คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พิกัด: 14°02′25″N 100°36′37″E / 14.04017222°N 100.61030278°E / 14.04017222; 100.61030278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
School of Engineering, Bangkok University
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ตราเพชร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อวศ. / EN
คติพจน์มุ่งพัฒนาวิชาการ สร้างสรรค์นวัตกรรม ล้ำหน้าเทคโนโลยี (ทางการ)
C + E + T (ไม่เป็นทางการ)
สถาปนาพ.ศ. 2536 (อายุ 31 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)
คณบดีผศ.ดร.วิศาล พัฒน์ชู
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
เลขที่ 9/1 หมู่5 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
วารสารวิศวกรรมสาร มกท.
(Bangkok University Engineering Journal)
เพลงดู บทเพลงประจำคณะวิชา
สี  สีแดงเลือดหมู
มาสคอต
เฟือง (Gear)
สถานปฏิบัติอาคาร B4
เว็บไซต์www.bu.ac.th/th/engineering
สัญลักษณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2][a][3][b][4][c][5][6][7][8][9][10][11]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นหน่วยงานในระดับคณะวิชา ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536[c][12] เพื่อตอบสนองต่อความต้องการวิศวกรของประเทศไทยในเวลานั้น โดยทำการเปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นสาขาแรก[13] ซึ่งในภายหลังได้ทำการเปลี่ยนชื่อมาเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม โดยหลักสูตรการศึกษาของทางคณะวิชาได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17]

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถประกอบวิชาชีพได้หลากหลายแขนง และสามารถขอใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม[18] ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542[19] เพื่อประกอบวิชาชีพวิศวกรได้

ประวัติคณะวิชา[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536[c][12] โดยเป็นคณะวิชาในลำดับที่ 9 (เรียงตามลำดับการเปิดสอน)[20] ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีจุดประสงค์ในการก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ โดยตระหนักถึงบทบาทในการผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการประกอบอาชีพอย่างสมบูรณ์ เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมและคุณธรรมตลอดจนเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตน เพื่อเป็นกำลังที่มีค่าต่อสังคมและประเทศชาติ[12] โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17] โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี)[21] ปริญญาโท (หลักสูตรนานาชาติ)[22] (หลักสูตร 3 ปี) และปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ)[23] (เวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรขึ้นอยู่กับการเทียบโอนจากระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท โดยการเทียบโอนจากแต่ละระดับปริญญาจะมีเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป) โดยในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ทำการเปิดการเรียนการสอนแล้วใน 6 สาขาวิชา[12] คือ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (Electronics and Telecommunications Engineering) (ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ยุติการเรียนการสอนในสาขาวิชาดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)

ผู้สำเร็จการศึกษาจะไดัรับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม) หรือ B.Eng. (Electronics and Telecommunications Engineering)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

ผู้สำเร็จการศึกษาจะไดัรับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) หรือ B.Eng. (Electrical Engineering)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Multimedia and Entertainment Engineering) (แต่เดิมชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต)

ผู้สำเร็จการศึกษาจะไดัรับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์) หรือ B.Eng. (Multimedia and Entertainment Engineering)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล (Artificial Intelligence Engineering and Data Science)

ผู้สำเร็จการศึกษาจะไดัรับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล) หรือ B.Eng. (Artificial Intelligence Engineering and Data Science)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ (Computer and Robotics Engineering) (แต่เดิมชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

ผู้สำเร็จการศึกษาจะไดัรับปริญญา วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์) หรือ B.Eng. (Computer and Robotics Engineering)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (Electrical and Computer Engineering)

