ควีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ควีน
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดลอนดอน, อังกฤษ
แนวเพลงร็อก
ช่วงปีค.ศ. 1970 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิกไบรอัน เมย์
โรเจอร์ เทย์เลอร์
อดีตสมาชิกเฟรดดี เมอร์คูรี
จอห์น ดีคอน
เว็บไซต์queenonline.com

ควีน (อังกฤษ: Queen) เป็นวงร็อกจากประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1970 มีสมาชิกดั้งเดิมประกอบด้วย เฟรดดี เมอร์คูรี (ร้องนำ , เปียโน) ไบรอัน เมย์ (กีตาร์ , ร้องนำ) จอห์น ดีคอน (กีตาร์เบส) และโรเจอร์ เทย์เลอร์ (กลอง , ร้องนำ) วงควีนผลงานแรกพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลง ร็อก แอนด์ โรล และฮาร์ดร็อก

ก่อนที่จะเป็นวงควีน ไบรอัน เมย์ และ โรเจอร์ เทย์เลอร์ ได้เป็นสมาชิกวงสไมล์ (Smile) มาก่อน เมอร์คูรีเป็นแฟนเพลงตัวยงของวงสไมล์ และสนับสนุนวงในการอัดเพลงและคอนเสิร์ตการแสดงต่าง ๆ จนเขาได้ร่วมวงในปี ค.ศ. 1970 และได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น ควีน และชื่อบนเวทีของเขาที่คุ้นเคย จอห์น ดีคอน ได้รับการคัดเลือกก่อนที่จะเปิดตัวอัลบั้มแรกของพวกเขาในปี ค.ศ. 1973 จอห์น ดีคอนยังได้ถูกคัดเลือกก่อนที่จะอัดอัลบั้มเปิดตัวชุดแรกของพวกเขาในปี ค.ศ. 1973 ควีนประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักรสำหรับอัลบั้มเปิดตัวของพวกเขา ตามมาด้วยอัลบั้มชุดที่สอง Queen II ในปี ค.ศ. 1974 และอัลบั้มชุดที่ 3 Sheer Heart Attack ในปี ค.ศ. 1974 และอัลบั้มชุดที่ 4 A Night at the Opera ในปี ค.ศ. 1975 ส่งผลให้พวกเขาประสบความสำเร็จสู่ระดับนานาชาติ ซิงเกิล "Bohemian Rhapsody" ขึ้นติดอันดับหนึ่งในชาร์จของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเก้าสัปดาห์ และติดชาร์จอันดับหนึ่งในหลายประเทศ และวงควีนยังติดท็อปสิบอันดับใน บิลบอร์ด ฮอต 100 ผลงานอัลบั้มชุดที่ 6 News of The World ในปี ค.ศ. 1977 อัลบั้มชุดนี้ยังประกอบด้วยเพลงที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นเพลงชาติของชาวร็อกอย่าง "We Will Rock You" และ "We Are the Champions"

ในช่วงประมาณทศวรรษ 1980 ควีน ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่แสดงสดได้อย่างยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่ พร้อมโดยซิงเกิลของพวกเขา "Another One Bites the Dust" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่มียอดขายดีอย่างมาก และการแสดงในคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ยังถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดของประวัติศาสตร์วงการเพลงร็อก ในปี ค.ศ. 1991 เมอร์คูรีเสียชีวิตจากภาวะหลอดลมใหญ่และปอดอักเสบจากภาวะแทรกซ้อนจากเอดส์ และดีคอนเกษียณตัวเองในปี ค.ศ. 1997 ตั้งแต่นั้นมา เมย์ และ เทย์เลอร์ได้แสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน และการร่วมมือกับพอล รอดเจอร์ส และอดัม แลมเบิร์ต

วงควีนมี 18 อัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้ม และ 18 ซิงเกิลขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตซิงเกิล , ยอดขายพวกเขาขายไปได้ถึงประมาณ 150 ล้าน ถึง 300 ล้านแผ่นเสียง , ทำให้พวกเขาติดหนึ่งในศิลปินที่มียอดขายสูง พวกเขายังมีผลงานอันโดดเด่นโดยได้รับรางวัลบริทิชมิวสิกอวอร์ดจากวงการแผ่นเสียงของอังกฤษในปี ค.ศ. 1990 พวกเขาได้รับการบรรจุเข้าสู่ หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 2001

ประวัติ[แก้]

ค.ศ. 1968 - 1971 : ก่อตั้งวง[แก้]

ควีนในช่วงปี 1970 ซ้ายไปขวา; ไมค์ กรอส(สมาชิกดั้งเดิม), โรเจอร์ เทย์เลอร์, เฟรดดี เมอร์คูรี, ไบรอัน เมย์

สมาชิกก่อต้งของควีน พบกันที่อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ในช่วงปลายทศวรรณ 1960 "ไบรอัน เมย์" (กีตาร์) นักศึกษาด้านฟิสิกส์และดาราศาตร์ และ "ทิม สตาฟเฟลล์" (เบส, ร้องนำ) ได้ฟอร์มวงที่มีชื่อว่า “Smile” (สไมล์) เพื่อเล่นดนตรีในคลับเล็กๆ ในกรุงลอนดอน[1] โดยเมย์ได้ติดประกาศในวิทยาลัยเพื่อออดิชั่นหามือกลองของวง และได้ "โรเจอร์ เทย์เลอร์" นักศึกษาทันตแพทย์[2](ต่อมาเปลี่ยนไปเรียนชีววิทยา)[3] มาเป็นมือกลอง

สตาฟเฟิลล์เรียนอยู่ที่วิทยาลัยศิลปะ เอลลิ่ง อาร์ต คอลเลจ และเป็นเพื่อนกับนักศึกษาจากรัฐแซนซิบาร์ ชาวอินเดียปาร์ซี[4][5] นามว่า "ฟารุก หรือ เฟรดดี บัลซารา" ซึ่งเขาศึกษาด้านออกแบบแฟชั่น ก่อนที่จะย้ายไปศึกษาด้านกราฟิกอาร์ตและการออกแบบ[6] เฟรดดีเป็นแฟนตัวยงของวงสไมล์ เขาถามว่าเขาสามารถเข้าร่วมวงในฐานะนักร้องนำได้หรือไม่ แต่เมย์ยังรู้สึกว่าสตาฟเฟลล์ ยังไม่ทิ้งบทบาทนักร้องนำของวงสไมล์ได้ และเฟรดดียังทำงานขายของแผงลอยในตลาดเคนซิงตัลร่วมกับเทย์เลอร์ด้วย[7] ต่อมาในปี 1970 สตาฟเฟลล์ ได้ลาออกจากวงสไมล์ไปตั้งวงดนตรีใหม่ ทำให้สมาชิกที่เหลือยอมรับเฟรดดี ให้เข้ามาร่วมงานในฐานะนักร้องนำของวง เฟรดดีแนะนำว่าควรเปลี่ยนชื่อวงใหม่ โดยใช้ชื่อว่า "Queen" (ควีน) และเขาก็เปลี่ยนนามสกุลมาเป็น “เมอร์คูรี” หลังจากนั้น ได้มีมือเบสหลายคนเข้ามาร่วมงานกับวงควีน แต่แสดงได้ไม่กี่โชว์ก็ลาออกไป และสุดท้ายมาลงเอยอยู่ที่ "จอห์น ดีคอน"

ด้วยความที่เฟรดดีเรียนทางด้านศิลปะมา เขาจึงออกแบบตราประจำหรือโลโก้ของควีนด้วยตัวเอง โดยได้ใช้สัตว์เพื่อแทนราศีเกิดของสมาชิกวง สิงโต (แทนราศีสิงห์) แทนดีคอนและเทย์เลอร์ ปู (แทนราศีกรกฎ) แทนเมย์ และนางฟ้าสองตน (แทนราศีกันย์) แทนเฟรดดี[8] ซึ่งโลโก้วงควีนนี้มีความคล้ายคลึงกับตราประจำแผ่นดินของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะรูปสิงโต[9] โดยโลโก้ควีนดั้งเดิมที่พบด้านหลังของปกอัลบั้มชุดแรกของวง เป็นภาพลายเส้นที่เรียบง่าย และในอัลบั้มชุดต่อ ๆ มา โลโก้ก็มีการใส่สีที่สลับซับซ้อนมากขึ้น[9][10]

ค.ศ. 1971–1974 : Queen และ Queen II[แก้]

วงควีน โดยมีสมาชิกวงคือ เฟรดดี เมอร์คูรี, ไบรอัน เมย์, โรเจอร์ เทย์เลอร์ และ จอห์น ดีคอน ได้ทำการแสดงสดครั้งแรกที่ Surrey college นอกกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1971[11] เมย์ได้ติดต่อเทอร์รี่ เยดอน วิศวกรที่ Pye Studios ที่วงสไมล์เคยบันทึกเสียงเพลงที่นี่ไว้ เพื่อหาสตูดิโอบันทึกเสียงอัลบั้ม[12] ซึ่งเยดอน ได้ให้ควีนไปบันทึกเสียงที่ De Lane Lea Studio ในเวมบลีย์ แทนวง the Kinks ซึ่งติดต่อไม่ได้ เยดอนบอกควีนว่า พวกเขาสามารถบันทึกเสียงที่นี่บางส่วน เพื่อแลกกับการทดสอบอุปกรณ์ต่างๆในสตูดิโอแห่งนี้ โดยควีนได้บันทึกเสียงเพลงของพวกเขา 5 เพลง ได้แก่ "Liar", "Keep Yourself Alive", "Great King Rat", "The Night Comes Down" และ "Jesus" ระหว่างบันทึกเสียง จอห์น แอนโธนี่ ได้ไปเยี่ยมวงควีนกับ รอย โธมัส เบเกอร์ ทั้งสองได้หยิบเพลง "Keep Yourself Alive" และเริ่มโปรโมตวงควีนกับบริษัทแผ่นเสียงหลายแห่ง[13]

