ (2547). นรนิติ เศรษฐบุตร (บ.ก.). สารานุกรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. p. 69.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน (2552). พจนานุกรมคำใหม่ (PDF). Vol. 2. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต. p. 7. ISBN ISBN 978-616-7073-04-0. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  3. นักรบไซเบอร์หาช่องสู้ “ไอซีที”ไล่ปิดเว็บ-บล็อกเสื้อแดง[ลิงก์เสีย]
  4. "สรรเสริญ" ปัดข่าว "มาร์ค" ถูกทำร้าย โชว์ 4 คลิปยันทหารไม่เคยใช้ "เอ็ม79" แต่เป็นเครื่องยิงแก๊สน้ำตา
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "เลือกตั้ง62 I เปิดความหมายอำนาจสารพัดใบ กกต. แจกเอง-ขอศาลได้". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
  6. "ประชาธิปไตยครึ่งใบสมัย 2". ประชาชาติธุรกิจ. 16 June 2018. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
  7. ""รักตู่อยู่กับป้อม" อวสาน "ส.ส.นกแล" ปักษ์ใต้". กรุงเทพธุรกิจ. 4 December 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.