พระตำหนักคัตสึระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คะสึระริคีว)
เรือนคัตสึระอิมพิเรียลวิลลา

พระตำหนักคัตสึระ (อังกฤษ: Katsura Imperial Villa; ญี่ปุ่น: 桂離宮โรมาจิKatsura Rikyū) เป็นที่ประทับพร้อมสวนและสิ่งปลูกสร้างภายนอกอาคาร ในบริเวณชานเมืองของนครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น (อยู่ในเขต นิชิเกียว) อีกทั้งพระตำหนักคัตสึระเป็นหนึ่งในสมบัติวัฒนธรรมขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีความสำคัญอย่างมาก

สวนในพื้นที่นี้จัดเป็นผลงานชิ้นเอกของการจัดสวนแบบญี่ปุ่น และเรือนอาคารที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จอย่างสูงของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ตัววังนั้นประกอบด้วยโชอิง (ห้องเขียน) เรือนชงชา และสวนสำหรับการเดินเล่น ทั้งนี้ยังมีหน้าต่างอันล้ำค่าในเรือนพักของเจ้าชายในยุคเอโดะ โดยดั้งเดิมตัววังนั้นเคยเป็นของเจ้าชายแห่งตระกูลฮาจิโจ โนะ มิยะ ปัจจุบันนั้นอยู่ภายใต้การดำเนินการของกรม Imperial Household Agency ซึ่งรับผู้เยี่ยมเยียนผ่านการนัดล่วงหน้า

ประวัติศาสตร์[แก้]

เขตคัตสึระในเมืองเกียวโตมีประวัติอันเป็นที่นิยมสำหรับเรือนพักมาจนถึงปัจจุบัน และในยุคเฮอัง ฟูจิวาระ โนะ มิชินากะเคยมีเรือนพักในบริเวณเช่นกัน สมาชิกของราชสำนักเฮอังเห็นว่าเป็นสถานที่ที่งดงามและเหมาะสำหรับการชมดวงจันทร์

โดยชื่อ "คัตสึระ" (桂) มาจากชื่อของต้นไม้วิเศษคัตสึระที่เชื่อว่าขึ้นอยู่บนดวงจันทร์ ตามตำนานในนิทานพื้นบ้านเมืองจีน ดังนั้น ตำหนักคัตสึระนี้จึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้ชัดเจน และจะสวยงามยิ่งขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหลังคาตำหนัก[1]

เจ้าชายฮาจิโจ โทชิฮิโตะ (智仁; 1579–1629) ซึ่งเป็นคนแรกของสายตระกูลฮาจิโจ โนะ มิยะ และผู้สืบสกุลจากจักรพรรดิโองิมาจิ และเป็นพระราชอนุชาของจักรพรรดิโกโยเซนั้นได้สถาปนาเรือนพักที่คัตสึระเช่นกัน เจ้าชายโทะชิฮิโตะถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมโดยโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ หากแต่ยกเลิกการถูกรับเลี้ยงเมื่อฮิเดโยชิมีลูกชายตัวจริง และออกมาก่อตั้งราชวงศ์ฮาจิโจ¬ โนะ มิยะ

ห้องโชอิน หรือห้องเขียนแบบญี่ปุ่นภายในเรือนพักคัตสึระอิมพีเรียล นั้นแบ่งออกมาเป็นสามส่วน: โชอินโบราณ, โชอินส่วนกลาง และ ตัววังใหม่ โชอินโบราณนั้นได้สร้างขึ้นในราวๆปี 1615 A.D. การก่อสร้างของโชอิน, เรือนชงชาและสวน ดำเนินไปถึงยุคของเจ้าชายองค์ที่สอง โทชิทาดะ (智忠; 1619–1662) และเสร็จสิ้นหลังจากไม่กี่ทศวรรษ เรือนพักฮาจิโจ โนะ มิยะได้เปลี่ยนชื่อเป็นโทกิไว โนะ มิยะ (常磐井宮), ต่อด้วยเคียวโกคุ โนะ มิยะ, และจบด้วยคัตสึระ โนะ มิยะ ก่อนที่สายตระกูลนั้นสิ้นสุดลงในปี1881 กรม Imperial Household ได้เข้าควบคุมต่อในปี 1883 และต่อมาถึงปัจจุบันนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง

