คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Allied Health Sciences,
Burapha University
สถาปนา29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (14 ปี)
คณบดีผศ.ดร.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร[1]
ที่อยู่
อาคารวิทยาศาสตร์การแพทย์
169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20131
สี   สีน้ำเงิน-ขาว
เว็บไซต์http://alliedhs.buu.ac.th

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Faculty of Allied Health Sciences, Burapha University) เป็นคณะในมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งทำการสอนวิชาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกโดยเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 และเริ่มทำการรับนิสิตรุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2553

วิสัยทัศน์ “แหล่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งมีความโดดเด่นด้านศาสตร์เวลเนส”

ประวัติ[แก้]

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 โดยเป็นคณะจัดตั้งใหม่ของ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มุ่งเน้นจัดการศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการด้านการสืบค้นสาเหตุ ปัจจัยและกลไกของโรค การวินิจฉัย การบำบัดรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยและประชากร[2] โดยคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการยกฐานะจากภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ ตามมติกรรมการสภามหาวิทยาลัยบูรพา ปัจจุบันมีหลักสูตรที่เปิดสอน 7 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต และหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต โดยในปี พ.ศ. 2565 ได้มีประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา[1] ให้โอนบรรดากิจการของคณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรมาเป็นของคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

โครงสร้างคณะ[แก้]

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งโครงสร้างการบริหารคณะดังนี้[3]

  • สำนักงานคณบดีคณะสหเวชศาสตร์
  • สำนักงานการศึกษา
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
    • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
    • สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค
    • สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
    • สาขาวิชากายภาพบำบัด
    • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
    • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
  • ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสหเวชศาสตร์
  • ศูนย์บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

หลักสูตร[แก้]

ปัจจุบันคณะสหเวชศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนมีทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ดังนี้[4]

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
  • สาขาวิชาพยาธิวิทยากายวิภาค
  • สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร
  • สาขาวิชากายภาพบำบัด

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.)

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ.)

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
-

สาขาการแพทย์แผนไทย

อ้างอิง[แก้]