คาโต คิโยมาซะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คะโต คิโยะมะสะ)
คาโต คิโยมาซะ
加藤 清正
ภาพของคาโต คิโยมาซซะ
เจ้าแห่งคูมาโมโตะ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1587 – 1611
ถัดไปคาโต ทาดาฮิโระ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กรกฎาคม ค.ศ. 1562
จังหวัดโอวาริ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิตสิงหาคม 2, 1611(1611-08-02) (49 ปี)
คูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น
เชื้อชาติณี่ปุ่น
คู่สมรสโชโจอิง
บุตรโยริงอิง
ศาสนาพุทธแบบนิจิเร็ง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ตระกูลโทโยโตมิ
กองทัพตะวันออก
รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
หน่วย ตระกูลคาโต
ผ่านศึกยุทธการที่ยามาซากิ
ยุทธการที่ชิซูงาตาเกะ
การรุกรานคีวชู
การรุกรานเกาหลี
ยุทธการที่อูโดะ
ยุทธการที่ยานางาวะ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ加藤 清正
ฮิรางานะかとう きよまさ
การถอดเสียง
โรมาจิKatō Kiyomasa

คาโต คิโยมาซะ (ญี่ปุ่น: 加藤 清正โรมาจิKatō Kiyomasa; 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1562 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1611) เป็นไดเมียวชาวญี่ปุ่นในยุคอาซูจิ–โมโมยามะถึงยุคเอโดะ มีชื่อราชการว่า ฮิโงะ-โนะ-คามิ ชื่อวัยเด็กคือ ยาชามารุ และมีชื่อแรกว่า โทราโนซูเกะ เขาเป็นหนึ่งในหอกทั้ง 7 แห่งชิซูงาตาเกะของฮิเดโยชิ

ชีวประวัติ[แก้]

อนุสรณ์สถานที่เกิดของคาโต คิโยมาซะ (เขตนากามูระ นครนาโงยะ)

คิโยมาซะเกิดในบริเวณที่ปัจจุบันคือเขตนากามูระ นครนาโงยะ จากคาโต คิโยตาดะ โดยอิโตะ ภรรยาของคิโยตาดะ เป็นลูกพี่ลูกน้องของแม่ของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ[1] คิโยตาดะเสียชีวิตในขณะที่ลูกชายของเขา คิโยมาซะ (ในตอนนั้นมีชื่อว่า โทราโนซูเกะ) ยังคงเป็นเด็ก ไม่นานโทราโนซูเกะเข้ารับใช้ฮิเดโยชิ และใน ค.ศ. 1576 ตอนอายุ 15 ปี เขาได้รับศักดินา 170 โคกุ

ใน ค.ศ. 1582 เขาร่วมรบในกองทัพของฮิเดโยชิที่ยุทธการที่ยามาซากิ และต่อด้วยยุทธการที่เซกิงาฮาระใน ค.ศ. 1583 ด้วยผลงานนี้ ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในหอกทั้ง 7 แห่งชิซูงาตาเกะและให้รางวัลด้วยการเพิ่มโคกุอีก 3,000 อัน[2][3]

การรุกรานเกาหลี[แก้]

คิโยมาซะ เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพ ในการทำสงครามกับอาณาจักรโชซ็อนครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านราชวงศ์โชซ็อน เขาได้เข้ายึดกรุงฮันซ็อง เมืองหลวง (กรุงโซลในปัจจุบัน) ปูซาน และเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกหลายเมืองในโชซ็อน และได้ชัยชนะต่อกองกำลังด่านสุดท้ายของโชซ็อนในสมรภูมิแม่น้ำอิมจิน ในปี 1592

ด้วยความเกรงกลัวต่อคิโยมาซะและกองทัพญี่ปุ่น ทำให้พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อนต้องละทิ้งกรุงฮันซ็องและลี้ภัยไปยังเปียงยาง คิโยมาซะได้จับกุมเจ้าชายแห่งโชซ็อนสองพระองค์ไว้เป็นองค์ประกัน และบังคับให้โชซ็อนยอมแพ้

คิโยมาซะยังเป็นสถาปนิกที่มีฝีมือในการออกแบบสร้างปราสาทและป้อมปราการ ระหว่างสมรภูมิแม่น้ำอิมจิน เขาสร้างปราสาทแบบญี่ปุ่นหลายแห่งในอาณาจักรโชซ็อนเพื่อเป็นฐานบัญชาการและปกครอง ซึ่งป้อมอูลซาน หนึ่งในปราสาทของเขาได้ถูกพิสูจน์ เมื่อธันวาคม ค.ศ. 1593 กองทัพผสมโชซ็อนและต้าหมิง ได้เข้าโจมตีด้วยกำลังทางทหารกว่า 36,000 คน ญี่ปุ่นและทหาร 7,000 คนต้องป้องกันนานนับเดือน ก็ประสบความสำเร็จในการป้องกันปราสาท ทำให้ฝ่ายโชซ็อนและต้าหมิงต้องล่าถอย ในขณะเดียวกัน กำลังของญี่ปุ่นก็อ่อนลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม วีรกรรมครั้งนี้ถูกอิชิดะ มิตสึนาริ คู่แข่งของเขาขัดขวางไม่ให้รายงานไปยังโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ อัครมหาเสนาบดีแห่งญี่ปุ่น หลังจากการตายของฮิเดโยชิ เขาก็ขัดแย้งขั้นรุนแรงกับมิตสึนาริ และไปอยู่ฝ่ายโทกูงาวะ อิเอซาดะ