ผู้สำเร็จการศึกษาจะไดัรับปริญญา Master of Engineering in Electrical & Computer Engineering (ในระดับมหาบัณฑิต) หรือ Doctor of Engineering in Electrical and Computer Engineering (ในระดับดุษฎีบัณฑิต)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ปีการศึกษา การดำเนินงาน
2536 ก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) หลักสูตร 4 ปี
2537 เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) หลักสูตร 4 ปี
2546 เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) หลักสูตร 4 ปี
2547 เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering) หลักสูตร 4 ปี
ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) มาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (Electronics and Telecommunications Engineering) หลักสูตร 4 ปี
เปิดทำการเรียนการสอนในโครงการ Double degree หลักสูตร 5 ปี โดยแบ่งเป็นการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ระยะเวลา 4 ปี และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ระยะเวลา 1 ปี
เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี สำหรับการเทียบโอนคุณวุฒิจากผู้ที่ทำการศึกษาจบในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่า
2556 ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (Electronics and Telecommunications Engineering) กลับมาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering)
2560 ยกเลิกทำการเรียนการสอนในโครงการ Double degree หลักสูตร 5 ปี
ยกเลิกทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี
ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) มาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ (Computer and Robotics Engineering) หลักสูตร 4 ปี
ปรับเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering) มาเป็น สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Multimedia and Entertainment Engineering) หลักสูตร 4 ปี
เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (Electrical and Computer Engineering)
2562 ยกเลิกทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Engineering) หลักสูตร 4 ปี
เปิดรับนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล (Artificial Intelligence Engineering and Data Science) หลักสูตร 4 ปี

แต่เดิมในช่วงเวลาที่เริ่มก่อตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชาเดียว ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์[13] ซึ่งในภายหลังได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรให้กลายมาเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และในช่วงเวลาต่อมาจึงได้ทำการปรับเปลี่ยนหลักสูตรต่างๆของทางคณะวิชาให้เข้ากับยุคสมัย[24][25] เพื่อที่จะทำให้บุคลากรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้สร้างคุณประโยชน์อย่างสูงที่สุดต่อสังคมจนก่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรภายในคณะวิชามาตลอดจวบจนระยะเวลาปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกภายในประเทศไทยที่ได้ทำการเปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต[26][27] ซึ่งในภายหลังได้ทำการปรับเปลี่ยนชื่อหลักสูตรมาเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์

การบริหารและการจัดการ[แก้]

ภาควิชาและหน่วยงาน[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นหน่วยงานในระดับคณะวิชา จึงทำให้มีการจัดการภายในเสมือนเป็นระบบองค์กรหนึ่ง ซึ่งแยกย่อยออกมาจากทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (หน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย) ส่งผลให้มีสาขาวิชา, หลักสูตร, รวมไปถึงหน่วยงาน และสถานที่ทำการ เป็นของตนเอง โดยมีขอบเขตหน้าที่ในการรับผิดชอบส่วนต่างๆภายในคณะวิชาด้วยบุคลากรภายในองค์กรเอง แต่ยังคงได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านงบประมาณ, การจัดการเรียนการสอน, บุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงสถานที่ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆภายในคณะวิชาเพิ่มเติม โดยขอบเขตหน้าที่ในความรับผิดชอบของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถแบ่งออกแยกย่อยได้ดังนี้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีสาขาวิชาในสังกัด 6 สาขาวิชา ได้แก่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีหน่วยงานในสังกัด 5 หน่วยงาน ได้แก่

การรับบุคคลเข้าศึกษา[แก้]

  • ระดับปริญญาตรี

ผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรองรับวิทยฐานะ (โดยปีการศึกษาของผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อ ซึ่งอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ หรือสายอาชีพ หรือเทียบเท่า ได้ทำการศึกษาจบ จำเป็นจะต้องอยู่ในระยะเวลาภายในหรือก่อนหน้าระยะเวลาปีที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อ) หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรอนุปริญญา (ปวส. หรือ อ.ศศ. หรือเทียบเท่า) จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และต้องสำเร็จการศึกษาที่ตรงกับสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดสอน หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่น หรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นในประเทศหรือต่างประเทศซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และต้องการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาอื่นที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน[38] โดยจะต้องมีเกรดเฉลี่ย (GPAX) มากกว่า 2.00 หากต่ำกว่าเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ในข้างต้น ผู้ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยทำการดำเนินการในขั้นตอนถัดไป[38] อีกทั้งยังจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือขัดขวางต่อการศึกษา และไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาอื่นๆเพราะสืบเนื่องมาจากเหตุผลในแง่ของความความประพฤติ[39]

ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมี 3 รูปแบบหลัก ซึ่งได้แก่ รูปแบบระบบแอดมิสชันส์[40][41], รูปแบบการสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย[42] และรูปแบบการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Online)[42] โดยรูปแบบการสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย และรูปแบบการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Online) จะมีเงื่อนไขในการเข้ารับการศึกษาต่อ ซึ่งได้แก่ กรอกใบสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา ยื่นเอกสารการสมัคร สอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ โดยสามารถใช้คะแนนแอดมิชชั่นในการยื่นเข้ารับการศึกษาต่อได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะทำการพิจารณา และสามารถตรวจสอบผลการคัดเลือกได้ในทันที[38] และในส่วนรูปแบบระบบแอดมิสชันส์ จะมีเงื่อนไขในการพิจารณาเข้ารับการศึกษาต่อเป็นไปตามระเบียบของทางมหาวิทยาลัย และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เป็นผู้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือก

และในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมี 7 รูปแบบรอง[43] ซึ่งได้แก่ รูปแบบทุนBU CREATIVE, รูปแบบทุนประกายเพชร, รูปแบบทุนNEW GEN ARTIST, รูปแบบทุนDigital Gen Z, รูปแบบทุนBUCA TALENT และรูปแบบทุนGLOBAL BRIGHT SCHOLARSHIP โดยเงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาของแต่ละรูปแบบทุนการศึกษาก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป

  • ระดับปริญญาโท (หลักสูตรนานาชาติ)

ผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /อนุปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงจะสามารถเข้ารับการศึกษาต่อได้ โดยจะต้องมีเกรดเฉลี่ย (GPAX) มากกว่า 3.00 และผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องยื่นคะแนนในการทดสอบTOEFLให้แก่ทางมหาวิทยาลัยสำหรับขั้นตอนของการพิจารณาในส่วนของการทดสอบทางภาษาอังกฤษ โดยจะต้องมีคะแนนขั้นต่ำ 68 iBT หรือ 190 CBT หรือ 520 PBT ในกรณีดังกล่าวจะยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อที่อยู่ในแถบประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการในการสื่อสารหรือเป็นผู้ที่ศึกษาอยู่ในหลักสูตรนานาชาติขณะที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /อนุปริญญา และคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมดอาจได้รับการยกเว้นสำหรับผู้สมัครที่มีผลงานในเชิงความสามารถทางด้านวิชาการระดับสูงหรือมีศักยภาพที่เพียงพอในการได้รับทุนการศึกษา ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการที่เป็นผู้ทำการรับสมัครในขณะนั้น[44]

  • ระดับปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ)

ผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อจำเป็นจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /สูงกว่า ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงจะสามารถเข้ารับการศึกษาต่อได้ โดยจำเป็นต้องสำเร็จหลักสูตรที่จำเป็นทั้งหมดในระดับปริญญาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า /สูงกว่า ในก่อนหน้านี้ และจำเป็นต้องผ่านการทดสอบที่จำเป็นทั้งหมดซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ทำการกำหนดไว้ อีกทั้งยังจำเป็นจะต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติภาษาอังกฤษตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ในหลักสูตร และมีสื่อสิ่งพิมพ์อย่างน้อยสองฉบับในด้านของวารสารซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ (โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญ ภายในสาขาวิชา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ) โดยอยู่ในฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียง เช่น i.e., ISI, SciMargo, Elsevier และอื่นๆ[45]

อันดับและมาตรฐานของคณะวิชา[แก้]

หลักสูตรที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับการเปิดการเรียนการสอนจากทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17] โดยนักศึกษาที่ได้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของแต่ละสาขาวิชาในแต่ละระดับปริญญา[46] ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถเข้ารับการสอบคัดเลือกเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม[18] ตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542[19] เพื่อประกอบวิชาชีพวิศวกรได้

  • โครงการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์
TPA Robot Contest
Global – Engineering
RoBoCon Robotics Engineering 1 (2542)
Best Performance Award (2542)
2 (2541)

