กาโปเอย์รา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาโปเอร่า)
วงกาโปเอย์รา *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
วงกาโปเอย์ราในรัฐอาลาโกวัช ค.ศ. 2000
ประเทศ บราซิล
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00892
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2014 (คณะกรรมการสมัยที่ 9)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กาโปเอย์รา (โปรตุเกส: capoeira) เป็นศิลปะป้องกันตัวแขนงหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากประเทศบราซิล เกิดจากการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ การเต้น ดนตรี กายกรรม ปรัชญา กาโปเอย์ราเกิดโดยทาสชาวแอฟริกาในบราซิล เริ่มในช่วงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีข้อถกเถียงกันว่า กาโปเอย์รานั้นอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในแอฟริกา

กาโปเอย์ราจะมี 2 รูปแบบคือ การฝึกแบบดั้งเดิมหรือแบบอังกอลา (Capoeira Angola) ที่ใช้เวลาฝึกยาวนานและท่วงท่าเชื่องช้ากว่าแบบเรฌีโยนัล (Capoeira Regional) ที่มีการเคลื่อนไหวรวดเร็วกว่า และใช้เวลาสั้นกว่าในการปฏิบัติ

ประวัติ[แก้]

Negros fighting, Brazil ค.ศ. 1824 วาดโดย Augustus Earle แสดงให้เห็นถึงการแอบฝึกกาโปเอย์ราในรีโอเดจาเนโร

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16–19 โปรตุเกสได้ส่งทาสจากแอฟริกาตะวันตกมายังอเมริกาใต้ ชาวแอฟริกันจำนวนมากถูกนำตัวมายังประเทศบราซิล (ประมาณ 4 ล้านคน) ทาสเหล่านี้ได้นำวัฒนธรรมพวกเขามาด้วย เหล่าทาสได้ถูกแบ่งออกไปเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อที่แยกย้ายกันไปทำงานในที่ต่าง ๆ ในทาสกลุ่มนี้จะมีคนจากหลายพื้นที่และต่างวัฒนธรรมมารวมกัน หลังจากที่ทาสเหล่านี้อยู่ด้วยกันต่างก็แลกเปลี่ยนและซึมซับวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน

ในกลุ่มชุมชนเล็ก ๆ นี้ กาโปเอย์ราได้เริ่มก่อตัวและพัฒนาเพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันตัวจากทหารชาวโปรตุเกส และเริ่มมีการสอนกาโปเอย์ราให้กับคนอื่น ๆ โดยที่จะฝึกหัดกันในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดพักของทาส แต่เนื่องจากทาสนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ฝึกศิลปะป้องกันตัว การฝึกจึงถูกแต่งเติมไปด้วยการเต้นและร้องเพลงซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวแอฟริกาอยู่แล้ว เพื่อที่จะใช้บังหน้าจากการฝึกกาโปเอย์รา

ต่อมาหลังจากมีการเลิกทาส ในช่วง ค.ศ. 1888 ชาวแอฟริกาบางส่วนเดินทางกลับ แต่บางส่วนยังคงอาศัยอยู่ในบราซิล แต่เนื่องด้วยไม่มีงานทำมากนัก จึงทำให้หลายกลุ่มกลายเป็นอันธพาล พวกเขายังคงฝึกกาโปเอย์ราอยู่และกลายเป็นพวกต่อต้านรัฐบาลก่ออาชญากรรม เมื่อมีการนำกาโปเอย์ราไปใช้ในทางที่ผิด ทางรัฐบาลของบราซิลจึงมีคำสั่งให้กาโปเอย์รานั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย (ช่วง ค.ศ. 1890) ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจับ แต่ก็มีบางส่วนที่ขัดขืนก็จะถูกยิง โดยที่ตำรวจในสมัยนั้นก็ฝึกฝนกาโปเอย์ราด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะใช้ต่อสู้กับผู้ฝ่าฝืนได้

จนกระทั่งถึงช่วงที่บราซิลทำสงครามกับปารากวัย รัฐบาลบราซิลได้จัดตั้งกลุ่มนักรบขึ้นมากลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นนักสู้กาโปเอย์รา โดยเรียกว่า "กองทหารดำ" (Black Military) จะส่งไปรบกับปารากวัย โดยสามารถนำชัยชนะมาให้กับบราซิลได้ นั่นทำให้เหล่านักสู้กาโปเอย์ราได้รับการยกย่องอีกครั้ง

มานูแอล ดุส เรย์ส มาชาดู (อาจารย์บิงบา) และวีเซ็งชี เฟเรย์รา ปัสชิญญา บิดาแห่งกาโปเอย์รายุคใหม่ โดยมาชาดูได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนกาโปเอย์ราแห่งแรก (ใน ค.ศ. 1942) ขึ้นมา นี่เป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า กาโปเอย์ราเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ถูกกฎหมาย และได้ทำให้กาโปเอย์รากลับมาสู่ความนิยมอีกครั้ง

ลักษณะการเล่น[แก้]