เรือนอาคารและสวน[แก้]

สวนและบ่อน้ำคัตสึระ

โชอินโบราณ, โชอินส่วนกลาง และ ตัววังใหม่แต่ละเรือนนั้นถูกออกแบบตามไสตล์โชอิน พร้อมกับหลังคาแบบอิริโมะยะ โคะเคะระบุกิ (柿葺) ส่วนโชอินโบราณนั้นบ่งบอกถึงการออกแบบไสตล์ซุกิยะที่เห็นได้ชัดในส่วนระเบียง ซึ่งมีชานที่ยื่นออกมาไว้สำหรับการชมพระจันท์ และแสดงให้เข้าใจถึงประเพณีการชมพระจันท์ที่เป็นมโนคติหลักๆของวังคัตสึระ กำแพงของโชอินส่วนกลางและตัววังใหม่นั้นมีภาพวาดหมึกจากโรงเรียนของคาโนะ ทันยุ (狩野 探幽 นักวาดภาพดังยุคเอโดะ) อีกทั้งการออกแบบและจัดวางของหิ้งในห้องบนของเรือนโชอินส่วนกลางนั้นถือว่าเป็นจุดที่น่าจดจำอย่างยิ่ง บริเวณสวนสำหรับเดินเล่นนั้นมีบ่อกลางที่ได้น้ำมาจากลำธารคัตสึระ และถูกล้อมรอบไปด้วย โชคินเต โชคะเต โชอิเคน เก็ปปะโร เรือนชงชา, เนินเขา, ทราย, สะพาน, และโคมไฟ อีกทั้งมีสถานที่ศาสนาพุทธ, อนรินโด

การเดินทาง[แก้]

ตัวเรือนพักนั้นตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของเกียวโต จากสถานีเกียวโต ให้นั่งรถไฟใต้ดินสายคาราซูมะไปสถานืชิโจ และย้ายไปสายฮันกีวเกียวโตไปยังสถานีคัตสึระ และจากสถานีรถไฟใช้เวลาเพียง15นาทีกับการเดินไปถึงเรือนคัตสึระ ทั้งนี้ จากสถานีเกียวโต มีรถบัสสาย 33 ที่ตรงไปยังคัตสึระ ให้ลงที่คัตสึระริคิว มาเอะ ซึ่งต่อด้วยการเดินเพียงแค่ห้านาที

อ้างอิง[แก้]

  1. (1)/ "ปิดสวนสวยแห่งเกียวโตเกียว 21 พฤศจิกายน 2558 Katsura Rikyu Imperial Villa of The Moon (1)". ช่อง 7. 21 November 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Walter Gropius, Kenzo Tange, Yasuhiro Ishimoto (photographs), Katsura: Tradition and Creation in Japanese Architecture (Yale University Press, New Haven, Zokeisha Publications, Tokyo, 1960) is a good (although early) work.
  • Teiji Itoh, Takeji Iwamiya, Imperial Gardens of Japan (Weatherill, New York, 1970) covers the gardens in great detail
  • Scott, Ted, "Imperial Gardens of Japan" (Amazon.com, 2008) describes and illustrates four imperial gardens in Kyoto.
  • Teiji Itoh, Tadashi Yokoyama, Eiji Musha, Makato Suzuki, and Masao Arai and Taisuke Ogawa (photographs), Katsura: A Quintessential Representative of the Sukiya Style of Architecture ( Shinkenchiku-Sha, Tokyo, 1983) gives much internal detail, learned during the refurbishment of 1976-1982.
  • Akira Naito, Takeshi Nishikawa (photographs), (translated Charles S. Terry), Katsura: A Princely Retreat (Kodansha, New York, 1977) is a magnificent book, the definitive work on Katsura in English.
  • Ponciroli, Virginia (2011). Katsura Imperial Villa (Paperback). New York: Phaidon Press. ISBN 978-0-7148-6254-5.. Contains articles by Walter Gropius, Bruno Taut and Kenzo Tange on the impact of the villa.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 34°59′02″N 135°42′34″E / 34.98389°N 135.70944°E / 34.98389; 135.70944