คอยวูล์ฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอยวูล์ฟ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
สกุล: Canis
สปีชีส์: Canis latrans x Canis lupus

คอยวูล์ฟ (อังกฤษ: coywolf) เป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมระหว่างไคโยตี (Canis latrans) และหมาป่า (Canis lupus) หรือหมาป่าแดง (Canis lupus rufus) หมาป่าและไคโยตีสามารถให้กำเนิดลูกผสมที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ถึงเกิดคำถามที่ว่าหมาป่าทั้ง 2 ชนิดควรแยกออกจากกันเป็นคนละชนิดหรือไม่[1] มีการทดลองผสมข้ามชนิดในประเทศเยอรมนี ระหว่างพุดเดิลและไคโยตี และหมาป่า, หมาใน ผลที่ได้คือลูกผสมไคโยตีมีโอกาสเป็นหมันสูงขึ้น มีปัญหาการส่งผ่านพันธุ์กรรมทำให้เป็นโรคภัยไข้เจ็บทางพันธุ์กรรมสูงขึ้นหลังจาก 3 รุ่นที่ผสมกันระหว่างลูกผสม ไม่เหมือนกับลูกผสมหมาป่า จึงสามารถสรุปได้ว่าสุนัขบ้านและหมาป่าเป็นสปีชีส์เดียวกันและไคโยตีเป็นชนิดที่แยกออกมา[2]

คอยวูล์ฟมีขนาดอยู่ระหว่างกลางของพ่อและแม่ มีขนาดใหญ่กว่าไคโยตีแต่เล็กกว่าหมาป่า จากการศึกษาพบว่าจาก 100 ตัวอย่างของไคโยตีในรัฐเมน มี 22 ตัวที่มีบรรพบุรุษเป็นหมาป่าถึงครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าเล็กน้อย และมี 1 ตัวที่เหมือนหมาป่าถึง 89 % มีทฤษฎีที่เสนอว่าไคโยตีตะวันออกที่มีขนาดใหญ่ในประเทศแคนนาดาเป็นลูกผสมของไคโยตีตะวันตกที่มีขนาดตัวเล็กกว่ากับหมาป่าที่พบและจับคู่กันในทศวรรษที่ผ่านเมื่อไคโยตีตะวันตกอพยพไปสู่นิวอิงแลนด์[3] นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าหมาป่าแดงเป็นลูกผสมระหว่างไคโยตีและหมาป่ามากกว่าที่จะเป็นชนิด หลักฐานที่สำคัญคือจากการทดสอบพันธุกรรมแสดงว่าหมาป่าแดงมีรูปแบบของยีนต่างจากหมาป่าและไคโยตีเพียง 5 % การคำนวณระยะห่างทางพันธุกรรมแสดงว่าหมาป่าแดงอยู่ระหว่างกลางของไคโยตีและหมาป่า และมันคล้ายกับลูกผสมหมาป่าและไคโยตีในตอนใต้ของรัฐควิเบกและรัฐมินนิโซตา การวิเคราะห์ไมโทคอนเดรีย DNA แสดงว่าประชากรของหมาป่าแดงมีลักษณะเด่นของไคโยตีในต้นกำเนิด[4] นักวิจัยในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแคนนาดากล่าวว่าคอยวูล์ฟกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ[5]

คอยวูล์ฟมีลักษณะการล่าเหมือนหมาป่าคือล่าเป็นฝูงมีความก้าวร้าวสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างกวางได้[6] และมีลักษณะของไคโยตีคือไม่กลัวคน และดูเหมือนว่าจะฉลาดกว่าไคโยตี[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Oosthoek, Sharon (February 23, 2008). "The decline, fall and return of the red wolf". New Scientist. Reed Business Information. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  2. Doris Feddersen-Petersen, Hundepsychologie, 4. Auflage, 2004, Franck-Kosmos-Verlag 2004
  3. Zimmerman, David. "Eastern Coyotes Are Becoming Coywolves". Caledonian-Record. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  4. "The red wolf (Canis rufus) – hybrid or not?" (PDF). Montana State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  5. Johnson, Edie (February 10, 2006). "Coywolf: Are they a suburban legend, or a natural fact?". The Chronicle. Straus Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-18. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  6. เจเรมี เบอร์ลิน วายร้ายสายพันธุ์ใหม่ national geographic ฉบับภาษาไทย ฉบับที่ 109 สิงหาคม 2553
  7. Carola, Vyhnak (August 15, 2009). "Meet the coywolf". Toronto Star. Torstar. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]