เหตุข่มขืนกระทำชำเราหมู่และฆาตกรรมที่เดลี พ.ศ. 2555

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุข่มขืนกระทำชำเราหมู่และฆาตกรรมที่เดลี พ.ศ. 2555
การประท้วงที่ประตูอินเดีย กรุงนิวเดลี
วันที่16 ธันวาคม 2555
เวลา9:54 pm ไอเอสที (ยูทีซี+05:30)
ที่ตั้งเดลี อินเดีย
ผล• ราม สิงห์ ตายระหว่างพิจารณา

• จำเลยที่เป็นผู้ใหญ่ถูกประหารชีวิต

• จำเลยที่เป็นผู้เยาว์ถูกกักขังไว้ที่สถานพินิจสามปี
เสียชีวิตหญิง 1 คน
บาดเจ็บไม่ถึงตายชาย 1 คน
ต้องหา• ราม สิงห์ (Ram Singh)

• มุเกศ สิงห์ (Mukesh Singh)
• วินัย ศรมา (Vinay Sharma)
• พาวัน คุปตะ (Pawan Gupta)
• อักษัย ฐากูร (Akshay Thakur)

• ผู้เยาว์หนึ่งคนซึ่งไม่เปิดเผยชื่อ
ข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา ลักพา ฆ่าคน ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ทำลายพยานหลักฐาน[1]
พิพากษาลงโทษจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

เหตุข่มขืนกระทำชำเราหมู่และฆาตกรรมที่เดลี พ.ศ. 2555 เป็นคดีซึ่งเกิด ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2555 ในหมู่บ้านมุนิรกา (Munirka) ของเมืองเดลีใต้ เมื่อหญิงซึ่งอายุยี่สิบสามปีและเป็นผู้ฝึกหัดวิชากายภาพบำบัดถูกทำร้ายร่างกายแล้วรุมโทรมบนรถประจำทางที่เธอโดยสารมากับเพื่อนชาย[2] ผู้ลงมือเป็นชายหกคนซึ่งโดยสารมาพร้อมกัน รวมถึงคนขับรถนั้นด้วย หญิงดังกล่าวบาดเจ็บสาหัสจนถึงแก่ความตายในวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ขณะรับการรักษาฉุกเฉินในประเทศสิงคโปร์[3][4] เหตุการณ์นี้ได้รับการรายงานทั่วประเทศและทั่วโลก ทั้งเป็นที่ประณามของสตรีหลายกลุ่มทั้งในและนอกประเทศ ภายหลังประชาชนทั่วประเทศได้ประท้วงรัฐบาลอินเดียที่ไม่รักษาความปลอดภัยให้แก่สตรีอย่างเพียงพอ และผู้ประท้วงนับพันได้ปะทะอาวุธกับเจ้าพนักงานด้วย

ผู้ต้องหาหกคนถูกจับกุมและฟ้องฐานกระทำทารุณทางเพศและฆ่าคน ผู้ต้องหาหนึ่งคนตายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2556 ระหว่างถูกขังไว้ ณ เรือนจำติหาร (Tihar Jail)[5] ผู้ต้องหนึ่งคนเป็นผู้เยาว์ ถูกชำระต่างหากที่ศาลเยาวชน โดยศาลพิพากษาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2556 ว่า มีความผิด ให้กักขังไว้ที่สถานพินิจสามปี ผู้ต้องหาอีกสี่คนถูกเบิกตัวขึ้นศาลแผนกรวบรัด (fast-track court) โจทก์นำสืบพยานหลักฐานฝ่ายตนเสร็จเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556[6] และศาลพิพากษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 ว่า มีความผิด ให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 13 กันยายน 2556[7][8][9]

เหตุการณ์[แก้]

ผู้เสียหายประกอบด้วย หญิงคนหนึ่งอายุยี่สิบสามปี กับเพื่อนชายของเธอหนึ่งคน คืนวันที่ 16 ธันวาคม 2555 ทั้งคู่ไปชมภาพยนตร์เรื่อง ชีวิตอัศจรรย์ของพาย (Life of Pi) ที่ย่านสาเกต (Saket) เมืองเดลีใต้[10][11] เสร็จแล้ว ขึ้นรถประจำทางที่หมู่บ้านมุนิรกาเพื่อกลับบ้านที่กิ่งเมืองทวารกา (Dwarka) ขณะนั้น เวลา 21:30 นาฬิกา บนรถมีชายหกคนรวมคนขับ หนึ่งในนั้นซึ่งเป็นผู้เยาว์เรียกให้ผู้เสียหายทั้งสองขึ้นรถโดยระบุว่าจะผ่านทวารกา ทั้งสองจึงขึ้นรถ[3][12] แต่ชายผู้เสียหายเกิดแคลงใจเพราะรถไม่ได้ไปตามเส้นทางปรกติ ทั้งยังไม่เปิดรับผู้โดยสารอื่นด้วย จึงเรียกให้จอด คนขับไม่จอด และชายคนอื่น ๆ เข้าเย้าแหย่หญิงผู้เสียหายว่า เหตุใดจึงมาอยู่กันลำพังในเวลามืดค่ำดังนี้[13]

