คอมมานด์ & คองเคอร์ 4: ไทบีเรียน ทไวไลท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอมมานด์ & คองเคอร์ 4:
ไทบีเรียน ทไวไลท์
หน้าปกของ ไทบีเรียน ทไวไลท์
ผู้พัฒนาอีเอ ลอสแอนเจลิส
ผู้จัดจำหน่ายอิเลคโทรนิค อาร์ต
อำนวยการผลิตไมเคิล โกลเซกคิ
ราจ โจชิ
ออกแบบซามูเอล เบส
แต่งเพลงเจมส์ แฮนนิแกน
ทิโมธี ไมเคิล เวนน์
เจสัน เกรฟส์[1]
ชุดคอมมานด์ & คองเคอร์
เอนจินRNA
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
วางจำหน่าย
แนววางแผนการรบเรียลไทม์
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ร่วมมือ ผู้เล่นหลายคน

คอมมานด์ & คองเคอร์ 4: ไทบีเรียน ทไวไลท์ [4] (Command & Conquer 4: Tiberian Twilight) เป็นเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ ในซีรีส์ คอมมานด์ & คองเคอร์ โดยทีมพัฒนา อีเอ ลอสแอนเจลิส ทำลงเฉพาะไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และวางจำหน่ายไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2010 โดยเป็นภาคสุดท้ายของภาคเนื้อเรื่อง ไทบีเรียม โดยจากภาพยนตร์คั่นฉาก ตัวแรกที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2009 และรายละเอียดมากมายซึ่งตีพิมพ์ลงในนิตยสารต่างๆ[5][6] ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ คอมมานด์ & คองเคอร์ 4 จะให้ผู้เล่นสามารถออนไลน์อยู่ตลอดเวลาได้ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้เล่นจะเล่นโหมดแคมเปญหรือสเกอร์มิชส์หรือเล่นแบบออนไลน์ อย่างไรก็ดี ทาง อีเอ ก็สร้างโหมดออฟไลน์ด้วยเช่นกันเพื่อให้ผู้เล่นเล่นโหมดแคมเปญแบบออฟไลน์[7][8] คอมมานด์ & คองเคอร์ 4 ยังสามารถเล่นออนไลน์ผ่านเซิฟเวอร์ของอีเอ ไม่เหมือนแต่ก่อนที่ใช้เซิฟเวอร์ของ Gamespy[7]

เนื้อเรื่อง[แก้]

โลกกำลังถึงจุดจบ ไทบีเรียมได้เริ่มการเติบโตจนเกือบทั้งดางดาวโดยการระเบิดของไทบีเรียมเหลวของฝ่ายน็อต ระบบกวาดล้างดวงดาวของผ่านซีเรียมเริ่มทำงานก่อสร้างประตูและระบนำทางแห่งดวงดาว มันได้นำกองกำลังอันสุดยอดของเอเลียนจากต่างดาวมาเพื่อเก็บผลผลิต นั้นคือไทบีเรียม ฝ่าย GDI กำลังถูกโจมตีด้วยแร่ไทบีเรียมจากเศษซากดางดาวที่ระเบิดจากไทบีเรียมเหลว ทำให้พื้นที่ไม่มีไทบีเรียมเกิดปัญหากับพื้นที่อยู่อาศัยจนไม่สามารถควบคุมการคงอยู่ของมนุษย์ได้ น็อตได้ทำการเปิดประตูดวงดาวและนำกุญแจ นาซิซัสที่แท้จริงออกจากดาวได้ เพื่อเปิดเผยความลับที่จะกอบกู้ โลกจากไทบีเรียม ให้หมดไป

การออกแบบ[แก้]

ฝ่ายโครงการวิจัยออกแบบของ ลอสเองเจอลิส รับสานต่อการทำเกมนี้ออกมาในรูปแบบใหม่แต่คงความสนุกแบบเดิมโดยการนำ RPG มาผสมกับ RTS เพื่อทำให้การเล่นนั้นสามารถแบ่งความสามารถออกเป็นหลายรูปแบบมากขึ้น และด้วยระบบการเล่นแบบการเก็บ LEVER ผนวกกับการเล่มแบบ บุกตลุยตามฉากทำให้การออกแบบมีความหลากหลายในการรบเป็นอย่างมาก อย่างการแบ่งกองกำลังแบบสงครามจริง และมีทั้งสนับสนุนและฝ่ายบุกเพื่อให้มีความเหมือนสงความที่ไม่สามารถที่จะเล่นแบบใดแบบหนึ่งได้ตลอด