ช่วงท้ายและเสียชีวิต[แก้]

ระหว่างยุทธการที่เซกิงาฮาระ คิโยมาซะยังคงอยู่ในเกาะคีวชู โดยอยู่ฝ่ายกองทัพภาคตะวันออกของโทกูงาวะ อิเอยาซุ ด้วยความภักดีของเขา คิโยมาซะได้รับศักดินาในพื้นที่เดิมของคู่แข่งของเขาคือมิตสึนาริ เมื่อรวมกับศักดินาเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำให้คิโยมาซะมีศักดินาถึง 530,000 โคกุ

ในช่วงวาระสุดท้าย คิโยมาซะพยายามทำงานเป็นคนกลางเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างอิเอยาซุกับโทโยโตมิ ฮิเดโยริ ใน ค.ศ. 1611 ขณะอยู่ระหว่างทางทางทะเลไปหาคูมาโมโตะหลังจากการประชุมดังกล่าว หลังไปถึงไม่นานเขาล้มป่วยและเสียชีวิต ศพของเขาถูกฝังที่ฮงเมียวจิที่คูมาโมโตะ แต่ยังมีโลงศพที่จังหวัดยามางาตะและโตเกียว

คาโต ทาดาฮิโระ บุตรของเขาสืบทอดตำแหน่งฮิโงะโนะคามิ (肥後守; ผู้ว่าการจังหวัดฮิโงะ) แต่ที่ดินของเขาถูกยึดและโทกูงาวะ อิเอมิตสึทรงเนรเทศเขาใน ค.ศ. 1632 ด้วยข้อสงสัยว่า เขาอาจสมรู้ร่วมคิดต่อต้านพระองค์[4] ซึ่งน่าจะด้วยความชอบของโทกูงาวะ ทาดานางะ ผู้สั่งให้ทำการเซ็ปปูกุใน ค.ศ. 1633[5]

บุคลิกภาพ[แก้]

คิโยมาซะกับลิงเลี้ยง ภาพโดยสึกิโอกะ โยชิโตชิ

เขาเป็นผู้ยึดมั่นในศาสนาพุทธแบบนิจิเร็ง โดยคิโยมาซะส่งเสริมให้สร้างวัดนิจิเร็งทั่วแคว้นของตน[6] เขามีปัญหากับโคนิชิ ยูกินางะ ผู้ปกครองจังหวัดฮิโงะอีกครึ่งหนึ่ง และเป็นชาวคริสต์ โดยมีการกล่าวว่าคิโยมาซะกดขี่ข่มเหงคริสต์ศาสนิกชนอย่างโหดร้าย[7] ในยุทธการที่ฮนโดะ เขาสั่งให้ทหารผ่าท้องหญิงชาวคริสต์ทั้งหมด และตัดหัวเด็กทารกทิ้ง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. E. Papinot, Historical and Geographical Dictionary of Japan, Yokohama: Kelly & Walsh, 1910, reprint, Rutland, Vermont: Charles Tuttle, 1972, pp. 262-263
  2. Naramoto Tatsuya (1994). Nihon no kassen: monoshiri jiten. (Tokyo: Shufu to Seikatsusha), p. 327
  3. Turnbull, Stephen (1998). The Samurai Sourcebook. London: Cassell & Co. p. 34,49,234. ISBN 9781854095237.
  4. O-umajirushi: A 17th-Century Compendium of Samurai Heraldry. Xavid Pretzer. 2015-02-02. p. 189.
  5. Murdoch, James (1999). A history of Japan ([Reprint of the 1903 ed.]. ed.). London [u.a.]: Routledge. p. 706. ISBN 0415154162.
  6. William E. Griffis (1913). The Mikado's Empire. (New York: Harper & Brothers), p. 163
  7. Griffis, p. 163
  8. Luís Fróis, Furoisu Nihon-shi 12, trans. Matsuda Kiichi and Kawasaki Momota (Tokyo: Chuo-koron-shinsha, 2000), p. 32.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Kitajima Manji 北島万次 (2007). Katō Kiyomasa Chōsen shinryaku no jitsuzō 加藤清正: 朝鮮侵略の実像. Tokyo: Yoshikawa Kōbunkan 吉川弘文館.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Katō Kiyomasa