คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
สถาปนา18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์
ที่อยู่
ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สี███ สีฟ้า
เว็บไซต์www.soc.cmu.ac.th

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University) เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ

ประวัติ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้น คณะที่เสนอไปครั้งแรกนั้นมีคณะนิติศาสตร์รวมอยู่ด้วย แต่จากผลการสำรวจความสนใจทางการศึกษาของประชาชนในภาคเหนือระหว่างปี พ.ศ. 2504-2505 พบว่าในช่วงนั้นความสนใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสำหรับคณะวิชานี้ยังมีไม่มากนัก ประกอบกับมีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิว่า ควรจะเปิดสอนเป็นคณะสังคมศาสตร์ที่ประกอบด้วยสาขาวิชาที่กว้างกว่าสาขาวิชาเฉพาะ เช่น คณะนิติศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อันหาได้ยากยิ่งแม้แต่ในกรุงเทพเองก็ตาม ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างรายละเอียดหลักสูตรวิชาสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2506 โดยมีนายเกษม อุทยานิน เป็นประธานอนุกรรมการ นางสุมนา คำทอง เป็นเลขานุการ และประกอบด้วยกรรมการอีก 10 คน

คณะสังคมศาสตร์ ตั้งอยู่ที่เชิงดอยสุเทพ ระหว่างถนนสุเทพและถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่เศษ (ปัจจุบันมี 27 ไร่) เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2507 และเริ่มเปิดสอนวันแรก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2507 มีนักศึกษา 75 คน อาจารย์ 15 คน ในระยะแรกคณะสังคมศาสตร์ยังไม่มีอาคารเรียนเป็นของตนเอง เพราะอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ดังนั้น จึงต้องอาศัยอาคารของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และหอพักชาย อาคาร 1 เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว จนถึงปี 2509 จากนั้นจึงได้ย้ายไปเรียนที่อาคารหลังแรกของคณะฯ [1]

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงแรก (พ.ศ. 2507) เริ่มเปิดดำเนินการจำนวน 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภูมิศาสตร์ (ก่อตั้งเป็นภาควิชาภูมิศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย) ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาบัญชีและบริหารธุรกิจ และภาควิชารัฐศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตในปี พ.ศ. 2507 ใน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และใน พ.ศ. 2544 ได้จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ อีกด้วย [2]

ต่อมา ภาควิชาและสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะสังคมศาสตร์ ได้แยกตัวเป็นคณะ ได้แก่ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาบัญชีและบริหารธุรกิจ ได้แยกตัวออกเป็น คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ตามลำดับ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2535

ภาควิชารัฐศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2548

สาขาวิชานิติศาสตร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะนิติศาสตร์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549

ภาควิชาและส่วนงาน[แก้]

คณะสังคมศาสตร์ได้แบ่งภาควิชาและส่วนงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ออกเป็น 6 ส่วนงานดังต่อไปนี้

1. สำนักงานคณะ

2. ภาควิชาภูมิศาสตร์

3. ภาควิชาสตรีศึกษา

4. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

5. ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา

6. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ

หลักสูตร[แก้]

ปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี 4 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร และปริญญาเอก 4 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาอาเซียนศึกษา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (แขนงวิชาสตรีศึกษา, แขนงวิชาชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา และแขนงวิชาสังคมศาสตร์สุขภาพ)
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (แขนงวิชาการศึกษาการพัฒนา หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสตรีศึกษาและเพศภาวะศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง (หลักสูตรพหุวิทยาการ)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาสตรีศึกษาและเพศภาวะศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ[แก้]

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อประสานงาน ขับเคลื่อน และบูรณาการงานต่างๆ ของศูนย์และโครงการในคณะอย่างมีทิศทาง โดยเฉพาะงานวิจัย บริการวิชาการแก่สังคม โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรต่างชาติ (International Exchange Program) รวมไปถึงสนับสนุนงานและบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์ แบ่งเป็นศูนย์และโครงการในสังกัด ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ และศูนย์และโครงการที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศภายใต้กลุ่มวิจัย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม-ภัยพิบัติ เทคโนโลยีคาดการณ์ และผลกระทบเชิงพื้นที่/ผู้คน 2) การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เมือง ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ แรงงานและการอพยพ 3) วัฒนธรรมการศึกษา ศาสนา ชาติพันธุ์ ล้านนา 4) สตรีและเพศภาวะศึกษา และ 5) ภูมิภาคศึกษา จีน อินเดีย อาเซียน ชายแดน และการข้ามชาติศึกษา โดยประกอบไปด้วยศูนย์ฯ ต่างๆ ดังต่อไปนี้

