คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ
ที่ตั้ง
เว็บไซต์tsu.ac.th

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ตั้งอยู่ที่ 140 หมู่ที่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ประวัติ[แก้]

คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ

     ในปี 2533   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ภาคใต้ ได้เปิดสอนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต(ศ.บ.)

ซึ่งเป็นการเปิดสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นแห่งแรกในภาคใต้ ส่วนภาควิชาบริหารธุรกิจได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(บธ.บ) สาขาการบัญชี และสาขาการตลาด ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และภาควิชาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ และได้รับความร่วมมือจากคณะต่าง ๆ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะพลศึกษา โดยในระยะแรกที่เปิดสอนมีอาจารย์ประจำสาขาเศรษฐศาสตร์ 3 คน และสาขาบริหารธุรกิจ 2 คน ได้รับการสนับสนุนอาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งวิทยากรจากหน่วยงานราชการและเอกชน

    ต่อมา ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ภาคใต้  ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ

ได้รวมภาควิชาเศรษฐศาสตร์และภาควิชาบริหารธุรกิจเข้าด้วยกัน โดยจัดตั้งเป็นภาควิชาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

     ต่อมา  สภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 5/2546 วันที่  20  กันยายน  2546  ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการภายในมหาวิทยาลัยทักษิณ และแบ่งงานภายในโดยให้มีสำนักงานเลขานุการ
    ปัจจุบัน   คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 หลักสูตร

ได้แก่ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต(ศ.บ.) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(บช.บ.) สาขาวิชาการบัญชี วิชาเอกการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(บธ.บ.) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาด วิชาเอกการประกอบการและการจัดการ วิชาเอกการจัดการการค้าปลีก และระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บธ.ม.) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ

    สำหรับบุคลากรประจำคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มีจำนวนทั้งสิ้น 42 คน โดยเป็นบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 30 คน และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 12 คน

สัญลักษณ์ประจำคณะ[แก้]

  • ปรัชญา จัดการดี มีคุณธรรม นำการพัฒนาเศรษฐกิจ
  • สีประจำคณะ คือ ทอง

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรปริญญาตรี

  • หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
    • สาขาเศรษฐศาสตร์
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • สาขาการตลาด
    • สาขาการประกอบการและการจัดการ
    • สาขาการค้าสมัยใหม่และนวัตกรรมบริการ
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    • สาขาการบัญชี

หลักสูตรปริญญาโท

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • สาขาการจัดการธุรกิจ

หลักสูตรปริญญาเอก

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
    • สาขาการจัดการธุรกิจ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]