Mestre Bimba group, 2022

การเล่นกาโปเอย์ราเริ่มจากการยืนกันเป็นวงกลม ซึ่งเรียกว่า "รอดา" (roda) โดยที่มีเครื่องดนตรีอยู่ตรงหัววง การเล่นจะเริ่มต้นโดยที่ผู้ที่เล่นเบริงเบา (berimbau) เริ่มเล่นและหลังจากนั้นเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็จะเล่นตามมา เมื่อผู้เล่นเบริงเบาส่งสัญญาณว่าให้เริ่มเล่นได้ ผู้เล่น 2 คนก็จะเดินมาหยุดตรงหน้าของผู้เล่นเบริงเบา จับมือกัน และเริ่มต้นเล่น โดยในขณะเดียวกันคนอื่น ๆ รอบ ๆ วงก็จะตบมือพร้อมทั้งร้องเพลง โดยมีผู้เล่นเบริงเบาเป็นผู้นำ เมื่อคู่ที่เล่นอยู่ต้องการที่จะหยุดก็จะทำการจับมือกัน เพื่อเป็นสัญญาณว่ายุติการเล่นของคู่นั้น ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเกิดคนใดคนหนึ่งรอบ ๆ วงมีความต้องการจะเล่นกับคนใดคนหนึ่งในคู่ที่กำลังเล่นอยู่ก็สามารถทำได้ ซึ่งเราเรียกว่า การซื้อเกม โดยคนๆ นั้น จะหาจังหวะเข้าไปแทรกกลางระหว่างคู่ที่กำลังเล่นอยู่ โดยผู้ที่แทรกนั้นหันหน้าไปทางผู้ใดก็คือ ต้องการที่จะเล่นกับคน ๆ นั้น ในการเล่นนั้นจะไม่มีการปะทะหรือกระทบกระทั่งกันรุนแรงนัก เพื่อมิให้เกิดอันตรายและการบาดเจ็บแต่ตัวผู้เล่น

ดนตรี[แก้]

เครื่องดนตรีการเล่นกาโปเอย์รา ในภาพคือเบริงเบาและปังเดย์รู‎

กาโปเอย์ราเป็นศิลปะที่มีการเล่นดนตรี เพิ่มจังหวะให้กับการเล่น เครื่องดนตรีคือ

  • เบริงเบา
  • ปังเดย์รู (pandeiro)
  • อาตาบากี (atabaque)
  • อาโกโก (agogô)

การเล่น[แก้]

กาโปเอย์ราไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ แต่จะเน้นที่ฝีมือและทักษะของผู้เล่น

ฌิงกา[แก้]

ฌิงกา

ฌิงกา (ginga) เป็นท่าพื้นฐานของกาโปเอย์รา ถ้าเปรียบเทียบกับศิลปะการต่อสู้ชนิดอื่น ๆ ก็คือการเต้นฟุตเวิร์ก โดยพยายามก้าวขาประมาณความกว้างของอก และก้าวเท้าหนึ่งไปข้างหลังและกลับมาที่เดิม เป็นลักษณะสามเหลี่ยมบนพื้น การเคลื่อนไหวแบบนี้จะทำให้ส่วนของร่างกายพร้อมไปกับการเคลื่อนไหวส่วนอื่น

การจู่โจม[แก้]

โดยพื้นฐาน กาโปเอย์ราจะจู่โจมโดยการเตะ การปัด การใช้หัวโขก บางครั้งจะเห็นการใช้มือบ้าง แต่ไม่บ่อยส่วนใหญ่จะใช้ข้อศอกแทน การใช้เข่าเห็นบ้าง บางครั้งกาโปเอย์ราใช้ความผาดโผนและการเคลื่อนไหวที่แข็งแรง ที่ใช้เป็นกลยุทธ์ต่อคู่แข่งขันการตีลังกาหรือ "อาอู" (), หกสูงหรือ "บานาเนย์รา" (bananeira), หมุนตัวบนศีรษะหรือ "ปีเยาจีกาเบซา" (pião de cabeça), หมุนตัวบนมือหรือ "ปีเยาจีเมา" (pião de mão), สปริงมือหรือ "กาตู" (gato), sitting movements, การหมุน, การกระโดด, การดีด ทั้งหมดล้วนเป็นท่าพื้นฐานของกาโปเอย์ราขึ้นอยู่กับความสามารถและจังหวะ

การป้องกัน[แก้]

การป้องกันประกอบด้วยการหลบและการหมุน ขึ้นอยู่กับทิศทางและจุดประสงค์ของการป้องกัน การป้องกันอย่างง่ายคือการหมุน โดยรวมการหลบและการเคลื่อนตัวช้า และสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองมาจู่โจมการหลบอย่างอื่น เช่น รัสเตย์รา (rasteira), วิงกาชีวา (vingativa), เตโซราจีเมา (tesoura de mão) หรือแกดา (queda) จะทำให้เคลื่อนและเข้าใกล้หาจุดโหว่ของคู่ต่อสู้ได้

จู่โจมและป้องกัน[แก้]

อาอูบาชีดู

มีบางท่าอย่าง "อาอูบาชีดู" (aú batido) ที่เป็นการจู่โจมและป้องกันพร้อมกัน โดยเริ่มจากการตีลังกาหนี จากนั้นใช้ขาเตะออกไปพร้อมกัน การเตะ 2 ครั้งเรียก "เมย์ยาลูอาจีเฟร็งชี" (meia lua de frente) ส่วน "อาร์มาดา" (armada) คือการหมุน 2 ครั้งแล้วเตะ

ชามาดา[แก้]

ชามาดา (chamada) แปลว่า "การเรียก" เป็นส่วนหนึ่งที่เกิดในกาโปเอย์ราแบบอังกอลา เป็นการหยุดเมื่อรู้สึกถึงอันตราย

วอลตาเอามุงดู[แก้]

วอลตาเอามุงดู (volta ao mundo) แปลว่า "การเที่ยวรอบโลก" เกิดขึ้นเมื่อการเปลี่ยนการเคลื่อนไหวได้จบลงหรือหลังจากเกิดการหยุดชะงักในเกม ผู้เล่นจะเดินเป็นวงกลมรอบวง และผู้เล่นอีกคนจะร่วมเดินรอบวงด้วย จึงจะกลับสู่เกมปกติ

กาโปเอย์ราในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]