ระบบการเล่น[แก้]

ผู้เล่นสามารถเลือกฝ่ายต่างๆดังนี้

1. หน่วยจู่โจม - ให้ความสำคัญกับยูนิตภาคพื้นดินที่มีอนุภาพการทำลายล้างสูง

2. หน่วยตั้งรับ - ให้ความสำคัญกับสิ่งก่อสร้าง ป้อมปืน และอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ

3. หน่วยสนับสนุน - ให้ความสำคัญในเรื่องของการสนับสนุนและยูนิตอากาศยาน

ยูนิตแบบใหม่[แก้]

ในาภาคนี้เริ่มใช้ระบบค่าประสบการณ์ในการพัฒนาความสามารถในด้านต่างทั้งอาวุธและการวิจัยแร่ไทบีเรียม

ภาคพื้น[แก้]

มีการใช้ระบบการจูโจมเร็วและแบบกองกำลังทั้งป้องกัยสนับสนุนและจูโจม

ภาคอากาศ[แก้]

เพิ่มฐานลอยฟ้าเพื่อการเคลื่อนที่ประชิดในฝ่ายของ GDI และระบบการจูโจมเร็วแบบฝูงบินใน NOD

เสียงตอบรับ[แก้]

แม้เกมจะได้คะแนนจากเว็บไซต์วิจารณ์เกมโดยเฉลี่ยที่7/10 แต่เสียงตอบรับจากผู้เล่นเกมส่วนมากเป็นไปในไปแง่ลบ ด้วยเหตุผลดังนี้

  • ระบบการสร้างฐานที่เปลี่ยนไปมากเกินกว่าที่จะใช้ชื่อ คอมมานด์ & คองเคอร์ โดยเปลี่ยนจากการสร้างฐานทัพ เก็บทรัพยากร แล้วสรางยูนิตออกไปโจมตี กลายมาเป็นไม่มีฐานทัพให้สร้าง ไม่มีทรัพยากรให้เก็บไปแทน
  • ภาพยนตร์คั่นฉากที่ทำออกมาได้ไม่ดี ทั้งดาราที่แสดงได้ไม่สมจริง และฉากที่ขัดกับเนื้อเรื่อง(โลกปกคลุมไปด้วยไทบีเรี่ยมจนสิ่งมีชีวิตแทบอาศัยอยู่ไม่ได้ แต่กลับมีต้นไม้เขียวชอุ่ม) [9]
  • มีเนื้อเรื่องย่ำแย่ เนื่องจากการดำเนินเรื่องชวนสับสน หลายๆอย่างไม่กระจ่าง แถมยังจบโดยไม่ได้ข้อสรุป ไม่สมกับที่อิเลคโทรนิค อาร์ตกล่าวว่าจะเป็นภาคสุดท้าย
  • ในการเล่นเกมต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศไทยตรงที่การเชื่อมต่อมักไม่เสถียร ทำให้เล่นได้ไม่ต่อเนื่อง

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.myspace.com/jameshannigan
  2. "C&C4: Tiberian Twilight Dated". 2009-12-11.
  3. "C&C4: Tiberian Twilight Dated". 2009-12-11.
  4. Tcutch (2009-08-21). "Tiberian Twilight". Electronic Arts. สืบค้นเมื่อ 2009-08-22.
  5. "EA Los Angeles announces the development of Command & Conquer 4" (Press release). Electronic Arts. 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2009-07-10.
  6. http://www.cncden.com/index.php?subaction=showcomments&id=1247458350&archive=&start_from=&ucat=22&
  7. 7.0 7.1 http://www.cncden.com/index.php?subaction=showcomments&id=1248746845&archive=&start_from=&ucat=22&
  8. http://www.cncden.com/index.php?subaction=showcomments&id=1247514248&archive=&start_from=&ucat=22&
  9. 1, http://www.vagabondteam.com/index.php/Review/PC/CC4-Tiberian-Twilight-Review.html.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]