ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกทูแคนดำอกขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในเขตสะวันนาของบราซิล
มีกบลูกศรพิษหลายพันธุ์ ดังเช่น กบพิษลายสีเหลืองตัวนี้ ที่สามารถพบได้ในป่าของประเทศบราซิล

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล ประกอบด้วยสัตว์, เห็ดรา และพืช ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในประเทศนี้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยหลักแหล่งของพวกมันมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นแอมะซอนถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสิบของสปีชีส์ทุกชนิดที่มีอยู่ในโลก[1] นับได้ว่าประเทศบราซิล เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าประเทศใด ๆ ในโลก โดยมีสายพันธุ์พืชซึ่งเป็นที่รู้จักราว 55,000 สปีชีส์, ปลาน้ำจืดราว 3,000 สปีชีส์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกกว่า 689 สปีชีส์[2] ประเทศนี้ยังได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสามของประเทศที่มีจำนวนสายพันธุ์สัตว์ปีกมากที่สุดถึง 1,832 สปีชีส์ และอยู่ในอันดับสองของประเทศที่มีสายพันธุ์สัตว์เลื้อยคลานมากที่สุดถึง 744 สปีชีส์[2] ส่วนจำนวนของสายพันธุ์เชื้อรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ถือว่ามีเป็นจำนวนมหาศาล[3] ประมาณสองในสามของสปีชีส์ทั้งหมดที่มีอยู่ทั่วโลกสามารถพบได้ในพื้นที่แบบร้อนชื้น ซึ่งมักจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาดังเช่นประเทศบราซิล ทั้งนี้ ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากประเทศอินโดนีเซีย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Amazon - World's largest tropical rain forest and river basin". World Wide Fund for Nature. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.
  2. 2.0 2.1 Palmerlee, Danny (2007). South America on a Shoestring. Lonely Planet Publications. p. 275. ISBN 978-1-74104-443-0. OCLC 76936293.
  3. Da Silva, M. and D.W. Minter. 1995. Fungi from Brazil recorded by Batista and Co-workers. Mycological Papers 169. CABI, Wallingford, UK. 585 pp.
  4. Chapman, A.D (September 2005). "Numbers of Living Species in Australia and the World: A Report for the Department of the Environment and Heritage". Australian Biological Resources Study. Australian Biodiversity Information Services. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-01. สืบค้นเมื่อ 2007-11-26.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Pearson, David L.; Les Beletsky (2002) [2001]. Brazil-Amazon and Pantanal. Ecotravellers Wildlife Guides. Academic Press. p. 275. ISBN 978-0-12-548052-9. OCLC 77711203.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]