ชายผู้เสียหายจะเข้าช่วยเหลือ จึงถูกจับทำร้ายร่างกาย และถูกแท่งโลหะตีสิ้นสติไป จากนั้น ชายทั้งหลายที่อยู่บนรถลากหญิงผู้เสียหายไปท้ายรถ เอาแท่งโลหะตีเธอ ก่อนรุมข่มขืนกระทำชำเราเธอขณะที่รถวิ่งอยู่ อินเตอร์เนชัลนัลบิซีเนสไทมส์ (International Business Times) ว่า โฆษกตำรวจระบุว่า ผู้ต้องหาที่เป็นผู้เยาว์นั้นลงมือหนักที่สุด และ "กระทำทางเพศแก่ผู้เสียหายสองรอบ ทั้งยังเอามือเปล่าล้วงเข้าไปลากเครื่องในผู้เสียหายออกมา"[14] เจ้าพนักงานตำรวจยังรายงานว่า หญิงผู้เสียหายพยายามต่อสู้โดยกัดผู้ต้องหาถึงสามคน จึงมีรอยฟันปรากฏบนลำตัวเขาเหล่านั้น[15] หลังโทรมหญิงเสร็จ ผู้ต้องหาช่วยกันโยนผู้เสียหายทั้งสองลงจากรถที่กำลังแล่นอยู่ แล้วน่าเชื่อว่า คนขับขับรถมาจะทับหญิงนั้นด้วย แต่เพื่อนชายรวบรวมกำลังลากเธอหนีได้ทัน ครั้นแล้ว ผู้ต้องหาคนหนึ่งจึงล้างรถเพื่อทำลายพยานหลักฐาน[15][16]

ราว 23:00 นาฬิกา ชาวบ้านผ่านมาพบผู้เสียหายทั้งสองอยู่ริมถนน เนื้อตัวมีเสื้อผ้าห่อหุ้มบางส่วน จึงโทรศัพท์เรียกตำรวจเดลี เจ้าพนักงานพาผู้เสียหายทั้งสองไปยังโรงพยาบาลซัฟดาร์จัง (Safdarjang Hospital) วันรุ่งขึ้น เจ้าพนักงานจึงอายัดรถคันที่ใช้ก่อเหตุไว้ได้[15]

หญิงผู้เสียหายได้รับการรักษาฉุกเฉินและใช้เครื่องช่วยหายใจ[17] เวลาที่ชาวบ้านพบเธอนั้น เธอมีบาดแผลทั่วกาย และร้อยละห้าของลำไส้โผล่พ้นจากมาช่องท้อง[18] รายงานการตรวจวินิจฉัยทางแพทย์ระบุว่า เธอถูกกระทำจนช่องท้อง ลำไส้ และอวัยวะสืบพันธุ์ บาดเจ็บสาหัส แพทย์เห็นว่า ร่องรอยความเสียหายบ่งบอกว่า มีการใช้วัตถุแข็งทื่อ (สงสัยว่าเป็นแท่งโลหะข้างต้น) ทิ่มแทงเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของเธอ[11] แพทย์กล่าวด้วยว่า "แท่งนั้นสอดเข้าไปในร่างกายเธอแล้วดึงออกมาอย่างแรงถึงขนาดที่ทำให้ลำไส้เธอติดออกมาด้วย นี้คงเป็นสิ่งเดียวที่อธิบายว่า ทำไมลำไส้เธอถึงเสียหายเพียงนั้น"[18] ภายหลัง เจ้าพนักงานตำรวจแถลงว่า แท่งโลหะดังกล่าวเป็นแม่แรง (jack) รูปตัวแอล (L) ซึ่งเป็นสนิมด้วย[19]

การจับกุม[แก้]

เจ้าพนักงานตำรวจอาศัยภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิดของตำรวจทางหลวงซึ่งปรากฏรูปพรรณสัณฐานของรถชัดเจน เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า รถคันดังกล่าวรับจ้างโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง จึงสืบค้นไปจนพบคนขับ คือ ราม สิงห์ นอกจากนี้ เจ้าพนักงานยังอาศัยภาพร่างจากปากคำของชายผู้เสียหาย ประกอบกับสัญญาณของโทรศัพท์มือถือผู้เสียหายที่ผู้ต้องสงสัยลักไป ค้นหาไปจนเจอผู้ต้องสงสัย โดยติดตามและจับกุมผู้ต้องสงสัยทั้งหมดได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง [20]

ผู้ต้องสงสัยทั้งหก ประกอบด้วย คนที่หนึ่ง ราม สิงห์ และคนที่สอง มุเกศ สิงห์ น้องชายของราม สิงห์ ทั้งคู่อาศัยอยู่ที่ชุมชนแออัดชื่อ ค่ายรวีทาส (Ravidas camp) เมืองเดลีใต้ และไปถูกจับที่รัฐราชสถาน[21] คนที่สาม วินัย ศรมา เป็นผู้ช่วยครูยิมนาสติก และคนที่สี่ พาวัน คุปตะ ขายผลไม้ ถูกจับด้วยกันที่เมืองเดลี[22] คนที่ห้าเป็นผู้เยาว์อายุสิบเจ็ดปี อาศัยอยู่ที่เมืองบดายุง (Budaun) รัฐอุตตรประเทศ และจับได้ที่สถานีขนส่งอนันทวิหาร (Anand Vihar) เมืองเดลี ทั้งปรากฏด้วยว่า เพิ่งรู้จักผู้ต้องสงสัยคนอื่น ๆ ในวันเกิดเหตุนั้นเอง[23][24][25] ส่วนคนสุดท้าย อักษัย ฐากูร เดินทางมาหางานทำที่เมืองเดลี ถูกจับได้ที่เมืองเอารันฆาบัด (Aurangabad)[22][26]

คนทั้งหกให้การว่า พวกเขามาดื่มกินกันในตอนเช้า[3] เสร็จแล้วจึงชวนกันเอารถที่ราม สิงห์ ได้รับใบอนุญาตให้ขนส่งคนนั้น ออกขับเล่นเพื่อ "หาอะไรทำสนุก ๆ" ถึงแม้ว่า ตามใบอนุญาตแล้ว ราม สิงห์ ไม่สามารถนำรถออกรับผู้โดยสารในวันหยุดตามปรกติ ทั้งไม่สามารถใช้รับผู้โดยสารในเมืองเดลีได้โดยสิ้นเชิงเพราะหน้าต่างรถมืดไปก็ตาม[16][3] เบื้องต้น มุเกศ สิงห์ ขับรถ ผู้โดยสารคนแรกที่พวกเขารับนั้นเป็นช่างไม้ พวกเขาคิดค่าโดยสารสิบรูปีอินเดีย แล้วชิงทรัพย์มูลค่าแปดพันรูปีอินเดีย ก่อนทิ้งช่างไม้คนดังกล่าวไว้ที่เมืองเดลีใต้[27]

พาวัน คุปตะ รับผิดในชั้นจับกุม และกล่าวว่า ตนควรถูกประหารแล้ว[28][29] ทั้งหกคนถูกขังไว้ที่เรือนจำติหาร แต่มุเกศ สิงห์ ถูกเพื่อนร่วมคุกประชาทัณฑ์ ต่อมาจึงถูกขังเดี่ยว[30]

ตุลาการศาลแขวงเบิกตัวราม สิงห์ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555[31] ราม สิงห์ ไม่ยินยอมให้ผู้เสียหายชี้ตัว[27] ครั้นราว 05:45 นาฬิกาของวันที่ 11 มีนาคม 2556 เขาถูกพบเป็นศพโดยแขวนคอกับช่องลมในห้องขังที่เรือนจำติหาร[32] เจ้าพนักงานกล่าวว่า ไม่แน่ชัดว่าเขาฆ่าตัวตายหรือถูกฆ่าตาย[33][34][35] แต่ทนายฝ่ายจำเลยและครอบครัวของเขาเชื่อว่า เขาถูกฆ่า[36]

การพิจารณา[แก้]

จำเลยผู้เยาว์[แก้]

