คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
Faculty of Architecture
Rangsit University
สถาปนาพ.ศ. 2531
คณบดีผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ
ที่อยู่
อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ตึก 19)
มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก
ถนนเอกประจิม ตำบลหลักหก อำเภเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000. โทร.02997-2222 ต่อ (6212-6219)
สี███ สีน้ำตาลเข้ม Sepia
มาสคอต
รูปสถูป
เว็บไซต์http://www.rsu.ac.th/architect/

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชน คณบดีผู้ก่อตั้ง คือ ศาสตราจารย์ ดร.เรืองศักดิ์ กันตะบุตร คณบดีคนต่อมาคือ ผศ.สุธน วิริยะสมบูรณ์ และคณบดีคนปัจจุบัน คือ ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ

ปัจจุบัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เน้นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบใหม่เชิงบูรณาการและผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริง และมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรม

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

ระดับปริญญาตรี[แก้]

  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (B.Arch)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

             ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)        :    สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
             ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)    :    Bachelor of Architecture
             ชื่อย่อ (ภาษาไทย)         :    สถ.บ.
             ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)     :    B.Arch 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

             จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร    154    หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

             หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี 

ประเภทของหลักสูตร

             หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

ภาษาที่ใช้

             ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

             นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ
             ติดต่อ : สำนักงานรับนักศึกษา https://www.rsu.ac.th/admission/
             เวลาทำการ 08.30 - 16.30 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ (โทร.02-791-5500 - 10)

ปรัชญา

             ศาสตร์ที่รวมด้านศิลป์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นสากล พัฒนากระบวนการเรียนรู้และทักษะที่เหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาค้นพบศักยภาพ มีทักษะ สร้างอัตลักษณ์ที่เหมาะสมของตน ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานร่วมกันในแบบมืออาชีพ และสร้างผลงานที่มิได้วัดผลเพียงแต่คุณค่าในรูปแบบของสถาปัตยกรรม แต่เป็นนวัตกรรมที่ยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในแง่เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 

ความสำคัญ

            วิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพที่มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาประเทศ  แต่ในปัจจุบันวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องต้อง​เผชิญ​กับ​ภาวะ​การ​แข่งขัน​ทางการตลาด​และ​การ​ค้า​เสรี​ การศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมจำเป็นต้องเร่ง​ปรับ​ตัว​และ​ยก​ระดับ​มาตรฐาน​การ​ปฏิบัติ​วิชาชีพ​ โดย​การ​พัฒนา​การเรียนการสอนวิชาชีพ​สถาปัตยกรรม​ในประเทศไทยอย่าง​เป็น​ระบบ​และ​เร่ง​ด่วน​ ​เพื่อ​เพิ่ม​โอกาส ในการ​แข่งขัน​วิชาชีพ​ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมโดยมุ่งเน้นให้มีความเข้าใจกระบวนการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมทุกขั้นตอน  สามารถบูรณาการทุกศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับกระบวนการออกแบบ ให้มีความสำนึกต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ เข้าใจระบบอุตสาหกรรมการก่อสร้างและประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตนเองได้ ประยุกต์องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพทางสถาปัตยกรรมและอาชีพที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์บริการวิชาการ[แก้]

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดตั้งศูนย์บริการวิชาชีพ และวิชาการ (Academic Service Center) เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ ได้ปฏิบัติงานวิชาชีพ ในลักษณะการบริการแก่สังคม นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถปฏิบัติงานได้ทันที

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]