ควีนได้รับความสนใจจากค่ายเพลง Charisma Records ซึ่งเสนอเงินล่วงหน้าให้ควีน 2.5 หมื่นปอนด์ แต่ควีนได้ปฏิเสธ เมื่อพวกเขารู้ดีว่าค่ายเพลงนี้ให้ความสำคัญกับวงเจเนซิส มากกว่าพวกเขา จากนั้น นอร์แมน เชฟฟิลด์ แห่งค่าย Trident Studios ได้เสนอให้วงควีนมาอยู่สังกัดค่าย Neptune Production ซึ่งเป็นค่ายเพลงย่อยของ Trident และให้วงควีนบันทึกเสียงเพลงด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคสมัยนั้น[14]

ควีนเริ่มต้นปี ค.ศ. 1972 ด้วยการแสดงสดที่วิทยาลัยเบดฟอร์ด กรุงลอนดอน ซึ่งมีผู้เข้าชมการแสดงเพียง 6 คนเท่านั้น หลังจากนั้นการแสดงอีกสองสามรายการ พวกเขาจึงหยุดการแสดงสดเป็นเวลาแปดเดือน เพื่อทำงานอัลบั้มกับแอนโธนี่และเบเกอร์ โดยช่วงเริ่มต้นของการทำงาน ควีน (โดยเฉพาะเมย์) ได้มีปัญหากับทั้งแอนโธนี่และเบเกอร์ ในเรื่องทิศทางของอัลบั้ม โดยควีนพยายามรวมความสมบูรณ์แบบทางเทคนิคเข้ากับความเป็นจริงของการแสดงสด[15] อัลบั้มชุดนี้เป็นการผสมผสานแนวเพลงระหว่างเฮฟวีเมทัลและโปรเกรสซีฟร็อก ผสานเข้ากับการประสานเสียงอันหนาแน่นแบบดนตรีคลาสสิก[16] เมื่อบันทึกอัลบั้มจนแล้วเสร็จทุกเพลง ควีนจึงได้เดินสายโปรโมตอัลบั้มซึ่งยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973 ทาง BBC Radio 1 และในเดือนต่อมา EMI Record ซึ่งได้ตกลงกับค่าย Trident นำเพลง Keep Yourself Alive ออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 1973 โดยอัลบั้มชุดแรก Queen ได้เปิดตัวในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ปกหน้าอัลบั้มแสดงให้เห็นภาพเมอร์คูรี บนเวทีแสดงสด ซึ่งถ่ายโดยดักลาส พุดดิฟุต เพื่อนของโรเจอร์ เทย์เลอร์ อัลบั้มชุดนี้มีเพลงฮิต เช่น "Keep Yourself Alive", “Doing All Right”, “Great King Rat”, “Liar”, “Son and Daughter” ซึ่งอัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จเพียงในระดับเล็กน้อยเท่านั้น

ควีนเริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มที่สองของพวกเขาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1973 และใช้เวลาที่เหลือในปีนั้น ไปกับการทัวร์การแสดงสดในสหราชอาณาจักร โดยเล่นเป็นวงเปิดให้กับวง Mott The Hoople[17] ทัวร์จบลงด้วยการแสดงสดอีกสองรายการที่แฮมเมอร์สมิธ โอเดียน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม โดยมีผู้ชมในการแสดงสดถึง 7,000 คน[18]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1974 ควีนทำการแสดงสดในเทศกาล Sunbury Pop ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งพวกเขาถูกผู้ชมในการแสดงดังกล่าวดูถูกล้อเลียนและเยาะเย้ย ก่อนจบคอนเสิร์ต เฟรดดีได้ประกาศว่า “เมื่อพวกเรากลับมาที่ออสเตรเลีย ควีนจะเป็นวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุในโลก! ” อัลบั้มที่สองของควีน Queen II ปล่อยตัวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1974 กับภาพปกอัลบั้มภาพสมาชิกวงควีนซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากมาร์เลเนอ ดีทริช ศิลปินชาวอเมริกัน ถ่ายภาพด้วย มิกค์ ร็อก ภาพนี้ถูกถ่ายทำขึ้นอีกครั้ง เพื่อนำไปประกอบในมิวสิกวิดีโอเพลง Bohemian Rhapsody[19][20] อัลบั้มชุด Queen II กลายเป็นอัลบั้มชุดแรกที่ขึ้นชาร์ตในสหราชอาณาจักร โดยขึ้นติดอันดับที่ห้าในชาร์ตซิงเกิลอังกฤษ ซิงเกิลนำที่เขียนโดยเฟรดดี เมอร์คูรี “Seven Seas Of Rhye” สามารถขึ้นชาร์ตถึงอันดับที่ 10 ในสหราชอาณาจักร[21] อัลบั้มนี้มีเสียงแบบเลเยอร์ ซึ่งจะกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในเพลงของควีน รวมถึงเนื้อหาเพลงที่ยาวซับซ้อนและออกแนวแฟนตาซี[22][23] และถือเป็นอัลบั้มแรกจากสามอัลบั้มของควีนที่รวมอยู่ในหนังสือ “1001 Albums You Must Hear Before You Die” (1001 อัลบั้มที่คุณต้องฟังก่อนตาย)[24] อัลบั้ม Queen II มีเพลงฮิตอย่างเพลง “Seven Seas Of Rhye”, “Ogre Battle”, “The Maech Of the Black Queen” , “White Queen”

ค.ศ. 1974–1976: Sheer Heart Attack และ A Night at the Opera[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1974 หนึ่งเดือนในการทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกาเป็นครั้งแรกของวงควีน ร่วมกับวง Mott the Hoople เมย์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคตับอักเสบ ทำให้ต้องยกเลิกคอนเสิร์ตที่เหลืออยู่[22] เพื่อให้เมย์ได้พักฟื้นร่างกาย และไม่ได้อยู่ร่วมกับควีนในการทำงานในอัลบั้มชุดที่สาม แต่ในที่สุดเขาก็ได้กลับมาร่วมงานกับควีนระหว่างการบันทึกเสียงอัลบั้มชุดดังกล่าว[25] อัลบั้มชุดที่สาม Sheer Heart Attack เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1974 และได้ขึ้นถึงอันดับที่สองในสหราชอาณาจักร[26] ขายดีไปทั่วยุโรป และได้รับเหรียญทองในสหรัฐอเมริกา[27] เป็นครั้งแรกที่ควีนประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ทั้งได้รับความนิยมในแถบมหาสมุทรแอตแลนติกอีกด้วย[28] อัลบั้ม Sheer Heart Attack ได้ทดลองแนวเพลงที่หลากหลาย เช่น มิวสิกฮอลล์ เฮฟวี่เมทัล บัลลาด แร็กไทม์ และแคริบเบียน อัลบั้มนี้มีเพลงฮิต เช่น “Now I’m Here” เพลงจังหวะหนักแน่นและมีเสียงประสานที่ลงตัว, “Brighton Rock” เพลงที่มีโซโล่กีตาร์ที่ยาวที่สุดเพลงหนึ่งของควีน และถือเป็นโซโล่กีตาร์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไบรอัน เมย์, “Stone Cold Crazy” เพลงแนวสปีดเมทัลร็อกซึ่งต่อมาถูกนำไปทำใหม่โดยวงเมทัลลิกา, “In the Lap of the Gods…Revisited” เพลงที่เฟรดดีแต่งด้วยความตั้งใจที่จะให้ผู้ชมสามารถร้องเพลงประสานเสียงได้เมื่อเล่นสด และเพลง “Killer Queen” ซึ่งแต่งโดยเฟรดดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาวโสเภณีชั้นสูง[29] เพลงนี้ขึ้นชาร์ตถึงอันดับที่สองในอังกฤษ[30] และกลายเป็นเพลงฮิตเพลงแรกในอเมริกา โดยขึ้นถึงอันดับที่ 12 บนบิลบอร์ดฮอต 100[31] นอกจากนี้อัลบั้ม Sheer Heart Attack ยังเป็นอัลบั้มชุดที่สองในสามอัลบั้มของควีนที่ปรากฏในหนังสือ “1001 Albums You Must Hear Before You Die” (1001 อัลบั้มที่คุณต้องฟังก่อนตาย) และนิตยสาร Classic Rock ได้จัดอันดับให้อัลบั้มชุดนี้อยู่ในอันดับที่ 28 ใน "The 100 Greatest British Rock Albums Ever" (100 อัลบั้มร็อกอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา) [24] ด้วยความสำเร็จจากอัลบั้มชุดดังกล่าว ทำให้ควีนมีโอกาสได้ทัวร์แสดงคอนเสิร์ตทั่วโลก โดยได้แสดงในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นครั้งแรก[32] รวมถึงได้ไปไกลถึงประเทศญี่ปุ่น [33][34] พวกเขาได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงหลายพันคน

ควีนเริ่มทำงานในอัลบั้มชุดที่สี่ของพวกเขา A Night at the Opera โดยชื่ออัลบั้มมาจากชื่อภาพยนตร์ของ Marx Brothers เป็นอัลบั้มที่ขายแพงที่สุดเท่าที่เคยมีมาโดยขายในราคา 40,000 ปอนด์ และใช้สตูดิโอถึงสามแห่งในการบันทึกเสียง ในเวลานี้ควีนได้ตัดสินใจยุติสัญญากับค่าย Trident[35] และไม่ใช้สตูดิโอของค่ายนี้ในการทำงานอัลบั้ม (ยกเว้นเพลง God Save the Queen) เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างควีนและนอร์แมน เชฟฟิลด์ ผู้จัดการวง เนื่องจากนอร์แมนไม่ได้แบ่งส่วนแบ่งของผลงานชุดที่ผ่านมาให้กับควีนอย่างยุติธรรม อัลบั้มชุดนี้มีการทำดนตรีที่ซับซ้อนกว่าอัลบั้มชุดที่ผ่านมา โดยใช้การบันทึกเสียงซ้ำๆหลายๆแทร็ก และเพลงในอัลบั้มยังรวมเอาสไตล์ดนตรีที่หลากหลาย เช่น เพลงบัลลาด มิวสิกฮอลล์ แจ๊สแบบดั้งเดิม ฮาร์คร็อก และโปรแกรสซีฟร็อก รวมถึงยังใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายเช่น ดับเบิลเบส พิณ อคูเลเล่ ฯลฯ