ในคำฟ้องจำนวนสามสิบสามหน้า ตำรวจเดลีพรรณนาว่า ผู้ต้องหาที่เป็นผู้เยาว์นั้นพฤติกรรมอำมหิตมากที่สุด[37][38][39][40] คณะกรรมการการยุติธรรมเยาวชน (Juvenile Justice Board) ระบุว่า ในวันก่อเหตุ ผู้เยาว์คนนี้อายุสิบเจ็ดปี หกเดือน คำนวณตามสูติบัตรและเอกสารโรงเรียน แต่คณะกรรมการไม่อนุญาตให้เจ้าพนักงานตรวจการสร้างกระดูกของผู้เยาว์เพื่อชี้วัดว่าอายุเป็นไปตามเอกสารจริงหรือไม่[41][42][43]

วันที่ 28 มกราคม 2556 คณะกรรมการข้างต้นวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาคนนี้เป็นผู้เยาว์ และยกคำร้องของสุพรหมัณยัม สวามี (Subramanian Swamy) หัวหน้าพรรคชนตา (Janata Party) ที่ขอให้ดำเนินคดีผู้ต้องหาคนดังกล่าวเสมือนเป็นผู้ใหญ่ ผู้ต้องหาจึงถูกชำระต่างหากที่ศาลเยาวชน[44][45][46]

เดิมศาลนัดอ่านคำพิพากษาสำหรับจำเลยผู้เยาว์ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2556[47] แต่ได้เลื่อนมาเป็นวันที่ 5 สิงหาคม 2556[48] และเลื่อนอีกหนเป็นวันที่ 19 สิงหาคม 2556[49] ครั้นวันที่ 31 สิงหาคม 2556 จึงมีการอ่านคำพิพากษาว่า จำเลยผู้เยาว์นี้มีความฐานข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตามรัฐบัญญัติการยุติธรรมเยาวชน (Juvenile Justice Act) และให้ลงโทษกักขังไว้ที่สถานพินิจเป็นเวลาสามปี อันเป็นโทษสูงสุดที่พึงลงได้ตามกฎหมาย แต่ให้หักระยะเวลากักขังนั้นออกจากระยะเวลาแปดเดือนที่จำเลยถูกขังไว้ระหว่างพิจารณาด้วย[50]

จำเลยผู้ใหญ่[แก้]

วันที่ 3 มกราคม 2553 ห้าวันหลังจากผู้เสียหายตาย เจ้าพนักงานตำรวจได้ยื่นฟ้องผู้ต้องหาห้าคนซึ่งเป็นผู้ใหญ่ด้วยความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ลักพา ฆ่าคน ทำลายพยานหลักฐาน และพยายามฆ่า (ชายผู้เสียหาย)[51][52][1] ดายัน กฤษณัน (Dayan Krishnan) นักกฎหมายอาวุโส ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานอัยการเจ้าของสำนวน[53]

หลังจากที่ราม สิงห์ ตายในเรือนจำแล้ว จำเลยสี่คน คือ มุเกศ สิงห์, วินัย ศรมา, พาวัน คุปตะ และอักษัย ฐากูร ขึ้นศาลและให้การปฏิเสธ[54][55] วันที่ 10 มกราคม 2556 มโนหาร ลัล ศรมา (Manohar Lal Sharma) ทนายฝ่ายจำเลย ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนว่า ผู้เสียหายทำตัวเอง เพราะควรรู้ว่า เมื่อไม่ใช่คู่สมรสกัน ก็ไม่พึงมาเดินเตร่บนถนนในยามวิกาล และไม่พึงใช้ยวดยานขนส่งสาธารณะด้วย เขากล่าวว่า "จนเดี๋ยวนี้ผมก็ยังไม่เคยเหตุการณ์หรือกรณีตัวอย่างที่กุลสตรีถูกชำเราสักครั้งเลย ถ้าทำตัวดีต่อให้อยู่ในนรกยมบาลก็จะปฏิบัติด้วยอย่างมีสัมมาคารวะ"[56] เขาย้ำว่า ชายผู้เสียหายต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ครั้งนี้เองทั้งหมด เพราะชายผู้เสียหาย "ไม่ดูแลปกป้องผู้หญิงให้ดี"[56]