อาทิเช่น โครงการของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศ[47][48] จากการแข่งขันหุ่นยนต์ในงาน TPA Robocon '98 ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งยังได้รับรางวัลชนะเลิศ (Winner)[49][48][50] และรางวัล Best Performance[51] ในฐานะทีมตัวแทนจากประเทศไทยในการแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ระดับนานาชาติจากงาน TPA RoBoCon '99ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นชัยชนะครั้งแรกของประเทศไทยในเวทีสากล[50] และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักศึกษา ทางมหาวิทยาลัยได้จัดโครงการอบรมสัมมนาผู้นำนักศึกษาประจำปีโดยมีจุดประสงค์ที่จะเสริมสร้างทักษะแก่นักศึกษาที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชมรม คณะวิชา และโครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งกิจกรรมภายในสถาบัน และการเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างสถาบันอื่นๆ

การแข่งขันในรายการ TPA RoBoCon '99 ประจำปี พ.ศ. 2542 โดยหุ่นยนต์เตะฟุตบอล NHK Robocon ทีม BU Max speed มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (ณ ประเทศญี่ปุ่น)
  • การจัดอันดับความนิยมตามคณะวิชาและประเภทสถาบันอุดมศึกษาโดย TER
TTU National University Popularity Rankings by Subjects
National - Engineering (Private University)
TER Engineering 1 (2563)

ผลการจัดอันดับความนิยมโดยแยกตามคณะวิชาและประเภทมหาวิทยาลัย โดย สถาบันจัดอันดับทางด้านการศึกษา (ประเทศไทย) หรือThailand Education Ranking (TER) พบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับความนิยมให้อยู่ในลำดับที่ 1 สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประจำปี พ.ศ. 2563[52] โดยเกณฑ์ในการจัดอันดับจะทำการพิจารณาจากความนิยมของคะแนนโหวตจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชน ในทั่วประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลจะแบ่งตามหมวดหมู่คำถามสำหรับความสนใจของตัวผู้เรียน และเก็บข้อมูลโดยแบ่งตามกลุ่มประเภทของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะทำการเก็บข้อมูลและประกาศผลปีละ 1 ครั้ง โดยทำการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนธันวาคม ในปีที่ทำการจัดอันดับ และจะทำการประกาศผลการจัดอันดับในระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ในปีถัดไป[53]

  • การจัดอันดับตามสาขาวิชาโดย QS, THE, SIR และ ARWU
  • ผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษาโดย สกอ. และ สมศ.

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำการเปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชา[21]ทั้งในระดับปริญญาตรี[54] ปริญญาโท[22] และปริญญาเอก[23] โดยในปัจจุบันทางคณะได้เปิดทำการเรียนการสอนทั้งหมด 5 สาขาวิชา ใน 5 ภาควิชา ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดทำการสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล (Artificial Intelligence Engineering and Data Science)

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ (Computer and Robotics Engineering)

ภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) / Bachelor of Engineering (B.Eng.)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (Multimedia and Entertainment Engineering)

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) / Master of Engineering (M.Eng.)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (Electrical and Computer Engineering)
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) / Doctor of Engineering (D.Eng.)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (Electrical and Computer Engineering)

โดยการเรียนการสอนในระดับวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ปริญญาบัณฑิต) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ใช้ระบบทวิภาคคือ แบ่งปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาตอนต้นและภาคการศึกษาตอนปลาย (อาจมีการศึกษาในภาคฤดูร้อน) ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล[31], สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า[28], สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์[29] และสาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์[30] โดยทั้งสี่สาขาจะใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี ซึ่งแบ่งเป็นการศึกษาวิชาการศึกษาทั่วไปและวิชาพื้นฐานวิชาชีพเป็นเวลา 1 ปี และการศึกษาวิชาเฉพาะวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี และฝึกปฏิบัติวิชาชีพ 1 ปี โดยทั้งสี่หลักสูตรได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)[14], สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)[15], สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)[16] และสภาวิศวกร[17]

นอกจากการจัดการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้ทำการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาระดับวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญามหาบัณฑิต)[22] โดยทั่วไป 3 ปี และระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาระดับวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)[23] จะขึ้นอยู่กับวุฒิทางการศึกษาเดิมของผู้ที่ทำการสมัครเข้ารับการศึกษาต่อในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยจำเป็นต้องไม่ต่ำกว่าในระดับปริญญาบัณฑิต และวุฒิทางการศึกษาดังกล่าวจำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ โดยทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ทำการกำหนดเกณฑ์ในการรับสมัครและเกณฑ์ในการคัดเลือกต่อไปในแต่ละปีการศึกษา ซึ่งการศึกษาในระดับวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จะทำการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของหลักสูตรนานาชาติเท่านั้น