อัลบั้ม A Night at the Opera มีเพลงฮิต เช่น "Death on Two Legs" เป็นเพลงที่เขียนขึ้นเพื่อประจานความชั่วร้ายเลวทรามของใครบางคน (ซึ่งก็รู้กันว่าหมายถึงนอร์แมน เชฟฟิลด์และค่าย Trident) [36][32], “I’m in Love with My Car” เพลงรักอีกสไตล์ที่เขียนและร้องโดยโรเจอร์ เทย์เลอร์ , “You’re My Best Friend” เขียนโดยจอห์น ดีคอน ได้รับการปล่อยเป็นซิงเกิลซึ่งขึ้นชาร์ตถึงอันดับที่ 16 ใน Billboard Hot 100 ของอเมริกา[31] และกลายเป็นเพลงฮิตติดอันดับท็อปเท็นทั่วโลก[37] , “‘39”, แต่งโดยเมย์ เนื้อหาเกี่ยวกับการเดินทางของกลุ่มนักบินอวกาศ[38], “Love of My Life” เพลงบัลลาดอันซาบซึ้งที่เขียนโดยเฟรดดี เพื่อมอบให้กับคู่หมั้นของเขาคือ แมรี่ ออสติน และถูกนำมาร้องบ่อยครั้งในคอนเสิร์ตของควีน แต่เล่นในเวอร์ชันอคูสติก กีตาร์ 12 สาย, “God Save the Queen” เพลงสรรเสริญพระบารมีของประเทศอังกฤษ ที่เรียบเรียงและถ่ายทอดผ่านเสียงกีตาร์อันเป็นเอกลักษณ์ของไบรอัน เมย์ และเพลง “Bohemian Rhapsody” ผลงานการเขียนเพลงโดย เฟรดดี เมอร์คูรี เป็นเรื่องราวของชีวิตอันแสนเลวร้ายของชายคนหนึ่ง เพลงนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นแบบบัลลาด ส่วนที่สองเป็นแบบโอเปร่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนในการทำเพลงมากที่สุด โดยเป็นการร้องของสมาชิกวงควีน(ยกเว้นดีคอน) ที่ร้องแยกไว้หลายๆแทร็กนับไม่ถ้วน แล้วนำมาอัดทับกันเป็นท่อนโอเปร่าท่อนเดียว และส่วนที่สามคือส่วนของท่อนโซโล่แบบเฮวี่เมทัล เพลงนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นเพลงที่ค่าใช้จ่ายในการบันทึกสูงที่สุดในโลกในขณะนั้น แม้ว่าไม่ทราบจำนวนเงินทั้งหมดที่แน่ชัดก็ตาม[39] นอกจากนี้เพลง “Bohemian Rhapsody” ยังมีมิวลิควิดีโอซึ่งกำกับโดยบรูซ กาวเวอร์ส ส่วนหนึ่งมิวสิกวิดีโอเป็นภาพสมาชิกวงควีนสี่คนที่ยืนเรียงกันเหมือนปกอัลบั้ม Queen II แต่สามารถเคลื่อนไหวและร้องเพลงได้ เป็นภาพที่น่าจดจำของแฟนเพลงวงควีนและทั่วโลกในเวลาต่อมา

เพลง “Bohemian Rhapsody” ได้รับกระแสตอบรับที่ดีมากและประสบความสำเร็จมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลก โดยสามารถติดอันดับชาร์ตซิงเกิลของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเก้าสัปดาห์ (บวกอีกห้าสัปดาห์หลังจากการเสียชีวิตของเฟรดดี ในปี 1991) และยังคงเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับสามของสหราชอาณาจักรตลอดกาล นอกจากนี้ยังติดอันดับชาร์ตในประเทศต่างๆ เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ และมียอดขายมากกว่า 6 ล้านชุดทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกา เพลงนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศแกรมมี่ หลังจากการเปิดตัวภาพยนตร์ชีวประวัติ Bohemian Rhapsody ในปี 2018 เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่มีการสตรีมมากที่สุดจากศตวรรษที่ 20

อัลบั้ม A Night at the Opera ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามทั้งในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศทั่วโลก ได้รับการโหวตให้เป็นอัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล อันดับที่ 13 ของอังกฤษในปี 2004[40] ได้รับ Platinum ถึงสามครั้งในอเมริกา จัดอยู่ในอันดับที่ 16 จากอัลบั้มอังกฤษที่ดีที่สุด 50 อัลบั้มตลอดกาล ของนิตยสารคิว ในปี 2004 อันดับที่ 11 ใน อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล 100 อัลบั้ม ของนิตยสารโรลลิงสโตน ติดอยู่หนึ่งใน 500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ของนิตยสารโรลลิงสโตนเช่นกัน[41] และเป็นอัลบั้มสุดท้ายของควีนที่ปรากฏในหนังสือ 1001 Albums You Must Hear Before You Die (1001 อัลบั้มที่คุณต้องฟังก่อนตาย) [24]

ทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม A Night at the Opera เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1975 คอนเสิร์ตครอบคลุมทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย [42] วันที่ 24 ธันวาคม ควีนได้เล่นคอนเสิร์ตพิเศษที่แฮมเมอร์สมิธ โอเดียน โดยได้ถ่ายทอดสดผ่านสถานีของบีบีซี บันทึกการแสดงนี้ได้รับความนิยมมากอีกการแสดงหนึ่ง ต่อมาได้ออกเป็นอัลบั้มบันทึกการแสดงสดในชื่อ A Night at the Odeon ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 2015 [43]

ค.ศ. 1976 – 1979 : A Day at the Races ถึง Jazz[แก้]

ในปี ค.ศ.1976 ควีนอัลบั้มชุดที่ห้า A Day at the Races ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นภาคต่อจากอัลบั้ม A Night at the Opera[44][45] ชื่ออัลบั้มได้ยืมมาจากภาพยนตร์ของ Marx Brothers อีกครั้ง และปกอัลบั้มก็ยังคล้ายกับปกอัลบั้มชุดที่แล้วอีกด้วย มีเพลงฮิตในอัลบั้ม เช่น เพลง “Somebody to Love” เพลงรักที่มีเสียงประสานแบบกอสเปล[46] อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวงควีน เพลงนี้ขึ้นอันดับสองในสหราชอาณาจักร[30] และอันดับที่สิบสามในสหรัฐอเมริกา [31], “Tie Your Mother Down” เพลงร็อกสุดดุดัน ที่กลายมาเป็นเพลงหลักที่ถูกนำมาเล่นบนคอนเสิร์ตของควีนมากที่สุดเพลงหนึ่ง [47][48] นอกจากนี้ยังมีเพลง “You Take My Breath Away”, “The Millionaire Waltz”, “You and I“, “Good Old-Fashioned Lover Boy”, “Teo Torriatte (Let Us Cling Together)” อัลบั้ม A Day at the Races ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยสามารถขึ้นอันดับหนึ่งในอังกฤษและญี่ปุ่น อันดับที่ห้าในสหรัฐฯ [30][49]

ควีนได้ขึ้นแสดงฟรีคอนเสิร์ตที่สวนสาธารณะไฮด์พาร์ก กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1976 สามารถสร้างสถิติผู้ชมในคอนเสิร์ตถึง 150,000 คน [50][51] แต่คอนเสิร์ตเล่นไม่จบถึงช่วงอังกอร์ เพราะควีนมาถึงเวทีช้า และตำรวจได้แจ้งกับเฟรดดีว่าเขาจะถูกจับกุมหากพยายามขึ้นแสดงอีกครั้ง

ควีนในนิวเฮเวน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 1977 ซ้ายไปขวา; จอห์น ดีคอน, ไบรอัน เมย์, เฟรดดี เมอร์คูรี

สตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวง News of the World เปิดตัวในปี ค.ศ. 1977 อัลบั้มชุดนี้มีเพลงมากมายที่ปรับแต่งมาเพื่อการแสดงสดรวมถึงเพลงที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเพลงหนึ่งของโลกคือเพลง “We Will Rock You” เพลงปลุกใจที่มีเสียงกีตาร์โซโล่ช่วงท้ายเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ของไบรอัน เมย์ พร้อมกับการทำจังหวะเพลงโดยใช้เพียงการกระทืบเท้าและตบมือเป็นจังหวะ และเพลง “We Are the Champions” เพลงที่มักเปิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ เป็นเพลงที่เป็นที่รู้จักและติดหูของคนทั่วโลก [52] จนได้รับการเสนอชื่อในหอเกียรติยศแกรมมี่ ทั้งสองเพลงดังกล่าวนี้กลายมาเป็นเพลงประจำสนามกีฬา ที่มักเปิดขึ้นเพื่อการเฉลิมฉลองการแข่งขันกีฬา [53][54] และทั้งสองเพลงยังถูกนำมาเล่นในคอนเสิร์ตของควีนโดยมักจะเล่นเป็นลำดับสุดท้ายตามลำดับ ก่อนจบคอนเสิร์ต อัลบั้มชุดนี้ได้ Platinum ถึง 4 ครั้งในสหรัฐฯ และ 2 ครั้งในสหราชอาณาจักร ทำยอดขายในอเมริกาได้มากกว่าสี่ล้านชุด

ในปี ค.ศ. 1978 ควีนเปิดตัวอัลบั้ม Jazz ซึ่งสามารถขึ้นไปถึงอันดับที่สองในสหราชอาณาจักรและอันดับที่หกบน Billboard 2000 ในสหรัฐฯ [55] มีเพลงฮิตอย่างเพลง “Fat Bottomed Girls”, “Bicycle Race” ซึ่งมีมิวสิกวิดีโอเป็นภาพหญิงสาว 65 คนกำลังปั่นจักรยานในสภาพเปลือยกาย [56] จนกลายเป็นกระแสสังคมในเวลานั้น และเพลง “Don’t Stop Me Now” เพลงฮิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอีกเพลงหนึ่งของควีน สามารถขึ้นชาร์ตถึงอันดับที่ 9 ในอังกฤษ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในอเมริกา โดยได้ขึ้นชาร์ตเพียงอันดับที่ 86