ศาลแผนกรวบรัดเบิกตัวจำเลยทั้งสี่มาพิจารณา และโจทก์นำสืบพยานหลักฐานหลายประการ รวมทั้งถ้อยคำของพยาน ถ้อยคำของผู้เสียหาย ลายนิ้วมือ การตรวจสอบทางพันธุกรรม และการจำลองทางทันตวิทยา แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556[6][57] ครั้นวันที่ 10 กรกฎาคม 2553 ศาลพิพากษาว่า จำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดฐานฆ่าคน ความผิดอันขัดต่อธรรมชาติ (unnatural offence) และความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาน ให้ลงโทษประหารชีวิตทั้งหมด ในวันอ่านคำพิพากษานั้น ประชาชนเดินขบวนมาชุมนุมรายรอบศาลและเรียกร้องให้ประหารชีวิตจำเลยอยู่ไม่ขาด[54][58] แม้บิดาของจำเลยคนหนึ่งก็ขอให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสี่คนเสีย โดยกล่าวว่า "เราจะปิดคดีนี้ให้สมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อขจัดผู้ต้องหาพวกนี้ทุกคนไปเสียจากพื้นโลก"[57] เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จ บรรดาผู้คนที่ประชุมกันอยู่นอกห้องพิจารณาก็พากันโห่ร้องปรบมือ ขณะที่ครอบครัวผู้เสียหายซึ่งเข้าฟังการอ่านคำพิพากษานั้นกล่าวว่า พอใจกับผลคดี ส่วนมารดาของหญิงผู้เสียหายให้สัมภาษณ์ว่า "เรารอคอยมาจนแทบหมดลมหายใจ ตอนนี้เราสบายใจแล้ว ดิฉันขอขอบคุณประชาชนในประเทศของดิฉันรวมถึงสื่อมวลชนด้วย"[59]

ทนายฝ่ายจำเลยกล่าวว่า จำเลยสามคนประสงค์อุทธรณ์คำพิพากษา[54] ตุลาการโยเกศ ขันนะ (Yogesh Khanna) ยกอุทธรณ์ และกล่าวว่า คดีนี้ "สะเทือนความรู้สึกคนอินเดียทุกคน...สำหรับความผิดเช่นนี้ ศาลจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ไม่ได้"[7][9] จำเลยทั้งสี่ถูกพิพากษาประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในวันที่ 13 กันยายน 2556[8]ยกคำร้องการพิจารณาอักษัยในดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2562และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ผู้พิพากษา 5 คนของศาลฎีกาได้ปฏิเสธคำร้องของวินัยและมูเกศและเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2020 ได้มีการออกกำหนดการประหารชีวิตผู้ก่อเหตุโดยศาลกรุงนิวเดลีโดยมีกำหนดประหารชีวิตในวันที่ 22 มกราคม 2563 เวลา 07.00 น. ตามเวลา IST ในเรือนจำติหารเเละประธานนาธิปดีปฎิเสธคำร้องขอลดโทษของทั้งสี่เมื่อวันที่17 มกราคม 2563[60][61][62][63]เเต่การประหารชีวิตก็ถูกเลื่อนออกไปเเละทั่งสี่ถูกประหารชีวิตด้วยเเขวนคอเมื่อวันที่20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563เมื่อเวลา 05.30น.ตามเวลา IST ทีเรือนจำติหารโดยเป็นการประหารชีวิตครั้งเเรกตั้งเเต่ปี2558ตั้งเเต่อินเดียเเขวนคอยาคุบ เมมอนที่เรือนจำกลางนาคปุระในวันที่30 กรกฎาคม 2558ในความผิดฐานสนับสนุนเงินทุนในการระเบิดต่อเนื่อง13จุดทั่วนครมุมไบเมื่อวันที่12 มีนาคม 2536ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต257 คนเเละบาดเจ็บ1,400คน[64][65]

การประท้วง[แก้]

หลังเกิดเหตุการณ์[แก้]

ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เกิดเหตุประท้วงในบริเวณประตูอินเดียและภูเขาเรซีน่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภาอินเดียและราษฏรปติภวัน ที่พำนักของประธานาธิบดีอินเดีย ในการประท้วงมีผู้ประท้วงหลายพันคนได้ปะทะและต่อสู้กับตำรวจอินเดีย รวมถึงหน่วยพิเศษ RAF[66] ผู้ประท้วงบางส่วนถูกทำร้ายร่างกายโดยใช้กระบอง[67] ถูกยิงด้วยปืนฉีดน้ำและกระสุนแก๊สน้ำตา และถูกจับกุม[68]

