ความโน้มถ่วงพื้นผิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความโน้มถ่วงพื้นผิว หรือ g ของวัตถุทางดาราศาสตร์ คือความเร่งตามความโน้มถ่วงที่สามารถพบได้บนพืนผิวของวัตถุนั้น บางครั้งอาจคิดได้ว่าเป็นความเร่งที่เกิดขึ้นกับอนุภาคทดสอบตามสมมุติฐานเนื่องจากความโน้มถ่วง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นผิวของวัตถุทางดาราศาสตร์มาก และสามารถละเว้นการคิดถึงมวลได้

เราสามารถวัดค่าความโน้มถ่วงพื้นผิวได้ในหน่วยของความเร่ง ซึ่งตามหน่วยเอสไอ คือ เมตรต่อวินาทีกำลังสอง บางครั้งก็แสดงค่าเป็นตัวคูณของความโน้มถ่วงมาตรฐานของโลก คือ g = 9.80665 m/s2.[1] ในการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความโน้มถ่วงพื้นผิวสามารถแสดงค่าด้วย log g ซึ่งเป็นหน่วยวัดความโน้มถ่วงในมาตราซีจีเอส หน่วยของความเร่งคือ เซนติเมตรต่อวินาทีกำลังสอง จากนั้นแปลงเป็นลอการิทึมฐาน 10[2]

ความโน้มถ่วงพื้นผิวของดาวแคระขาวมีค่าสูงมาก ยิ่งของดาวนิวตรอนก็ยิ่งสูงมากกว่า ด้วยความอัดแน่นอย่างสูงมากของดาวนิวตรอนทำให้ความโน้มถ่วงพื้นผิวของมันมีค่าสูงถึง 7×1012 m/s² (มากกว่าโลกถึง 1011 เท่า)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. p. 29, The International System of Units (SI) เก็บถาวร 2007-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ed. Barry N. Taylor, NIST Special Publication 330, 2001.
  2. Smalley, B. (2006-07-13). "The Determination of Teff and log g for B to G stars". Keele University. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]