สถานที่สำคัญภายในคณะวิชา[แก้]

ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีสถานที่สำคัญต่างๆ[55] ดังนี้

บุคคล[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำการผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรม ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยมีคณาจารย์และศิษย์เก่ามากมายที่ได้สร้างชื่อเสียงและผลงานให้แก่มหาวิทยาลัย ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ อาทิเช่น วิศวกร, นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย ซึ่งนอกจากนี้ยังมีในส่วนของคณาจารย์ ที่ได้ทำการดำรงตำแหน่งคณบดี ตั้งแต่ก่อตั้งจวบจนระยะเวลาปัจจุบัน โดยสามารถจำแนกแยกย่อยรายนามบุคคลสำคัญแต่ละบุคคลให้อยู่ในประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

คณบดี[แก้]

ศิษย์เก่าดีเด่น[แก้]

นับตั้งแต่การก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นจวบจนช่วงระยะเวลาปัจจุบัน ศิษย์เก่าดีเด่นภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ได้รับการยืนยันจากทางด้านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีรายนามทั้งหมด[60][61]ดังนี้

คำนำหน้านาม รายนาม สาขา/ปีที่เข้า เกียรติประวัติ อ้างอิง
บุลากร แก้วฉาย ผู้ให้คำปรึกษาในด้านภาษาอาบัป
สุนันทา สมใจ อดีตวิศวกรเครื่องมือและโครงการ [62]
อภิสิทธ์ อุคำ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ / พ.ศ. 2556 อดีตนักพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) [63]
ภาริดา หมั่นทุ่ง สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบ บริษัท ซอฟต์แบงก์ เทเลคอม (ประเทศไทย)
เกตุวดี บุญนาค นักวิเคราะห์ระบบอาวุโส บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
ศุภฤกษ์ หนูเจริญ ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตผู้อำนวยการ บริษัท ดิจิเดย์ จำกัด [64][65][66]
ปิยพงศ์ เปรมวรานนท์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ / พ.ศ. 2538 ผู้ช่วยนักวิจัย ห้องปฏิบัติการยานยนต์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มนักเทคโนโลยีดีเด่น “กลุ่มเทคโนโลยีการคำนวณเพื่อวิเคราะห์และออกแบบทางวิศวกรรม” [67][68][69]

คณาจารย์ดีเด่น[แก้]

นับตั้งแต่การก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นจวบจนช่วงระยะเวลาปัจจุบัน คณาจารย์ดีเด่นภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ได้รับการยืนยันจากทางด้านมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีรายนามทั้งหมดดังนี้

คำนำหน้านาม รายนาม สาขา เกียรติประวัติ อ้างอิง
ณัฐวุฒิ เลื่อนไธสง วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ร่วมก่อตั้ง Be>our>friend Studio (Thailand) และได้รับรางวัล Best of 2003 - 2004 สาขา Interactive Best of 2003 - 2004 Category : Interactive, web-site design For : Self - Promotion Title : Passion of Bangkok2 จากการมอบรางวัล B.A.D Awards ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก หรือ B.A.D (Bangkok Arts Directors' Association) [70][71]
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รองประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (คนที่2) สมัยที่ 36 [72][73][d]
รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรรมการกลาง สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศแห่งประเทศไทย (ECTI Association) ชุดปี พ.ศ. 2549 - 2550 และรองอธิการบดีอาวุโสด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ [74][75][76][d]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรพงษ์ สุธาภุชกุล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ นักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกรับทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักวิจัย Newton Fund – Thailand Research Fund Researcher Links – Travel grants 2017/18 ซึ่งสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ British Council [77][78][d]

ความร่วมมือระหว่างองค์กร[แก้]

รูปแบบของความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และองค์กรต่างๆภายนอก ประกอบไปด้วย 2 รูปแบบหลัก ซึ่งได้แก่ รูปแบบบันทึกความเข้าใจ และรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยสามารถแบ่งหมวดหมู่แยกย่อย[79] ได้ดังนี้