ค.ศ. 1980 – 1982 : The Game และ Hot Space[แก้]

ควีนเริ่มต้นปี ค.ศ. 1980 ด้วยการออกผลงานอัลบั้มชุดต่อมาของพวกเขา The Game มีซิงเกิลเพลงฮิตอย่างเพลง "Crazy Little Thing Called Love" เพลงร็อกอะบิลลีสไตล์ของเอลวิส เพรสลีย์ [57][58] ซึ่งเคยถูกปล่อยซิงเกิลในปี 1979 เพลงนี้ติดอันดับท็อปเท็นในหลายประเทศ ติดอันดับชาร์ต ARIA ของออสเตรเลียเป็นเวลาเจ็ดสัปดาห์ติดต่อกัน และเป็นซิงเกิลอันดับหนึ่งของวงในสหรัฐอเมริกาที่ติดอันดับ Billboard Hot 100 เป็นเวลาสี่สัปดาห์ เพลงนี้เป็นครั้งแรกที่เฟรดดีร้องเพลงคู่กับเล่นกีตาร์ไปด้วยบนเวทีคอนเสิร์ต, เพลง “Another One Bites the Dust” แต่งเพลงโดยมือเบสของควีน จอห์น ดีคอน ซึ่งได้ปล่อยเพลงนี้ตามคำแนะนำของไมเคิล แจ็คสัน เพลงนี้ได้สร้างความแปลกใหม่ โดยมีการใช้เสียงสังเคราะห์ภายในเพลง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในเพลงของควีน เป็นอีกเพลงหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและได้รับคาวมนิยมไปทั่วโลก โดยติดชาร์ตอันดับหนึ่งในอเมริกา Billboard Hot 100 เป็นเวลาสามสัปดาห์[59] อันดับที่เจ็ดในชาร์ตซิงเกิลของสหราชอาณาจักร[60][61] เพลงนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของควีน โดยมียอดขายมากกว่า 7 ล้านชุด[62] และในปีเดียวกันควีนยังได้ปล่อยอัลบั้มพิเศษ Flash Gordon โดยเพลงในอัลบั้มทั้งหมดใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Flash Gordon ที่ออกฉายเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1980 แต่เนื่องจากเพลงส่วนมากเป็นเพลงบรรเลงที่ขาดความน่าสนใจ ทำให้อัลบั้มนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

ควีนกับนักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา ดิเอโก มาราโดนา (กลาง) ระหว่างทัวร์คอนเสิร์ต The Game Tour ในอเมริกาใต้

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 ควีนได้เดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม The Game ควีนถือเป็นวงดนตรีร็อกรายใหญ่วงแรกที่มาแสดงคอนเสิร์ตถึงที่นี่ โดยเริ่มแสดงที่เมืองบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งสามารถดึดดูดผู้ชมได้ถึง 300,000 คน[63] และที่สนามกีฬาโมรุงบี เมืองเซาเปาลู ประเทศบราซิล ซึ่งมีผู้ชมมากกว่า 120,000 - 130,000 คน[64] และวงควีนยังได้รับการแนะนำให้รู้จักกับนักฟุตบอลชื่อดัง ดิเอโก มาราโดนา[65]

และในช่วงท้ายทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม The Game ในเดือนพฤศจิกายน 1981 ควีนได้ทำการแสดง 2 คืนที่ Montreal Foram ประเทศแคนาดา คอนเสิร์ตนี้ถูกบันทึกไว้ในอัลบั้มแสดงสด Queen Rock Montreal[66]

ควีนได้ออกอัลบั้มรวมเพลงชุดแรกของวง Greatest Hits ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1981 โดยรวมเพลงฮิตขอวงควีนตั้งแต่ปี 1974 – 1981[67] อัลบั้มดังกล่าวประสบความสำเร็จสูงสุด ในอังกฤษสามารถเข้าอยู่ในชาร์ตเป็นเวลาถึง 450 สัปดาห์[68][69] และสามารถทำยอดขายรวม 7 ล้านชุด[70] ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงสหราชอาณาจักร สามารถทำยอดขายในอเมริกาถึง 8 ล้านชุดและได้รับ Platinum ถึง 9 ครั้ง[27] และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 อัลบั้มชุดนี้มียอดขายทั่วโลกสูงสุดกว่า 25 ล้านชุด[71]

ในปี ค.ศ. 1982 ควีนเปิดตัวอัลบั้มชุดต่อมา Hot Space โดยคราวนี้มีแนวเพลงที่แปลกใหม่กว่าอัลบั้มชุดที่ผ่านมาคือ มีส่วนผสมของแนวเพลงป็อปร็อก ดิสโก้ ฟังก์และอาร์แอนด์บี [72] ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่ปั่นป่วนวุ่นวายที่สุดภายในวง[73] เฟรดดีและจอห์น พอใจกับแนวเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ซึ่งตรงข้ามกับไบรอันและโรเจอร์อย่างสิ้นเชิง และวิจารณ์ว่ามาจากอิทธิพลของพอล แพลนเตอร์.[74] ผู้จัดการส่วนตัวและคนรักของเฟรดดีซึ่งเกลียดชังเพลงร็อกเป็นอย่างมาก และไม่ค่อยลงรอยกับไบรอัน เมย์ซักเท่าไหร่ อัลบั้มชุดนี้มีเพลงฮิตอย่างเพลง “Under Pressure” ซึ่งถูกปล่อยเป็นซิงเกิลรวมอยู่ในอัลบั้ม Greatest Hits (เฉพาะเวอร์ชันในอเมริกาและแคนาดา) ในปี 1981 ถือเป็นการทำงานครั้งแรกระหว่างควีน และเดวิด โบวี่ ซึ่งเขาบังเอิญแวะไปที่สตูดิโอในขณะที่ควีนกำลังบันทึกเสียงเพลง เฟรดดีและโบวี่บันทึกเสียงในแทร็กที่แยกกัน เพลงนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพลงหนึ่งของควีน โดยติดอันดับชาร์ตอันดับที่หนึ่งในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีเพลงฮิต เช่น “Staying Power”, “Back Chat”, “Body Language”, “Calling All Girls”, “Las Palabras de Amor (The Words of Love)” แต่อัลบั้มชุดนี้กลับได้รับกระแสตอบรับที่ย่ำแย่มากจากแฟนเพลงซึ่งยอมรับไม่ได้กับเนื้อหาและแนวเพลงใหม่ ทำให้ยอดขายอัลบั้มชุดนี้ลดลงกว่าอัลบั้มชุดก่อนหน้า

ทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม Hot Space ได้มีสมาชิกในทัวร์เพิ่มเติมในตำแหน่งคีย์บอร์ดและเปียโน[75] ได้แก่ มอร์แกน ฟิชเชอร์ อดีตมือคีย์บอร์ดวง Mott The Hoople ซึ่งควีนเคยไปเล่นเป็นวงเปิดให้ในช่วงที่ควีนเริ่มก่อตั้งวงใหม่ๆ แต่ได้ร่วมทัวร์เฉพาะในทวีปยุโรปเท่านั้น และ เฟรด แมนเดล ก็มารับไม้ต่อจากมอร์แกน ร่วมทัวร์กับควีนในการแสดงที่เหลือในทวีปอเมริกาเหนือ[76]และญี่ปุ่น ทัวร์อัลบั้มชุดนี้ถือเป็นทัวร์คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในทวีปอเมริกาเหนือ โดยการแสดงครั้งสุดท้ายมีขึ้นในรายการ Saturday Night Live เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1982[77] และควีนได้กลับมาทัวร์คอนเสิร์ตในอเมริกาอีกครั้งหลังจากเฟรดดีเสียชีวิตแล้ว ทัวร์ครั้งสุดท้ายของอัลบั้ม Hot Space จบลงที่เมืองโทโคโรซาวะ ประเทศญี่ปุ่น[78] เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1982 และหลังจากนั้นสมาชิกวงควีนได้ตัดสินใจหยุดพักงานชั่วคราวและแยกย้ายกันไปเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ค.ศ. 1984 – 1986 : The Works, Live Aid และ A Kind of Magic[แก้]

ควีนในแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 6 กันยายน 1984

หลังจากสมาชิกวงควีนแยกย้ายกันไปแล้ว โรเจอร์ เทย์เลอร์ ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดที่สองของเขา Strange Frontier ไบรอัน เมย์ ออกมินิอัลบั้ม Star Fleet Project ควีนได้ออกจากค่าย Elektra Records และเซ็นสัญญากับค่าย EMI Capitol Records[79]

หลังจากที่ควีนพักงานไปได้ 9 เดือน ก็กลับมาประชุมกันอีกครั้งเพื่อเริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มชุดใหม่ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 ควีนเปิดตัวสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 11 The Works มีเพลงฮิต เช่น เพลง “Radio Ga Ga” แต่งโดยโรเจอร์ เทย์เลอร์ เพลงแนวซินธิป๊อปที่เล่าถึงวงการเพลงที่เปลี่ยนไป เพลงนี้ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จ โดยติดชาร์ต 20 อันดับแรกในหลายประเทศ, เพลง “I Want to Break Free” [80][81] แต่งโดยจอห์น ดีคอน กับภาพมิวสิกวิดีโอที่เป็นที่จดจำของแฟนเพลง โดยสมาชิกควีนทุกคนจะแต่งตัวข้ามเพศ โดยล้อเลียนตัวละครจากละครโทรทัศน์เรื่อง Coronation Street ในประเทศอังกฤษ[82] และเพลงนี้ยังถูกยกย่องให้เป็นเพลงเพื่อการต่อสู้ต่อผู้กดขี่ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้[83][84] นอกจากนี้ยังมีเพลงฮิตอื่นๆ เช่น “Tear It Up”, “It’s a Hard Life”, “Hammer to Fall”, “Is this the World We Created…?” อัลบั้ม The Works สามารถขึ้นชาร์ตในอังกฤษเป็นเวลาสองปี[85] ได้รับ Platinum 3 ครั้ง และนิตยสารโรลลิงสโตนยกย่องอัลบั้มชุดนี้ให้เป็น Led Zeppelin ที่ 2 แห่งยุค 80[79] แต่อัลบั้มชุดนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จมากนักในสหรัฐอเมริกา