ตำรวจใช้ปืนฉีดน้ำและแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม

การประท้วงที่คล้ายคลึงกันนี้ยังเกิดในทุกพื้นที่ของประเทศ มีผู้หญิงกว่า 600 คน จากหลากหลายองค์กร มาเข้าร่วมการประท้วงในเบงคลูรู[69][70] ผู้ประท้วงหลายพันคนเดินประท้วงในโกลกาตา[71] การประท้วงยังเกิดขึ้นในแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ Facebook และ WhatsApp โดยเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ให้มีสัญลักษณ์จุดสีดำ[72] ประชาชนหลายหมื่นลงนามในคำร้องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประท้วงในเหตุการณ์ดังกล่าว[73]

หลังการเสียชีวิต[แก้]

คนในเบงคลูรูประท้วงหน้าศาลากลางเบงคลูรู ในวันที่ 30 ธันวาคม 2555

หลังการเสียชีวิตในวันที่ 29 ธันวาคม 2555 การประท้วงได้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศอินเดีย รวมทั้งโกลกาตา เจนไน เบงกาลูรู ไฮเดอราบาด โกชิ ติรุวนันตปุรัม มุมไบ ภุพเนศวร และวิศาขาปัฏฏนัม ผู้ร่วมไว้อาลัยหลายคนถือเทียนและสวมชุดสีดำ บ้างก็เอาผ้าดำปิดปากไว้[74]

