คลองระพีพัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลองระพีพัฒน์ เป็นคลองที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ คลองระพีพัฒน์ หรือคลองระพีพัฒน์สายใหญ่ คลองระพีพัฒน์แยกตก และคลองระพีพัฒน์แยกใต้ [1] คลองระพีพัฒน์เดิมทีเรียกกันว่า “คลองป่าสักใต้” หรือ “คลองเจ๊ก” เพราะใช้แรงงานคนจีนขุด แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรกลช่วยในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงตั้งชื่อเป็นทางการว่า “คลองระพีพัฒน์” เพื่อเป็นพระเกียรติแก่พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ควบคุมการก่อสร้างเขื่อนพระรามหก ตั้งแต่เริ่มแรก [2]

คลองระพีพัฒน์เริ่มต้นขุดจากแม่น้ำป่าสัก บริเวณคุ้งยางนม ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงมาที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และแยกออกเป็นสองสาย ความยาว 32 กิโลเมตร มีประตูน้ำพระนารายณ์ และประตูน้ำพระเอกาทศรถกั้นอยู่ระหว่างคลอง[3] เป็นคลองที่มีบทบาทสำคัญในการระบายน้ำ และโครงการชลประทานในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง

อ้างอิง[แก้]

  1. “โครงการเขื่อนทดน้ำพระรามหก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เก็บถาวร 2015-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมชลประทาน
  2. "คลองระพีพัฒน์"[ลิงก์เสีย]สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  3. ""ประวัติโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-16. สืบค้นเมื่อ 2013-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]