ควีนเริ่มทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม The Works ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1984 โดยได้สมาชิกทัวร์เพิ่มเติมในตำแหน่งคีย์บอร์ดและเปียโนคือ สไปค์ เอ็ดนี และสไปค์ก็ได้ร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับวงควีนมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน การแสดงสดที่ถูกพูดถึงกันมากอีกครั้งหนึ่งนั่นคือ การแสดงสดของควีนในเทศกาล Rock in Rio ที่เมืองริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1985 โดยแสดงทั้งหมดสองคืน เป็นการแสดงสดของวงควีนต่อหน้าผู้ชมกว่า 300,000 คนต่อคืน และมีไฮไลต์บันทึกการแสดงสดทั้งสองคืนเผยแพร่ทางเอ็มทีวี ในสหรัฐอเมริกา[86][87] ทัวร์อัลบั้ม The Works จบลงที่ประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่นตามลำดับ[88] และถือเป็นการแสดงสดครั้งสุดท้ายของควีนสำหรับทั้งสองประเทศ จนกระทั่งเฟรดดีเสียชีวิต

ควีนกลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อขึ้นแสดงในคอนเสิร์ต Live Aid ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ต่อหน้าผู้ชมในสนาม 72,000 คนที่พร้อมใจกันตบมือและส่งเสียงร้องเพลงดังไปทั่วทั้งสนามเวมบลีย์[89][90] และผู้ชมทางโทรทัศน์กว่า 1,500 ล้านคน ถือเป็นการแสดงครั้งประวัติศาสตร์ของวงควีน จนสำนักข่าว บีบีซี, ซีเอ็นเอ็น, โรลลิงสโตน, เอ็มทีวี และเดอะเดลีเทลิกราฟ รวมถึงศิลปินคนอื่นๆ ที่ร่วมแสดงในคอนเสิร์ตเดียวกันอย่างเอลตัน จอห์น, คลิฟฟ์ ริชาร์ด ต่างกล่าวกันว่าควีน “ขโมย” ความโดดเด่นของทุกคนในคอนเสิร์ต และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในการแสดงสดที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรี[91][92]

ปี ค.ศ 1986 ควีนออกอัลบั้ม A Kind of Magic ซึ่งมีหลายๆเพลงที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Highlander[93] อัลบั้มชุดนี้ประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักร เยอรมนี และอีกหลายประเทศ โดยมีเพลงฮิตมากมาย เช่น “One Vision”, “A Kind of Magic”, “Friends Will Be Friends”, “Who Wants to Live Forever”, “Princes of the Universe” แต่อัลบั้มชุดนี้กลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากในทวีปอเมริกาเหนืออีกตามเคย[94]

ในช่วงกลางปี 1986 ควีนเริ่มทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้ม A Kind Of Magic ซึ่งเป็นทัวร์คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของควีนที่มี เฟรดดี เมอร์คูรี[95] ทัวร์คอนเสิร์ตครั้งนี้ควีนยังคงใช้สไปค์ เอ็ดนี ในฐานะคีย์บอร์ดและเปียโนอีกครั้ง[96][97] ไฮไลต์ของทัวร์คอนเสิร์ตนี้ อยู่ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ โดยควีนได้แสดงทั้งหมดสองคืนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1986 ถือเป็นหนึ่งในคอนเสิร์ตร็อกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในยุโรปตะวันออก และมีอัลบั้มบันทึกการแสดงในครั้งนี้ออกมาในชื่อ Queen at Wembley สามารถทำยอดขายได้เกินหนึ่งล้านชุด[98][99] ได้รับ Platinum ถึง 5 ครั้งในอเมริกา และ 4 ครั้งในสหราชอาณาจักร[27][100] และคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของควีนที่มีเฟรดดี เมอร์คูรี จัดขึ้นที่สวนสาธารณะเน็บเวิร์ธ[101][102] ในวันที่ 9 สิงหาคม มีแฟนเพลงมาเข้าชมถึง 120,000 คน

ค.ศ. 1988 – 1991 : The Miracle, Innuendo และช่วงชีวิตสุดท้ายของเฟรดดี[แก้]

"เมื่อเรารู้ว่าเฟรดดียังอยู่ เราก็ยังก้มหน้าทำงานต่อไป"

—ไบรอัน เมย์[103]

ในปี 1987 เฟรดดีถูกตรวจพบว่ามีไวรัสเอชไอวี เขาตัดสินใจไม่เปิดเผยอาการเจ็บป่วยของเขาต่อสาธารณชน มีเพียงเพื่อนร่วมงานและเพื่อนร่วมวงไม่กี่คนที่ทราบเรื่องนี้[103] แม้แต่คนในครอบครัวของเฟรดดีก็ยังไม่ทราบถึงเรื่องนี้มาก่อน ในระหว่างนี้เฟรดดีและวงควีนได้ปฏิเสธข่าวลือเรื่องอาการป่วยของเขามาโดยตลอด อย่างไรก็ดี เฟรดดียังคงตัดสินใจทำผลงานเพลงต่อไป

หลังจากการทำผลงานเดี่ยวของเฟรดดีกับมุนซาร์รัต กาบัลเย ในอัลบั้ม Barcelona เมื่อปี ค.ศ. 1988 ควีนได้เปิดตัวอัลบั้มชุดที่ 13 The Miracle ในปี ค.ศ. 1989 มีเพลงฮิตอย่างเพลง “I Want It All” เขียนเพลงโดยไบรอัน เมย์ ซึ่งกลายมาเป็นเพลงต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ นอกจากนี้ยังมีเพลง “Breakthru”, “The Invisible Man”, “Scandal”, “The Miracle” [104][105] อัลบั้มชุดนี้เริ่มเปลี่ยนทิศทางการแต่งเพลงของควีน ก่อนหน้านั้นเพลงเกือบทั้งหมดเขียนขึ้นและให้เครดิตกับสมาชิกคนเดียว แต่อัลบั้ม The Miracle พวกเขาพร้อมใจกันให้เครดิตการแต่งเพลงให้กับทุกคนในนาม Queen [106] อัลบั้มชุดนี้ถูกนำมาปรับปรุงเสียงใหม่และออกจำหน่ายในรูปแบบอัลบั้มบ็อกซ์เซ็ต The Miracle Collector’s Edition รวมถึงรวบรวมเพลงที่บันทึกเสียงในช่วงอัลบั้มดังกล่าวแต่ไม่ได้เผยแพร่จำนวนหกเพลงมาไว้ในบ็อกเซ็ตด้วย ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022

ในปี ค.ศ. 1990 ควีนหมดสัญญากับ Capitol Records และเซ็นสัญญากับค่าย Hollywood Records และปีนี้เอง เฟรดดีได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้ายร่วมกับวงควีน เพื่อเข้ารับรับรางวัล Brit Awards สาขาดนตรีอังกฤษยอดเยี่ยม ที่โรงละคร Dominion Theatre[107]

อัลบั้มชุดที่ 14 Innuendo ได้รับการปล่อยตัวในต้นปี ค.ศ. 1991 มีเพลงฮิตอย่างเพลง “These Are the Days of Our Lives” กับภาพมิวสิกวิดีโอเพลงสุดท้ายที่เฟรดดีปรากฏตัว ในสภาพร่างกายที่ดูแย่ลงอย่างหนัก จนต้องทำเป็นภาพขาวดำ เพื่อปกปิดสภาพร่างกายที่แท้จริงของเขา[108], เพลง “The Show Must Go On” เป็นเพลงที่สื่อถือความพยายามของเฟรดดีที่จะยังคงร้องเพลงและทำงานต่อไป ถึงแม้ป่วยหนักจนใกล้ถึงจุดจบของชีวิตแล้วก็ตาม[109][110] เพลงนี้ได้ปล่อยตัวออกมาพร้อมกับอัลบั้มรวมเพลงที่สองของควีน Greatest Hits II เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1991 ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยยอดขายทั่วโลกมากกว่า 16 ล้านชุด[111][112] แต่อัลบั้มชุดนี้ออกมาได้เพียง 6 สัปดาห์ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 เฟรดดีตัดสินใจเปิดเผยต่อสาธารณชนว่าตนเองป่วยเป็นโรคติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์[113] จากพฤติกรรมรักร่วมเพศอันโลดโผนกับชายหนุ่มมากหน้าหลายตาที่ผ่านมา และหลังจากนั้นเพียง 24 ชั่วโมง เฟรดดีได้เสียชีวิตลงด้วยโรคปอดติดเชื้อ อันเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเอดส์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 หลังจากการเสียชีวิตของเฟรดดี เมอร์คูรี ซิงเกิล “Bohemian Rhapsody” ได้ปล่อยตัวออกมาอีกครั้ง โดยมีเพลง “These Are the Days of Our Lives” รวมอยู่ด้วย สามารถขึ้นชาร์ตอันดับที่หนึ่งในสหราชอาณาจักร เป็นเวลาถึง 5 สัปดาห์ โดยรายได้จากซิงเกิลได้บริจาคให้กับ Terrence Higgins Trust ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านโรคเอสด์[114] และซิงเกิลดังกล่าวยังได้รับความนิยมไปถึงทวีปอเมริกาเหนือ โดยสามารถขึ้นไปถึงอันดับที่สองใน Billboard Hot 100 เป็นเวลาห้าสัปดาห์ในปี 1992[115]

ค.ศ. 1992 – 1997 : ควีนภายหลังการเสียชีวิตของเฟรดดี[แก้]

รูปปั้นของเฟรดดีกำลังหันหน้าเข้าหาทะเลสาบเจนีวา ที่มองโทร, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ถูกตั้งไว้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 1996

วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1992 ได้มีการจัดคอนเสิร์ตรำลึกถึงเฟรดดี เมอร์คูรี The Freddie Mercury Tribute Concert ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ โดยมีศิลปินชื่อดังมากมาย เช่น เดฟเล็ปเพิร์ด, กันส์แอนด์โรสเซส, เอลตัน จอห์น, แอนนี เลนนิกซ์, โรเบิร์ต แพลนต์, จอร์จ ไมเคิล, ซีล, เดวิด โบอี และเมทัลลิกา มาร่วมแสดงบนเวทีร่วมกับวงควีน และถูกบันทึกโดยกินเนสส์บุ๊คว่าเป็นคอนเสิร์ตการกุศลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[116] โดยมีผู้ชมในสนาม 72,000 คน[117] และผู้ชมผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์มากกว่า 1,200 ล้านคน และสามารถระดมทุนให้แก่องค์กรการกุศลด้านโรคเอดส์ถึง 20 ล้านดอลลาร์[114]

อัลบั้มสุดท้ายของควีนกับเฟรดดี เมอร์คูรี Made in Heaven ได้รับการปล่อยตัวในปี 1995 สี่ปีหลังการเสียชีวิตของเฟรดดี โดยได้นำแทร็กที่เฟรดดีบันทึกเสียงเอาไว้ก่อนเสียชีวิตมาทำเป็นเพลง โดยบางเพลงนำมาจากอัลบั้มเดี่ยวของเฟรดดี Mr. Bad Guy ในปี ค.ศ. 1985 รวมถึงผลงานเพลงของไบรอัน เมย์ และโรเจอร์ เทย์เลอร์ ที่บันทึกเสียงร้องโดยเฟรดดี อัลบั้มชุดนี้มีเพลงฮิต เช่น เพลง “Made in Heaven”, “Too Much Love Will Kill You”, “Heaven for Everyone”, "I Was Born To Love You" และเพลง “Mother Love” ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายที่เฟรดดีบันทึกเสียงร้องเอาไว้ แต่ร้องไม่จบเขาก็เสียชีวิตเสียก่อน ไบรอัน เมย์ จึงบันทึกเสียงร้องในท่อนเพลงที่เหลือ จนเพลงออกมาสมบูรณ์[118] อัลบั้ม Made in Heaven เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ทำยอดขายมากที่สุด โดยทำยอดขายสูงถึง 7.5 ล้านชุด[119][120] และเป็นสตูดิโออัลบั้มเดียวของควีนที่ทำยอดขายเกินหนึ่งล้านชุดในอังกฤษ และหลังจากนั้นก็ไม่เคยออกอัลบั้มใหม่ในนาม Queen อีกเลยนับตั้งแต่นั้นมา

ในปี 1997 ควีนปล่อยเพลง “No-One but You (Only the Good Die Young)” เป็นเพลงที่อุทิศให้กับเฟรดดี[121] โดยเปิดตัวเป็นเพลงโบนัสในอัลบั้มรวมเพลง Queen Rocks รวมถึงอัลบั้ม Greatest Hits III ซึ่งออกในปี 1999 และในปีเดียวกันนี้ ควีนได้ขึ้นแสดงเพลง “The Show Must Go On” ร่วมกับเอลตัน จอห์น และคณะบัลเลห์ Béjart Ballet Lausanne ที่กรุงปารีส และถือเป็นการแสดงครั้งสุดท้ายและการปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของจอห์น ดีคอน มือเบสของวงควีน โดยเขาเลือกที่จะเกษียณตัวเองออกจากวงหลังจากการแสดงครั้งนี้[122] และปฏิเสธที่จะร่วมงานกับวงควีนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ค.ศ. 2004 - ปัจจุบัน : Queen + Paul Rodgers และ Queen + Adam Lambert[แก้]

ควีนโดยสมาชิกที่เหลือ ไบรอัน เมย์ และโรเจอร์ เทย์เลอร์ ยังคงเดินหน้าทำงานและแสดงคอนเสิร์ตในนามของวงควีนต่อไป โดยพวกเขาได้ดึงตัวนักร้องชื่อดังมาร่วมงานในฐานะนักร้องนำ ซึ่งไม่ใช่มาแทนที่เฟรดดีแต่อย่างใด เพียงระบุว่า จะร่วมแสดงกับวงควีนเพียงเท่านั้น[123] โดยนักร้องคนแรกที่ได้ร่วมงานกับควีนก็คือ "พอล รอดเจอร์ส" อดีตนักร้องนำวงฟรี และแบดคอมพานี โดยร่วมแสดงกับควีนในนาม “Queen + Paul Rodgers” รวมถึงได้ออกอัลบั้มร่วมกับควีนในชื่อ The Cosmos Rocks เปิดตัวในปี ค.ศ. 2008 ควีนเริ่มออกทัวร์ร่วมกับพอลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ควีนได้กลับมาทัวร์คอนเสิร์ตทั่วโลกอีกครั้งนับตั้งแต่คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายร่วมกับเฟรดดีที่เน็บเวิร์ธ เมื่อปี 1986 พอลได้ร่วมงานกับควีนจนถึงปี ค.ศ. 2009

ควีนและอดัม แลมเบิร์ต

ในปี ค.ศ. 2011 ควีนได้ "อดัม แลมเบิร์ต" ผู้แข่งขันรองชนะเลิศจากการแข่งขันรายการอเมริกันไอดอล ซีซั่นที่ 8[124] ซึ่งเมย์และเทย์เลอร์ไปเป็นแขกรับเชิญในรายการเมื่อปี ค.ศ. 2009 พวกเขาได้ชมวิดีโอของแลมเบิร์ตในรอบออดิชั่น ซึ่งเขาร้องเพลง “Bohemian Rhapsody” [125] และสนใจที่จะดึงแลมเบิร์ตมาร่วมงานในฐานะนักร้องนำแทนพอล รอดเจอร์สซึ่งออกไปแล้ว โดยแลมเบิร์ตได้เข้ามาร่วมงานกับควีน โดยที่จะไม่เข้ามาแทนที่เฟรดดีแต่อย่างใด แต่จะร่วมแสดงกับควีนในนาม “Queen + Adam Lambert” และออกทัวร์แสดงคอนเสิร์ตทั่วโลกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน[126]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 ควีนได้ปล่อยซิงเกิลเพลง "Face It Alone" ซึ่งบันทึกเสียงโดยเฟรดดี เมอร์คูรี นักร้องผู้ล่วงลับ ในช่วงการทำอัลบั้ม The Miracle ในปี ค.ศ. 1989 ภายหลังจากที่เฟรดดีได้รับการวินิจฉัยว่าเขาติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ได้เปิดเผยถึงอาการเจ็บป่วยของเขาแต่อย่างใดในขณะบันทึกเสียง เพลงนี้เป็นหนึ่งในหกเพลงที่ไม่ได้รับเลือกให้บรรจุไว้ในอัลบั้ม The Miracle ตั้งแต่แรกและไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะ แทร็กเสียงของเพลงนี้ถูกค้นพบโดยทีมงานโปรดักชั่นของวงควีนเมื่อเวลาผ่านไปแล้วมากกว่า 30 ปี เพลงนี้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้มบ็อกซ์เซ็ต The Miracle Collector’s Edition ซึ่งวางจำหน่ายในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022[127][128]

อิทธิพล[แก้]

เช่นเดียวกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อื่น ๆ ควีนเป็นวงที่สร้างอิทธิพลให้กับศิลปินมากหน้าหลายตา เช่นศิลปินเฮฟวีเมทัล จูดาสพรีสต์ [129] ไอเอิร์นเมเดน[130] เมทัลลิกา [131] ดรีมเทียเตอร์ [132] ทริเวียม [133] เมกาเดธ [134] แอนแทรกซ์ [135] เฟธโนมอร์ [136] มาริลีน แมนสัน [137] สลิปน็อต [138] และเรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน [139] ศิลปินฮาร์ดร็อก กันส์แอนด์โรสเซส [140] เดฟเล็ปเพิร์ด [141] แวนแฮเลน [142] มอตลีย์ครู [143] คิด ร็อก [144] และฟูไฟเตอส์ [145] วงออลเทอร์นาทิฟร็อก เนอร์วานา [146] เรดิโอเฮด [147] มิวส์ [148] เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ [149] เจนส์แอดดิกชัน [150] และเดอะสแมชชิงพัมป์กินส์ [151] ศิลปินป็อปร็อก มีต โลฟ [152] เดอะคิลเลอส์ [153] มายเคมิคอลโรแมนซ์ [154] และฟอลล์เอาต์บอย [155] ศิลปินป็อป ไมเคิล แจ็กสัน [156] จอร์จ ไมเคิล [157] ร็อบบี วิลเลียมส์ [158] อะเดล [159] เลดี้ กาก้า [160] เคที เพร์รี [161] เคชา [162] และไซ[163]

นอกจากนี้ ควีนยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มดนตรีแนวสปีดเมทัล โดยเพลง "Stone Cold Crazy" ยังได้ถูกนำไปทำใหม่โดยเมทัลลิกา พร้อมกับได้รางวัลแกรมมี สาขาบันทึกเสียงแนวเมทัลแห่งปีในปี 1991 [164]

ผลงาน[แก้]

อัลบั้มภาคปกติ[แก้]

วงควีนมีผลงานสตูดิโออัลบั้มทั้งหมด ตั้งแต่อดีตจนถึงอัลบั้มสุดท้าย 15 อัลบั้ม ได้แก่

อัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  • GREATEST HITS (ค.ศ. 1981)
  • GREATEST HITS II (ค.ศ. 1991)
  • THE 12" COLLECTION (ค.ศ. 1992)
  • GREATEST HITS - 1992 US edition (ค.ศ. 1992)
  • CLASSIC QUEEN (ค.ศ. 1992)
  • GREATEST HITS III (ค.ศ. 1999)
  • QUEEN ROCKS (ค.ศ. 1997)
  • STONE COLD CLASSICS (ค.ศ. 2006)
  • THE A–Z OF QUEEN, VOLUME 1 (ค.ศ. 2007)
  • ABSOLUTE GREATEST (ค.ศ. 2009)
  • DEEP CUTS VOLUME 1 (1973 - 1976) / VOLUME 2 (1977 - 1982) / VOLUME 3 (1984 - 1995) (ค.ศ. 2011)
  • ICON (ค.ศ. 2013)
  • QUEEN FOREVER (ค.ศ. 2014)
  • BOHEMIAN RHAPSODY (ค.ศ. 2018) [166]