ในวันถัดมา กลุ่มผู้ประท้วงจำนวนมากได้เข้ามาประท้วงในบริเวณ ชันตรมันตระ กรุงนิวเดลี[75] มีการประทะกันเล็กน้อยระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจ ตำรวจได้กันผู้ประท้วงบางส่วนออกจากบริเวณ[75] มีกลุ่มหนึ่งของผู้ประท้วงได้ทำการอดอาหารประท้วงเป็นระยะเวลา 1 วัน[75] ถนนที่เชื่อมไปยังประตูอินเดียทุกสาย ถูกปิดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ และ พื้นที่ที่กลุ่มผู้ประท้วงประท้วงอยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถูกกันไม่ให้ออกจากบริเวณ[75] กลุ่มผู้ประท้วงบางกลุ่มมีการวาดกราฟฟิตีและสโลแกนในกระดาษและแจกจ่ายไปทั่วถนน เพื่อประณามเหตุการณ์ดังกล่าวและเรียกร้องกฎหมายที่เข้มงวดและมีการตัดสินที่รวดเร็วยิ่งขึ้น[76] ทางพรรคภารตียชนตาได้เรียกร้องให้มีการประชุมรัฐสภาเป็นการพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับคดีนี้และนำกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อสตรีมาใช้[77]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Gardiner Harris (3 January 2013). "Murder Charges Are Filed Against 5 Men in New Delhi Gang Rape". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  2. "IAP condoles death of Delhi gang-rape victim". New Delhi: Zee News. Press Trust of India. 29 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Mandhana, Nikarika; Trivedi, Anjani (18 December 2012). "Indians Outraged by Account of Gang Rape on a Bus". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "NYT18Dec" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. "Delhi gangrape: Chronology of events". The Hindu. New Delhi. 31 August 2013. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.
  5. "Delhi gang-rape case accused commits 'suicide'". The Hindu. 11 March 2013. สืบค้นเมื่อ 11 March 2013.
  6. 6.0 6.1 "December 16 gang rape: Prosecution finishes evidence". The Times of India. Indo-Asian News Service. 8 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-10. สืบค้นเมื่อ 10 July 2013.
  7. 7.0 7.1 "Delhi gang rape: Four sentenced to death". BBC News. 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  8. 8.0 8.1 Barry, Ellen (13 September 2013). "4 Sentenced to Death in Rape Case That Riveted India". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  9. 9.0 9.1 Sharma, Betwa (13 September 2013). "Photos: Indian court echoes populist outcry, gives 4 rapists death sentence". Sneak Peek. Vocativ.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-14. สืบค้นเมื่อ 14 September 2013.
  10. Hills, Suzannah (8 January 2013). "Judge bars Delhi gang rape defendants from chaotic courtroom after 150 people cram into space meant for 30". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  11. 11.0 11.1 "Delhi gangrape victim regains consciousness, next 48 hours critical". First Post. 18 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  12. "Delhi gangrape: Accused had tried to mow down braveheart under bus, male friend saved her". 1 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.
  13. Sikdar, Shubhomoy (23 December 2012). "Delhi gang-rape: victim narrates the tale of horror". The Hindu. New Delhi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  14. "Delhi Gang Rape: Youngest Attacker 'Ripped out Victim's Intestines with Bare Hands'". International Business Times UK. 1 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-04. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  15. 15.0 15.1 15.2 "Delhi gangrape: Accused had tried to mow down braveheart under bus, male friend saved her". CNN-IBN. Press Trust of India. 1 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  16. 16.0 16.1 "Delhi gangrape: main accused sent to 5-day police custody, refuses identification parade". Hindustan Times. Press Trust of India/Indo-Asian News Service. 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  17. Chaturvedi, Amit (19 December 2012). "Delhi gang-rape: Victim is fighting for life, on ventilator, say doctors". New Delhi: NDTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  18. 18.0 18.1 Kaul, Rhythma (20 December 2012). "Rape victim still critical, writes to mother 'I want to live'". Hindustan Times. New Delhi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  19. Perappadan, Bindu Shajan (28 December 2012). "Rape survivor airlift was govt., not medical, decision". The Hindu. New Delhi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  20. Bhatt, Abhinav (18 December 2012). "How the police cracked the Delhi gang-rape case".
  21. Amol Sharma and Krishna Pokharel (29 December 2012). "In Delhi Slum, Tales of the Rape Suspects". IndiaRealtime.
  22. 22.0 22.1 "Hang Me, I've Done Heinous Act: Delhi Rape Accused". Outlook India. 19 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-19. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.
  23. "Delhi gang-rape accused was on reality TV show". Emirates 27. สืบค้นเมื่อ 12 January 2013.
  24. "Delhi rape accused lived on margins of India's boom". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 12 January 2013.
  25. "Delhi gang-rape case: Delhi police confirm fifth accused a minor". Zee News. 22 December 2012. สืบค้นเมื่อ 26 December 2012.
  26. Chaturvedi, Amit (21 December 2012). "Delhi gang-rape case: missing sixth attacker arrested from village in Bihar". สืบค้นเมื่อ 21 December 2012.
  27. 27.0 27.1 Abhinav Bhatt (19 December 2012). "Delhi gang-rape case: bus with tinted windows, driver with a record". สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  28. Andrew Buncombe (20 December 2012). "'I feel the attack in my heart': India's shame at brutal rape". The Independent. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  29. Abhinav Bhatt (19 December 2012). "Delhi gang-rape: What was the police doing, asks angry High Court". NDTV. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  30. "Tihar inmates bludgeon Delhi bus driver involved in horrific Delhi gangrape". The Indian Express. 21 December 2012.
  31. "Delhi gangrape: Sixth accused arrested in Aurangabad in Bihar". India Today. 21 December 2012. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
  32. "No watch on night Ram Singh died". The Times of India. 19 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-26. สืบค้นเมื่อ 1 July 2013.
  33. Mandhana, Niharika (29 December 2012). "Suspect in India Gang Rape Found Dead in Jail". The New York Times. New Delhi.
  34. "India gang-rape: accused Ram Singh commits suicide". The Telegraph. 11 March 2013. สืบค้นเมื่อ 11 March 2013.
  35. Basu, Indrani and Sekhar, Raj (12 March 2013). "Suicide or murder? Nirbhaya main accused found hanging in Tihar". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-26. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  36. "Delhi rape accused found dead in prison". BBC. สืบค้นเมื่อ 11 March 2013.
