คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พิกัด: 19°41′1″N 99°44′23″E / 19.68361°N 99.73972°E / 19.68361; 99.73972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
Faculty of Engineering
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
สถาปนา27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[1]
คณบดีผศ.สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์
ที่อยู่
สี  สีเลือดหมู
เว็บไซต์http://engineering.rmutl.ac.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งอยู่เลขที่ 128 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 4 สาขา(ภาควิชา)

ประวัติคณะ[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งรวมเอาวิทยาเขตต่างๆ ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เข้าด้วยกันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น เพื่อจัดการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท ในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์

รายนามคณบดี[แก้]

  1. ผศ.สนิท พิพิธสมบัติ (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554)
  2. ผศ.สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ (พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557)
  3. ผศ.ดร.กิจจา ไชยทนุ (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2566)
  4. ผศ.สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)

การศึกษา[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการศึกษาใน 6 เขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ เขตพื้นที่ภาคพายัพเชียงใหม่ เขตพื้นที่ลำปาง เขตพื้นที่เชียงราย เขตพื้นที่น่าน เขตพื้นที่พิษณุโลก และเขตพื้นที่ตาก

จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีจำนวนนักศึกษารวมทั้งสิ้น 7,741 คน[2] กระจายตัวตามเขตพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่

  • เชียงราย 1,024 คน
  • เชียงใหม่ 3,796 คน
  • ตาก 2,037 คน
  • น่าน 287 คน
  • พิษณุโลก 304 คน
  • ลำปาง 293 คน

หน่วยงานและหลักสูตร[แก้]


หน่วยงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  • สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
  • สาขาวิชาช่างโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  • สาขาวิชาไฟฟ้า
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์สื่อสาร
  • สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  • สาขาวิชาช่างยนต์
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาช่างกลหนัก
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

  • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
  • สาขาวิชาช่างโลหะ
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมกระบวนการผลิตสมัยใหม่ (Intelligent manufecturing)
สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

กิจกรรมนักศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับคณะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่

  • สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
  • ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน

การรับรองมาตรฐานการศึกษา[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2550 กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับผลการประเมินในระดับ "ดี" คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.94[4]

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากคณะ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๙ (กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘)
  2. สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  4. รายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก ประจำปีการศึกษา 2550

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

19°41′1″N 99°44′23″E / 19.68361°N 99.73972°E / 19.68361; 99.73972