บันทึกการแสดงสด (Official)[แก้]

  • LIVE KILLER (ค.ศ. 1979) [167]
  • LIVE IN RIO (ค.ศ. 1986) [168]
  • LIVE MAGIC (ค.ศ. 1986) [169]
  • RARE LIVE - A Concert Through Time And Space (ค.ศ. 1989) [170]
  • LIVE AT WEMBLEY STADIUM (ค.ศ. 1992) [171]
  • ON FIRE : LIVE AT THE BOWL (ค.ศ. 2004) [172]
  • ROCK MONTREAL [173]& LIVE AID (ค.ศ. 2007)[174]
  • HUNGARIAN RHAPSODY [175] (ค.ศ. 2012) [176]
  • LIVE AT RAINBOW '74 [177] (ค.ศ. 2014) [178]
  • A NIGHT AT THE ODEON (ค.ศ. 2015) [179]

สมาชิก[แก้]

สมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
ควีน + นักร้องนำ
สมาชิกร่วมทัวร์
  • สไปค์ เอ็ดนี - คีย์บอร์ด, เปียโน, กีตาร์, ร้องประสาน (1984 - ปัจจุบัน)
  • นีล แฟร์คลอฟ – เบส, ร้องประสาน (2011 – ปัจจุบัน)
  • ไทเลอร์ วอร์เรน – เพอร์คัชชัน, กลอง, ร้องประสาน (2017 – ปัจจุบัน)
อดีตสมาชิกร่วมทัวร์
  • มอร์แกน ฟิชเชอร์ – คีย์บอร์ด, เปียโน (1982)
  • เฟรด แมนเดล – คีย์บอร์ด, เปียโน (1982)
  • เดวิด กรอสแมน – เบส, ร้องประสาน (1997 – 2004)
  • เจมี่ โมเสส – กีตาร์ริทึ่ม, ร้องประสาน (1998 – 2009)
  • แดนนี่ มิแรนด้า – เบส, ร้องประสาน (2005 – 2009)
  • นีล เมอร์เรย์ – เบส (2008)
  • รูฟัส ไทเกอร์ เทย์เลอร์ – เพอร์คัชชัน, กลอง, ร้องประสาน (2011 – 2017)

อ้างอิง[แก้]

