ย่านผิดปกติแอตแลนติกใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวการแผ่รังสีแวนอัลเลน กับตำแหน่งที่บรรจบกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ย่านผิดปกติแอตแลนติกใต้ มีขนาดประมาณ 560 กม.[1]

ย่านผิดปกติแอตแลนติกใต้ (อังกฤษ: South Atlantic Anomaly; SAA) เป็นย่านหนึ่งของผิวโลกที่อยู่ใกล้กับแนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนเส้นในมากที่สุด ที่ระดับความสูงดังกล่าวความหนาแน่นของรังสีจะมีสูงกว่าย่านอื่นๆ แนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนมีลักษณะสมมาตรกับแกนแม่เหล็กโลก ซึ่งสอดคล้องกับแกนการหมุนของโลกโดยทำมุมประมาณ 11 องศา แกนแม่เหล็กจึงเบี่ยงไปจากแกนการหมุนของโลกประมาณ 450 กิโลเมตร ผลจากการเบี่ยงเบนดังกล่าว เข็มขัดเส้นในของแนวการแผ่รังสีแวนอัลเลนจึงอยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุดที่บริเวณเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ ส่วนที่อยู่ห่างจากผิวโลกมากที่สุดอยู่ที่ประมาณเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ[2]

ย่านผิดปกติแอตแลนติกใต้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อดาวเทียมและอวกาศยานสำรวจทางดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลกในระดับความสูงไม่กี่กิโลเมตรเหนือพื้นโลก วงโคจรในระดับนั้นทำให้ดาวเทียมเคลื่อนผ่านย่านความผิดปกติเป็นประจำและทำให้มันต้องได้รับรังสีระดับรุนแรงเป็นเวลาหลายนาทีในแต่ละครั้ง สถานีอวกาศนานาชาติที่โคจรในระดับดังกล่าวโดยมีมุมเบี่ยงเบน 51.6° ก็ต้องสร้างเกราะป้องกันพิเศษเพื่อป้องกันปัญหานี้ เครื่องมือวัดบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็ไม่สามารถใช้งานได้ทุกครั้งที่โคจรผ่านย่านนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. "ROSAT SAA" เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-10-16.
  2. Stassinopoulos, E.G.; Staffer, C.A. (2007), Forty-Year Drift and Change of the SAA, นาซา, ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด