ความวาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความวาว เป็นคำเรียกของปฏิกิริยาการสะท้อนแสงทุกรูปแบบของวัตถุที่มีการสะท้อนแสงได้ทั้งแบบบานพื้นผิวและภายในของวัตถุ โดยเป็นปฏิกิริยาระหว่างแสงกับผิวของผลึก ทั้งบนพื้นผิวและภายในผลึก ทั้งการหักเหจากผลึกและการสะท้อนภายในผลึกและภายนอกผลึก มีรากศัทพ์มาจากคำว่า lux ในภาษาลาติน ซึ่งมีความหมายว่า ความสว่าง และโดยทั่วไปมีความหมายว่าความสว่างไสว ความวาว

ประเภทความวาว[แก้]

วาวแบบเพชร[แก้]

เพชรที่ผ่านการเจียระไน

วาวแบบเพชร (Adamantine lustre) จะพบได้มากใน กลุ่มของอัญมณีเช่น เพชร เนืองจากความหนาแน่นของผลึกมีสูงจึงสามารถสะท้อนออกจากผลึกได้มาก มีความโปร่งใสหรือโปร่งแสง มีดัชนีหักเหสูง ประมาณ 1.9 หรือมากกว่าจำนวนนี้ ตัวอย่างแร่ที่มีความวาว


วาวแบบด้าน[แก้]

แร่เคโอลิไนต์

วาวแบบด้าน (Dull lustre) แร่ที่มีความวาวแบบด้าน คือแร่นั้นจะไม่มีความวาวเลย เกิดจากการที่แสงหักเหออกไปในทุกทิศทุกทาง มีลักษณะเหมือนเป็นตัวสะท้อน ตัวอย่างเช่น แร่เคโอลิไนต์ (Kaolinite) โดยแร่จะมีความหยาบและมีความด้าน[1]

วาวแบบน้ำมัน[แก้]

แร่โอปอล

วาวแบบน้ำมัน (Greasy lustre) ความวาวแบบน้ำมันจะมีลักษณะคล้ายกับไขหรือจาระบี ความวาวแบบน้ำมันส่วนใหญ่ที่พบมากจะมีขนาดเล็กๆ และอยู่รวมกัน ตัวอย่างเช่น แร่โอปอล (Opal) และแร่คอร์เดียไรต์ (Cordierite) โดยแร่แบบนี้จะมีความวาวแบบน้ำมันเมื่อมีการขยับ

วาวแบบโลหะ[แก้]

ไพไรต์

วาวแบบโลหะ (Metallic lustre) แร่ที่มีความวาวแบบโลหะ หรือความวาวแบบเงาวาว จะมีความวาวเหมือนโลหะ (และที่เป็นอุดมคติ ผิวจะลักษณะคล้ายกับกระจกสะท้อน) ตัวอย่างเช่น แร่กาลีนา (Galena) หรือแร่ไพไรต์ (Pyrite) และแร่แมกนีไทต์ (Magnetite)

วาวแบบไข่มุก[แก้]

มัสโคไวต์

วาวแบบไข่มุก (Pearly lustre) แร่ที่มีความวาวแบบไข่มุก จะเห็นเป็นชั้นบางๆ มีลักษณะโปร่งใสเล็กน้อย แสงจะสะท้อนจากชั้นที่มีลักษณะของไข่มุก ทำให้แร่สามารถเกิดเป็นรอยแตกอย่างมีระบบได้ (Cleavage) ตัวอย่างเช่น แร่กลีบหินขาวหรือแร่มัสโคไวต์ (Muscovite) และแร่สติลไบต์ (Stilbite)

วาวแบบยางสน[แก้]

อำพัน

วาวแบบยางสน (Resinous lustre) แร่ที่มีความวาวแบบยางสนจะมีลักษณะคล้ายกับยางไม้ หมากฝรั่ง หรือ (ด้านเรียบ) ของพลาสติก ตัวอย่างเช่น แร่อำพันหรือแร่แอมเบอร์ (Amber)

วาวแบบไยไหม[แก้]

ซาติน สปาร์

วาวแบบไยไหม (Silky lustre) แร่ที่มีความวาวแบบไยไหมมีการเรียงตัวของเส้นใยขนาดเล็ก จะให้ความรู้สึกเหมือนเส้นไหม ตัวอย่างเช่น แร่ใยหินหรือแร่แอสเบสตอส (Asbestos) แร่ยูลีไซต์ (Ulexite) และซาติน สปาร์ (Satin Spar) ซึ่งเป็นแร่ยิปซั่ม (Gypsum)

วาวแบบกึ่งโลหะ[แก้]

สฟาเลอไรต์

วาวแบบกึ่งโลหะ (Submetallic lustre) แร่ที่มีความวาวแบบกึ่งโลหะจะมีลักษณะความวาวแบบโลหะ แต่จะมีความวาวน้อยกว่า ส่วนใหญ่จะพบในแร่ที่เกือบทึบแสงและมีดัชนีหักเหสูง เช่น แร่สฟาเลอไรต์ (Sphalerite) แร่ซินนาบาร์ (Cinnabar) และแร่คิวไพรต์ (Cuprite)

วาวแบบแก้ว[แก้]

ควอตซ์

วาวแบบแก้ว (Vitreous lustre) แร่ที่มีความวาวแบบแก้วจะมีลักษณะคล้ายแก้ว เป็นความวาวชนิดหนึ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป เกิดจากการหักเหหรือการสะท้อนของแร่ที่มีดัชนีหักเหต่ำ ตัวเอย่างเช่น แร่แคลไซต์ (Calcite) แร่ควอตซ์ (Quartz) แร่โทพาซ (Topaz) แร่เบริล (Beryl) แร่ทัวร์มาลีน (Tourmaline) แร่ฟลูออไรต์ (Fluorite) และแร่อื่นๆมากมาย

วาวแบบขี้ผึ้ง[แก้]

หยก

วาวแบบขี้ผึ้ง (Waxy lustre) เป็นความวาวที่มีลักษณะคล้ายกับขี้ผึ้ง ตัวอย่างเช่น แร่หยกหรือแร่เจด (Jade) และแร่แคลเซโดนี (Chalcedony) [2]

อ้างอิง[แก้]