  1. Hodkinson, Mark (2009). "Queen: The Early Years". p.118
  2. "Roger Taylor". Queen official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2017. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
  3. Rose, Frank. "Heavy Meddows Kid". Queen Archives. Eastern Daily Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2017.
  4. Blake 2010, p. 44.
  5. "Freddie Mercury's complex relationship with Zanzibar". BBC. สืบค้นเมื่อ 28 February 2019.
  6. Blake 2010, p. 56-57.
  7. Dean 1986, p. 7.
  8. "Queen Logo". Famouslogos.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
  9. 9.0 9.1 "Queen Logo". Famouslogos.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2012. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
  10. "Queen Crest (Original)". สืบค้นเมื่อ 7 June 2011.
  11. Blake 2010, p. 107.
  12. Sutcliffe 2009, p. 26. sfn error: multiple targets (6×): CITEREFSutcliffe2009 (help)
  13. Blake 2010, p. 114.
  14. "Queen: From Rags to Rhapsody – BBC Four". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
  15. Doherty 2011, p. 8.
  16. Buckley, Peter (2003) The rough guide to rock p.422. Rough Guides, 2003
  17. Dean 1986, p. 19.
  18. Blake 2010, pp. 136–137.
  19. Pryor, Fiona (10 May 2007). "Photographer lives the Rock dream". BBC News. สืบค้นเมื่อ 25 May 2011.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ history
  21. Blake 2010, p. 148.
  22. 22.0 22.1 Hodkinson 2004, p. 127.
  23. Stephen Thomas Erlewine (November 2019). "Queen II". AllMusic.
  24. 24.0 24.1 24.2 "1001 Albums You Must Hear Before You Die". Rocklistmusic.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  25. Dean 1986, p. 20.
  26. "Queen – Sheer Heart Attack". Official Charts Company.
  27. 27.0 27.1 27.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ RIAAC
  28. "Queen Discography". Queen Online. ... and in November released Sheer Heart Attack which was a hit on both sides of the Atlantic.
  29. Dean 1986, p. 22.
  30. 30.0 30.1 30.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bhsa
  31. 31.0 31.1 31.2 Whitburn, Joel (2006). The Billboard Book of Top 40 Hits. Billboard Books.
  32. 32.0 32.1 Dean 1986, p. 25.
  33. Blake 2010, p. 163.
  34. Dean 1986, p. 27.
  35. Blake 2010, pp. 160, 165.
  36. Blake 2010, p. 178.
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Queen Online
  38. "'39". Songfacts. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
  39. Cunningham 1995.
  40. "100 Greatest Albums". Channel 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2009. สืบค้นเมื่อ 21 November 2006.
  41. "230 – A Night at the Opera". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2012. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  42. Dean 1986, pp. 27–31.
  43. "The most bootlegged gig of Queen's career is being released as a film". GigWise. 12 October 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
  44. "A Day at the Races". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  45. Blake 2010, p. 192.
  46. Blake 2010, pp. 193–194.
  47. "Queen Concertography". Queenconcerts.com. "Tie Your Mother Down" has been included in all of the band's tours from the summer of 1976 to the most recent Return of the Champions tourแม่แบบ:Verify quote
  48. Rivadavia, Ed. "Song Review: Tie Your Mother Down". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2011. สืบค้นเมื่อ 31 August 2011.
  49. "A Day at the Races". Queenonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  50. "Queen play Hyde Park". BBC. สืบค้นเมื่อ 9 April 2009.
  51. Blake 2010, p. 191.
  52. “We Are the Champions: Song Review”. AllMusic. Retrieved 21 January 2011
  53. "Was there ever a time when We Will Rock You did not exist?". The Guardian. 16 August 2007. สืบค้นเมื่อ 16 June 2015.
  54. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BMI
  55. "Jazz – Queen: Billboard Albums". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  56. "The great rock and roll tour". Daily Mail. London. 23 September 2002. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  57. "Queen". Billboard. Vol. 92 no. 29. 19 July 1980. p. 33 – โดยทาง Books.google.com.
  58. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Crazy
  59. Sutcliffe 2009, p. 155. sfn error: multiple targets (6×): CITEREFSutcliffe2009 (help)
  60. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ awards
  61. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ UK
  62. Furniss, Matters (2012). Queen – Uncensored on the Record. Coda Books Ltd. p. 63. ISBN 978-1-9085-3884-0.
  63. "Queen's Flashy Rock". The Washington Post. 27 July 1982. Retrieved 15 January 2011
  64. Lowry, Max (13 July 2008). "The ones that got away". The Guardian. London.
  65. Blake 2010, p. 255.
  66. Stephen Thomas Erlewine (30 October 2007). "Queen Rock Montreal". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011.
  67. Blake 2010, p. 262.
  68. "Queen head all-time sales chart". BBC. 16 November 2006. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  69. "Queen becomes longest reigning chart act". Daily Mail. London. 5 July 2005. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  70. Smith, Carl (11 July 2022). "Queen's Greatest Hits becomes first album in Official Charts history to reach 7 million UK chart 'sales'". Official Charts Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2022. สืบค้นเมื่อ 19 July 2022.
  71. "In Pictures: 50 years of pop". BBC. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  72. "Queen – Hot Space". Stylusmagazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2007. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
  73. Blake 2010, p. 263.
  74. Blake 2010, pp. 263, 267, 273.
  75. Blake 2010, p. 265.
  76. Blake 2010, p. 270.
  77. "Saturday Night Live Season 08 Episode 01 on September 25, 1982 with host Chevy Chase and musical guest Queen". NBC. สืบค้นเมื่อ 6 September 2016.
  78. Blake 2010, p. 273.
  79. 79.0 79.1 Blake 2016.
  80. "10 things you may not know about Queen's biggest 80s hits". BBC. สืบค้นเมื่อ 1 July 2022.
  81. Lazell, Barry (1989) Rock movers & shakers p.404. Billboard Publications, Inc.,
  82. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Rolling Stone
  83. Sky, Chapter 3 เก็บถาวร 2020-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  84. Sutcliffe, p. 189
  85. Tobler, John Who's who in rock & roll p.1971. Crescent Books, 1991
  86. "Queen: Rock in Rio". Queenarchives.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  87. "Queen: Live in Rio (1985)". Movies & TV Dept. The New York Times. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2008. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
  88. Grein, Paul. Billboard 4 May 1985. p. 42. Billboard. Retrieved 2 June 2011
  89. Minchin, Ryan, dir. (2005) "The World's Greatest Gigs". Initial Film & Television. Retrieved 21 May 2011
  90. "Live Aid 1985: A day of magic". CNN.
  91. "Queen win greatest live gig poll". BBC. 9 November 2005. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  92. Light, Alan (3 June 2011). "The Life and Times of Metallica and Queen". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 December 2013.
  93. ""Highlander: Immortal Edition DVD competition". Liverpool Echo". Icliverpool.icnetwork.co.uk.
  94. Blake, Mark (2011). Is This the Real Life?: The Untold Story of Queen. Aurum Press. ISBN 978-1845137137. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2018. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.
  95. "Queen on tour: Magic tour 1986". Queenconcerts.com.
  96. "Spike 'The Duke' Edney Biography". Ultimatequeen.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  97. "The Mods – A Tribute to an Era 1964–1970 – Spike Edney, Keyboards/Guitar – Special Guest". Themodsband.com. 11 April 2007. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  98. "RIAA – Gold and Platinum". riaa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  99. "Queen Wins 3 DVD Platinum Awards". Queenzone.com. 13 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2017-09-03.
  100. "Queen Wins 3 DVD Platinum Awards". Queenzone.com. 13 June 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2011.
  101. "30 years since Queen's majestic farewell tour". The Sunday Post. 21 March 2018.
  102. "Queen: Live at Wembley Stadium". WLIW. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2006.
  103. 103.0 103.1 "Interview with Brian May". Total Guitar Magazine. December 1998. There was all that time when we knew Freddie was on the way out, we kept our heads down.
  104. Jenkins, Jim; Smith, Jacky; Davis, Andy; Symes, Phil (2000). The Platinum Collection (CD booklet). Queen. Parlophone. p. 12. 7243 5 29883 2 7.
  105. "Queen; The Miracle". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  106. Purvis 2006, p. 67.
  107. "The Highs and Lows of the Brit Awards". BBC. 2 December 1999. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  108. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Dolezal
  109. "Queen Online " History " Discography". Queenonline.com. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
  110. Donald A. Guarisco. "The Show Must Go On – Queen". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011.
  111. "Queen Greatest Hits I and II Review". BBC.
  112. "Queen; Greatest Hits, Vol. 2". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  113. Bret, David (1996). Living on the Edge: The Freddie Mercury Story. London: Robson Books. p. 179. ISBN 1-86105-256-1.
  114. 114.0 114.1 "History of HIV & AIDS in the UK (1981–1995)". Avert. 21 July 2015.
  115. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Billboard1992
  116. Folkard, Claire; Vidal, Oriol (2004). Guinness World Records 2005.
  117. Jackson, Laura (2002). Queen: The Definitive Biography. London: Piatkus. p. 3. ISBN 978-0-7499-2317-4.
  118. Lemieux, Patrick (2013). The Queen Chronology: The Recording & Release History of the Band. Lulu. p. 86.
  119. Michaels, Sean (20 March 2008). "We will rock you – again". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
  120. Jackson, Laura (2002). Queen: The Definitive Biography. London: Piatkus. p. 2. ISBN 978-0-7499-2317-4.
  121. "Queen Press Release – No One But You". Queenarchives.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  122. Jake Farey (26 February 2009). "John Deacon Bass Tabs and Techniques". Guitar & Bass. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013.
  123. "Queen News March 2006". brianmay.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2013. สืบค้นเมื่อ 4 March 2007.
  124. "American Idol". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2011-08-13.
  125. Jon Wiederhorn (6 March 2014). "Adam Lambert Reveals He Discovered Queen Through 'Wayne's World'". Yahoo Music.
  126. "Queen + Adam Lambert = Saturday night partytime". Sonisphere.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2012.
  127. "Queen premiere previously unheard Freddie Mercury song Face It Alone". BBC. สืบค้นเมื่อ 13 October 2022.
  128. "Queen share previously-unreleased track 'Face It Alone' featuring late Freddie Mercury". Retro Pop Magazine. 15 October 2022. สืบค้นเมื่อ 25 November 2022.
  129. "Rob Halford Tells Nikki Sixx That Adam Lambert Is Doing An 'Extraordinary' Job Fronting Queen". Blabbermouth.net. 10 July 2014. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  130. "Queen, 50 greatest songs as voted for by Maiden, Priest, Kiss, etc". Classic Rock magazine, October 2006.
  131. Erlewine, Stephen Thomas; Prato, Greg. "Metallica". Allmusic. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  132. "Dream Theater: Dragon Attack – A Tribute To Queen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2010.
  133. "TRIVIUM Frontman: 'If It Weren't For JAMES HETFIELD, I Literally Wouldn't Be Here'". BLABBERMOUTH.NET (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  134. "The Quietus | Features | Baker's Dozen | Th1rt3en Best: Dave Mustaine Of Megadeth's Favourite Albums". The Quietus. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  135. "MP3 David Lee Roth Queen review". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-17. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  136. FNM4EVER 2 (2011-12-17), Faith No More - Making Of Angel Dust (Full), สืบค้นเมื่อ 2016-04-17
  137. Childers, Chad (15 September 2015). "17 Years Ago: Marilyn Manson Goes Glam With 'Mechanical Animals'". Loudwire. Townsquare Media. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.
  138. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 227. ISBN 978-0-7603-4947-2. Corey Taylor: 'The older I got, the more I got into Queen, and I got into the harmonies, which were just unreal...It was one of those things where you go, 'Man I wish I would've started listening to this earlier.' I think Freddie Mercury was one of the best singers ever lived. I think he would look around at a lot of this stuff today and laugh his ass off 'cause it would be so funny to him. Then again, he'd probably be a god to some of these people because he was such a great frontman, such a good singer, and just incredibly gifted man.'
  139. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 3. ISBN 978-0-7603-4947-2. Tom Morello: 'There is no band remotely like them. There aren't even imitators that come within a hundred city blocks of Queen, and that can be said about very, very few bands. It's one of the few bands in the history of rock music that was actually best in a stadium. And I miss Freddie Mercury very much.'
  140. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 3. ISBN 978-0-7603-4947-2. Tom Morello: 'There is no band remotely like them. There aren't even imitators that come within a hundred city blocks of Queen, and that can be said about very, very few bands. It's one of the few bands in the history of rock music that was actually best in a stadium. And I miss Freddie Mercury very much.'
  141. Erlewine, Stephen Thomas. "Def Leppard". Allmusic. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  142. Erlewine, Stephen Thomas. Van Halen AllMusic. Retrieved 28 February 2012
  143. "Queen: The Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock". p.27. Voyageur Press, 2009
  144. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 242. ISBN 978-0-7603-4947-2. Kid Rock: 'I love Queen. The more you listen to Queen, the more you realize, especially if you're a musician, how much of a genius Freddie Mercury was, and Brian May and those guys are.'
  145. Arjun S Ravi (12 October 2007). "They're back: And thank God for the Foo Fighters". Screen Weekly. สืบค้นเมื่อ 2 December 2009.
  146. Byrne, Ciar (21 March 2008). "The last days of Kurt Cobain, in his own words". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  147. McLean, Craig (18 June 2006). "All messed up". The Guardian. London.
  148. Jonathan Fisher (17 June 2006). "Muse talk to DiS: new album, Western films and WIN! WIN! WIN! / Music News // Drowned In Sound". Drownedinsound.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-10. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  149. "RHCP's Chad Smith | Modern Drummer Magazine". Modern Drummer Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  150. Caplan, B. "Surfing, Pinball, and Weed: Perry Farrell on His Teen Years in Miami". Miami New Times. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  151. Erlewine, Stephen Thomas; Prato, Greg. "The Smashing Pumpkins". Allmusic. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  152. "Meat Loaf Influences". All music. Retrieved 13 July 2015
  153. "The Killers channel Queen, Meat Loaf, for new album". Rolling Stone. Retrieved 13 July 2015
  154. Leahey, Andrew My Chemical Romance Allmusic Retrieved 24 January 2011
  155. "Read Fall Out Boy's Loving Green Day Tribute at Rock and Roll Hall of Fame". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  156. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 170. ISBN 978-0-7603-4947-2.
  157. Deming, Mark George Michael Allmusic.
  158. People, Sunday. "Robbie Williams turned to Freddie Mercury for tour inspiration". mirror. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  159. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 3. ISBN 978-0-7603-4947-2. Adele: 'I love them. I'm the biggest Queen fan ever...They're the kind of band that's just in your DNA, really. Everyone just knows who they are.'
  160. Dingwall, John (27 November 2009). "The Fear Factor; Lady Gaga used tough times as inspiration for her new album". Daily Record. pp. 48–49. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  161. Leahey, Andrew Katy Perry Allmusic Retrieved 25 January 2011
  162. Garland, Emma (January 8, 2017). "Kesha's MySpace Profile from 2008 is Better Than DJ Khaled's Snapchat". Noisey. Vice Media. สืบค้นเมื่อ January 20, 2017.
  163. "His Style Is Gangnam, and Viral Too". New York Times. Retrieved 31 August 2016
  164. Morse, Steve (11 January 1991). "Grammys focus on fresh faces, jilt Madonna" (fee required). The Boston Globe. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 3 January 2015.
  165. อัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ Flash Gordon
  166. อัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ BOHEMIAN RHAPSODY
  167. จาก JAZZ TOUR ปี 1979
  168. คอนเสิร์ตช่วง THE WORKS TOUR ปี 1985 เดิมทีวางจำหน่ายในรูปแบบ VHS ปีเดียวกัน ก่อนที่จะนำกลับมาวางจำหน่ายในรูปแบบ DVD ในปี 2013
  169. จาก MAGIC TOUR (A KIND OF MAGIC) ปี 1986
  170. รวมไฮไลท์คอนเสิร์ตต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปี 1986 โดยวางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VHS
  171. คอนเสิร์ตช่วง MAGIC TOUR ปี ค.ศ. 1986
  172. คอนเสิร์ตช่วง HOT SPACE TOUR ปี ค.ศ. 1986
  173. คอนเสิร์ตช่วง THE GAME TOUR ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเดิมทีวางจำหน่ายในรูปแบบ VHS ในชื่อ WE WILL ROCK YOU เมื่อปี 1982 และได้ทำเป็น DVD ออกมาในปี 1994 และ 2001 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น ROCK MONTREAL
  174. คอนเสิร์ตปี ค.ศ. 1981 และ ค.ศ. 1985 (LIVE AID / ช่วง THE WORKS TOUR)
  175. คอนเสิร์ตช่วง MAGIC TOUR ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเดิมทีวางจำหน่ายในรูปแบบ VHS ในชื่อ LIVE IN BUDAPEST เมื่อปี 1986
  176. คอนเสิร์ตปี ค.ศ. 1986
  177. เดิมทีเคยถูกบรรจุอยู่ใน BOXSET BOX ON TRICKS ในรูปแบบ VHS เมื่อปี 1992
  178. คอนเสิร์ตช่วง SHEER HEART ATTACK TOUR ปี 1974
  179. คอนเสิร์ตช่วง A NIGHT AT THE OPERA TOUR ปี 1975

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]