คาบูกิโจ

พิกัด: 35°41′42″N 139°42′18″E / 35.69500°N 139.70500°E / 35.69500; 139.70500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาบุกิโจ)
คาบูกิโจ

歌舞伎町
โชโจ (ย่าน)
คาบูกิโจอิจิบัน-ไกและป้ายถนนสีนีออนสดใส
คาบูกิโจอิจิบัน-ไกและป้ายถนนสีนีออนสดใส
สมญา: 
เมืองที่ไม่เคยหลับใหล (眠らない街)
คาบูกิโจตั้งอยู่ในเขตพิเศษของโตเกียว
คาบูกิโจ
คาบูกิโจ
คาบูกิโจตั้งอยู่ในโตเกียว
คาบูกิโจ
คาบูกิโจ
คาบูกิโจตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คาบูกิโจ
คาบูกิโจ
พิกัด: 35°41′42″N 139°42′18″E / 35.69500°N 139.70500°E / 35.69500; 139.70500
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดโตเกียว
เขตพิเศษชินจูกุ
พื้นที่
 • ทั้งหมด36 ha (89 เอเคอร์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
เว็บไซต์www.kabukicho.or.jp

คาบูกิโจ (ญี่ปุ่น: 歌舞伎町, Kabuki-chō, ออกเสียง [kabɯki̥ tɕoː]) เป็นย่านบันเทิงกลางคืนในเขตชินจูกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่ตั้งของบาร์ โรงแรม ร้านค้า ภัตตาคาร โซปแลนด์ และไนต์คลับจำนวนมาก มักถูกขนานนามว่า "เมืองที่ไม่เคยหลับใหล" ชื่อของย่านนี้มีที่มาจากแผนการก่อสร้างโรงละครคาบูกิเมื่อปลายทศวรรษที่ 1940 แม้ว่าโรงละครจะไม่ได้ถูกสร้าง แต่ชื่อก็ยังคงอยู่จนทุกวันนี้

ย่านนี้มีโรงภาพยนตร์อยู่มากมาย และเนื่องจากอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟชินจูกุ เซบุชินจูกุ และสถานีรถไฟอื่น ๆ อีกมากมายทั้งสายหลักและสายใต้ดิน ตั๋วรถไฟที่ใช้เดินทางมายังย่านนี้จึงมักจะจำหน่ายได้หมด

ภัตตาคารที่ดีที่สุดในโตเกียวบางร้านก็ตั้งอยู่ย่านคาบูกิโจนี้ และที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตชินจูกุอีกด้วย

ประวัติ[แก้]

ภาพถ่ายทางอากาศ (2009)

ในอดีต บริเวณที่เป็นย่านคาบูกิโจนี้ เคยเป็นหนองน้ำที่รู้จักกันในชื่อว่าสึโนฮาซุ (ญี่ปุ่น: 角筈โรมาจิTsunohazu) หลังจากยุคเมจิ บริเวณนี้ได้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของนกเป็ดน้ำ เมื่อโรงงานบำบัดน้ำเสียโยโดบาชิถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1893 หนองน้ำนี้ก็ถูกถม จากนั้นใน ค.ศ. 1920 โรงเรียนสตรีถูกสร้างขึ้นในบริเวณนี้ และบริเวณโดยรอบก็ถูกพัฒนาให้เป็นย่านที่อยู่อาศัย ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง อำเภอนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองทรัพย์สิน (ส่วนใหญ่มาจากไต้หวันและเกาหลี) ซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพ สึเรโกมิยาโดะ ซึ่งเป็นรุ่นก่อนของเลิฟโฮเทลในปัจจุบัน[1]

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อมีการทิ้งระเบิดในกรุงโตเกียวในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1945 บริเวณนี้ก็ถูกทำลายไปด้วย[1] หลังจากสงครามสงบลง คิเฮ ซูซูกิจากสมาคมการปรับพื้นที่และฟื้นฟูชินจูกุทำงานร่วมกับเจ้าของพื้นที่รายใหญ่ โมเฮ มิเนจิมะวางแผนการก่อสร้างโรงละครคาบูกิขึ้นในบริเวณนี้ และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1948 ย่านนี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คาบูกิโจ แต่แผนการก่อสร้างต้องถูกยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาทางการเงิน ส่วนชื่อของย่านนี้ยังคงถูกใช้เรียกเรื่อยมา[2]

คาบูกิโจได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว โดยหลังมาจากชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นได้ซื้อที่ดินบริเวณนี้แล้วดำเนินการพัฒนาครั้งใหญ่ "สามชาวจีนโพ้นทะเลที่มีชื่อเสียงที่สุดของคาบูกิโจ" ได้แก่ Lin Yi-wen ผู้ก่อตั้งHumax ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจด้วยคาบาเรต์; Lin Tsai-wang ผู้สร้างฟูริงไคกัง และ Lee Ho-chu เจ้าของภัตตาคารจีนในโรงแรมโตเกียว[3] ใน ค.ศ. 2002 มีการประมาณการว่าที่ดินในคาบูกิโจร้อยละ 70 มีเจ้าของเป็นพลเมืองและลูกหลานชาวญี่ปุ่นที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวต่างชาติ[1]

ในปัจจุบัน อำเภอคาบูกิโจที่มีขนาด 36 ha (89 เอเคอร์; 0.14 sq mi)[4] เปลี่ยนแปลงจากย่านที่อยู่อาศัยให้กลายเป็นย่านโคมแดงที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีบาร์ ไนต์คลับ เลิฟโฮเทลอาบอบนวด โฮสต์คลับ และสถานบันเทิงต่าง ๆ กว่า 3,000 ร้าน ถึงแม้ว่าจะมีการกล่าวถึงเป็น "ย่านโคมแดง" แต่ไม่มีไฟสีแดงในความหมายโดยตรงและผู้ค้าประเวณีที่หน้าต่างเหมือนในอัมสเตอร์ดัม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Schreiber, Mark (January 20, 2002). "Kabukicho: where worlds collide". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 20 November 2019.
  2. "A City represent its people: A History of Kabukicho". kabukicho.or.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  3. last, Nojima. "Tokyo's Kabukicho – City of the Taiwanese". CommonWealth. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 November 2019.
  4. Schreiber, Mark (May 23, 2015). "The changing face of Tokyo's 'red-light' district". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]