สำนักงานระดับมหาวิทยาลัย
  • สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Chiang Mai University Research Ethics Committee: CMUREC) [3]
  • ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Indian Studies Center, Chiang Mai University: ISCCMU)
ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการระดับคณะ
  • ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Regional Center for Social Science and Sustainable Development: RCSD)[3]
  • ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) (Geoinformatics and Space Technology Centre Northern Region: GISTNORTH)
  • ศูนย์การศึกษาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Chiang Mai University - Sustainable Land Use and Natural Resource Management Academic Center: CMU-SLUSE)[4]
  • ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Biodiversity and Indigenous Knowledge Research Center for Sustainable Development: BIRD)[5]
  • ศูนย์ภูมิภาคเพื่อการศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (Regional Center for Climate and Environmental Studies: RCCES)[6]
  • ศูนย์สตรีศึกษา (Women's Studies Center: WSC)
  • ศูนย์จีน-อุษาคเนย์ศึกษา (China-Southeast Asia Studies Center: CSC)
  • ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (Center for Ethnic Studies and Development: CESD)[7]

รายนามคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รายนามคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. นายไกรศรี นิมมานเหมินท์
พ.ศ. 2506
2. ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย
พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2508
3. ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์
พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2510
4. ศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ ศศิธร
พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2516
5. รองศาสตราจารย์ ประดิษฐ์ วิชัยดิษฐ์
พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2518
6. ศาสตราจารย์ พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนจินดา
พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2522
7. รองศาสตราจารย์ ฤทธิ์ ศิริมาตย์
พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โฉมเฉลา เรืองพงษ์
พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528
9. รองศาสตราจารย์ สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว
พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์
พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2540
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2547
12. รองศาสตราจารย์ ดร. เสน่ห์ ญาณสาร
พ.ศ. 2547
13. รองศาสตราจารย์ เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
14. ดร. สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร
พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
15. รองศาสตราจารย์ พวงเพชร์ ธนสิน
พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559
16. รองศาสตราจารย์ ดร. เทพินทร์ พัชรานุรักษ์
พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

คณาจารย์[แก้]

ภาควิชาภูมิศาสตร์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ภาควิชาสตรีศึกษา
ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา

หัวหน้าภาควิชา

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลิวา ผาดไธสง

คณาจารย์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศรา เจริญปัญญาเนตร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี ชัยพิมลผลิน
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา สุวรรณประสิทธิ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิน หุตานุวัตร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เผ่าไทย สินอำพล
  • อาจารย์ ดร.ชวิศ ศรีมณี
  • อาจารย์ ดร.วาทินี ถาวรธรรม
  • อาจารย์ ดร.ชยา วรรธนะภูติ
  • อาจารย์ ดร.ชาคริน เพชรานนท์
  • อาจารย์ ดร.ศักดิ์ดา หอมหวล


หัวหน้าภาควิชา

  • รองศาสตราจารย์ ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

คณาจารย์

  • ศาสตราจารย์ ดร.ยศ สันตสมบัติ
  • ศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อรัญญา ศิริผล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ประพงษ์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญ พนารัตน์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ สมศิริวรางกูล
  • อาจารย์ ดร.สุนทรีย์ สิริอินต๊ะวงศ์
  • อาจารย์ ดร.ศิริจินดา ทองจินดา
  • อาจารย์ รังสรรค์ ประทุมวรรณ์
  • อาจารย์ นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย
  • อาจารย์ ผานิตดา ไสยรส

รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ

คณาจารย์

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริยา เศวตามร์
  • อาจารย์ ดร.มลิวัลย์ เสนาวงษ์

หัวหน้าภาควิชา

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ

คณาจารย์

  • รองศาสตราจารย์ ดร.อัมพร จิรัฐติกร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ วิทยาภัค
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อารตี อยุทธคร
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิญา อุทัย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญณ์ณภัทร์ วิวัฒน์วงศ์วนา รักษ์โมลาจา
  • Assistant Professor Dr.Ta-Wei Chu
  • Assistant Professor Dr.Margo Haenssgen
  • อาจารย์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
  • อาจารย์ ดร.พุทธิดา กิจดำเนิน
  • Dr.Shirley Worland
  • Dr.Maranatha Ivanova
  • Dr.James Leslie Taylor

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติความเป็นมาของคณะสังคมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-05.
  2. "/ ประวัติความเป็นมาคณะสังคมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-03-25.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.
  4. [1][ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-17. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.
  6. [2]
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-04-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]