  37. "Juvenile suspect in India gang rape reportedly ripped her intestines out in attack". Fox News Channel. 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 January 2013.
  38. "'Most brutal' of Delhi rape accused waits to know his fate". Hindustan Times. 3 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-09-15.
  39. "Delhi gangrape: Sixth accused sent to police custody for a day". Hindustan Times. New Delhi. Press Trust of India. 27 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  40. "Chargesheet filed in Delhi gangrape case". The Hindu. New Delhi. Press Trust of India. 3 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  41. "Most brutal rapist declared minor, victim's kin outraged". Hindustan Times. 28 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2013-09-15.
  42. "Delhi gang-rape: Board declares 6th accused a minor, does not allow bone test". The Telegraph. Calcutta. 28 January 2013.
  43. "Gang-rape victim's kin appalled as 6th accused declared minor". The Times of India. Press Trust of India. 28 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2013-09-15.
  44. "Subramanian Swamy's plea for trying juvenile as adult accused dismissed". Hindustan Times. 24 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-09-15.
  45. "Subramanian Swamy's plea for trying juvenile with adult gang-rape accused dismissed". The Times of India. Press Trust of India. 24 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-15.
  46. "Juvenile Board rejects Swamy's plea seeking trial of juvenile along with accused adults". The Indian Express. 24 January 2013.
  47. "Lawyer: India rape verdict to be given July 25". USA Today. 11 July 2013. สืบค้นเมื่อ 11 July 2013.
  48. "Delhi Gang-Rape Case: Verdict On Juvenile Accused to be Pronounced on 5 August". International Business Times. 25 July 2013. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
  49. "Delhi gang-rape case: Board defers verdict on juvenile again". The Times of India. Times News Network. 6 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-11. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
  50. TNN (31 August 2013). "Nirbhaya gang-rape case: Juvenile found guilty of rape and murder". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  51. "Suspects in New Delhi gang rape case to appear in court Monday". CNN. 5 January 2013. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
  52. "India rape: Delhi court hears of forensic evidence". BBC. 5 January 2013. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
  53. "Delhi gangrape case: special public prosecutor not to speak to media". Hindustan Times. Press Trust of India. 3 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  54. 54.0 54.1 54.2 "Four convicted for Delhi gang rape". BBC News. 10 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  55. "Three Accused in Delhi Gang Rape Case to Plead 'Not Guilty'". The New York Times. 9 January 2013. สืบค้นเมื่อ 9 January 2013.
  56. 56.0 56.1 "Victims in Delhi rape case are to blame, defendants' lawyer says". The Sydney Morning Herald. 10 January 2013.
  57. 57.0 57.1 Nair, Harish V (10 September 2013). "Delhi gang-rape verdict: four convicted, sentence tomorrow; girl's father says 'hang them'". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-12. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  58. "Delhi gang-rape case: All four accused convicted, sentencing tomorrow". The Times of India. 10 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  59. "4 Delhi gang-rape case: Death sentence for all four convicts". The Times of India. 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 13 September 2013.
  60. "India court upholds 2012 Delhi gang rapists' death penalty". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 5 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017.
  61. "Nirbhaya Case: Parents Welcome Supreme Court Judgement". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  62. "Nirbhaya gangrape case: Supreme Court rejects review petition of three convicts". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 9 July 2018.
  63. Singh, Vijaita (17 January 2020). "President rejects mercy plea of Nirbhaya case convict Mukesh Singh". The Hindu (ภาษาIndian English). สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  64. https://www.thaipost.net/main/detail/60397 อินเดียแขวนคอ 4 ทรชน รุมข่มขืนนศ.บนรถบัส
  65. "Profiles: Who were the Delhi gang rape convicts?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-03-20. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
  66. "Government waging 'war' against people: Arvind Kejriwal". CNN-IBN. 24 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2012. สืบค้นเมื่อ 24 December 2012.
  67. "Rape & Shame in Delhi : A witness' account of the protests". thatssogloss.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.
  68. Timmons, Heather; Mandhana, Hinarika; Gottipatti, Sruthi (23 December 2012). "Protests Over Rape Turn Violent in Delhi". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2012. สืบค้นเมื่อ 23 December 2012.
  69. "Delhi gang-rape: Women, students protest in Bangalore". The Economic Times. Press Trust of India. 22 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2012.
  70. Jim Ankan Deka. "Bangalore pays tribute to Delhi gang-rape victim". Demotix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2013. สืบค้นเมื่อ 31 December 2012.
  71. "Kolkata walks in silence to protest Delhi gangrape". IBNlive.in.com. Indo-Asian News Service. 23 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2013. สืบค้นเมื่อ 23 December 2012.
  72. "When words fail, a dot speaks volumes". The Times of India. 21 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2013. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  73. "Delhi gang rape case: Facebook, Twitter 'anchoring' protest". The Times of India. 24 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  74. "Delhi gang rape: Protests go viral nationwide, unstoppable public outpouring as gang rape victim dies". The Economic Times. New Delhi. Press Trust of India. 29 ธันวาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2012.
  75. 75.0 75.1 75.2 75.3 "Delhi gang-rape: Protesters clash with police at Jantar Mantar". The Economic Times (India). Press Trust of India. 30 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2018. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
  76. "Delhi gang-rape: Peaceful protest at Jantar Mantar marred by violence". DNA India. Asian News International. 30 ธันวาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2012.
  77. "BJP disapproves of restrictions, questions 'hush-hush manner' cremation of Delhi gangrape victim". India Today. Press Trust of India. 30 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2012. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]