ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาลิล ยิบราน)
ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน
ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2456
ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2456
เกิดญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน
6 มกราคม ค.ศ. 1883(1883-01-06)
บชัรรี, จักรวรรดิออตโตมัน
เสียชีวิตเมษายน 10, 1931(1931-04-10) (48 ปี)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
อาชีพกวี, จิตรกร, นักเขียน, นักปรัชญา, นักเทววิทยา
สัญชาติเลบานอน
ช่วงเวลาพ.ศ. 2448-2474
แนวกวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นิทานคติสอนใจ
ผลงานที่สำคัญThe Prophet (พ.ศ. 2466)

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน (อาหรับ: جبران خليل جبران) หรือ คาห์ลีล จิบราน (อังกฤษ: Kahlil Gibran, ออกเสียง: /ˈkɑːliːl dʒɪˈbrɑːn/; 6 มกราคม พ.ศ. 2426 – 10 เมษายน พ.ศ. 2474) เป็นกวี, นักเขียน และศิลปินชาวเลบานอน มีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ปรัชญาชีวิต[1] (The Prophet) ซึ่งเป็นตัวอย่างของงานเขียนแนวสร้างแรงบันดาลใจ (inspirational fiction) เขาเป็นกวีที่มีผลงานขายดีตลอดกาลเป็นอันดับ 3 รองจากเชกสเปียร์และเล่าจื๊อ[2]

ประวัติ[แก้]

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ที่เมืองบชัรรี (Bsharri) ทางตอนเหนือของเลบานอน (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน) ในครอบครัวคริสเตียนนิกายมาโรไนต์ เขาไม่ได้เข้าศึกษาในโรงเรียน แต่มีนักบวชช่วยสอนภาษาอาหรับและภาษาซีรีแอกให้ ก่อนจะย้ายไปพำนักที่สหรัฐอเมริกา ที่นั่นเขาได้ตีพิมพ์ The Madman หนังสือเล่มแรกของเขาที่เป็นภาษาอังกฤษ และได้เข้าร่วม The Pen League ซึ่งเป็นสมาคมนักเขียนชาวอาหรับ-อเมริกัน นอกจากงานเขียนแล้ว เขายังมีผลงานวาดภาพเหมือนบุคคลต่าง ๆ เช่น คาร์ล ยุง, โอกุสต์ รอแด็ง และวิลเลียม บัตเลอร์ เยตส์ อีกด้วย ในปี พ.ศ. 2466 เขาได้ตีพิมพ์ ปรัชญาชีวิต ซึ่งเป็นบทกวีรวมเล่มที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ได้รับการแปลไปแล้วกว่า 40 ภาษาทั่วโลก[3]

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2474 ด้วยโรคตับแข็งและวัณโรค รวมอายุได้ 48 ปี ร่างของเขาถูกฝังที่บ้านเกิดตามความประสงค์สุดท้ายของเขา

ผลงานที่ติพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ[แก้]

  • The Madman (พ.ศ. 2461)
  • Twenty Drawings (พ.ศ. 2462)
  • The Forerunner (พ.ศ. 2463)
  • The Prophet (พ.ศ. 2466)
  • Sand and Foam (พ.ศ. 2469)
  • Kingdom of the Imagination (พ.ศ. 2470)
  • Jesus, The Son of Man (พ.ศ. 2471)
  • The Earth Gods (พ.ศ. 2474)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]