ความร่วมมือภายในประเทศ[แก้]

  • ลักษณะความร่วมมือแบบบันทึกความเข้าใจ

หน่วยงานและองค์กรภายในประเทศไทยที่ได้ทำการเข้าร่วมความร่วมมือในลักษณะบันทึกความเข้าใจ กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วย CMO Group, เวสเทิร์นดิจิตอล (thailand) Co. ltd, The Monk Studios, บริษัท T-NET จำกัด และบริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด[79]

  • ลักษณะความร่วมมือแบบห้างหุ้นส่วน

หน่วยงานและองค์กรภายในประเทศไทยที่ได้ทำการเข้าร่วมความร่วมมือในลักษณะห้างหุ้นส่วน กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, ซีเกท เทคโนโลยี, ปูนซิเมนต์ไทย, Robomac, Bangkok Glass Group, มินีแบ, Yaskawa Electric Corporation, CFS Intelligent Robots CO. Ltd. และCT Asia[79]

ความร่วมมือระหว่างประเทศ[แก้]

  • ลักษณะความร่วมมือแบบห้างหุ้นส่วน

หน่วยงานและองค์กรภายนอกประเทศไทยที่ได้ทำการเข้าร่วมความร่วมมือในลักษณะห้างหุ้นส่วน กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนางาโอกะ[79]

กิจกรรมและประเพณีภายในคณะวิชา[แก้]

กิจกรรมที่จัดขึ้นภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์โดยส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่จะขึ้นตรงกับทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยกิจกรรมและประเพณีที่มีการจัดขึ้นโดยตรงเฉพาะภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จะมีกิจกรรมและประเพณีอันได้แก่ กิจกรรมพี่พบน้อง[80][81], ประเพณีวิ่งธง[82] โดยประเพณีดังกล่าวเริ่มต้นจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงประเพณีปลดไทด์ใส่เกียร์[83] และประเพณีกีฬาเกียร์สัมพันธ์ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็น1ใน31 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของแต่ละสังกัดสถาบันอุดมศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่เข้าร่วมประเพณีดังกล่าว

เกร็ด[แก้]

การศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี), มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ในตลอดทุกหลักสูตรจะทำการจัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต เพียงวิทยาเขตเดียวเท่านั้น[84] ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะเรียกนักศึกษาที่กำลังทำการศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ว่า "วิดสะเตอร์"[85] (อังกฤษ: Witsater)[85] โดยลักษณะสีของเสื้อช็อป (Workshop Shirt) ในช่วงระยะเวลาปัจจุบันสำหรับนักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมีสีซีเปีย[86] ซึ่งในช่วงระยะเวลาเริ่มแรกที่ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ทำการก่อตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น ลักษณะเสื้อช็อปของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จะมีสีแดงเลือดหมู[86] โดยในช่วงระยะเวลาถัดมาจึงได้ทำการปรับเปลี่ยนมาเป็นสีเทา[86] เช่นเดียวกันกับตุ้งติ้งของทางคณะวิชาที่มีองค์ประกอบระหว่างสีทอง และสีแดงเลือดหมู[87] รวมไปถึงในส่วนปกของชุดครุยวิทยฐานะสำหรับนักศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เป็นสีแดงเลือดหมูเช่นเดียวกัน[88] สืบเนื่องมาจากการที่สีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นสีเลือดหมู โดยมีสีเดียวกับโลหิตของพระวิษณุกรรม[89] ซึ่งเป็นเทพแห่งวิศวกรรม และเทพแห่งการช่างทั้งปวง[90]

การเดินทางมาสู่คณะวิชา[แก้]

ในการเดินทางมายังคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะมีรูปแบบหลักในการเดินทาง[91]ดังนี้

ระบบขนส่งมวลชน

สาย 29, 34, 39, 59, 95ก., ปอ.504, ปอ.510, ปอ.520, ปอ.29, ปอ.39, รถ บขส. สายภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และเดินทางเข้ามายังตึกB4 (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)

  • เดินทางโดยรถตู้ประจำทาง

สาย ต.85 (อนุสาวรีย์ชัยฯ – ม.กรุงเทพ – รังสิต) และเดินทางเข้ามายังตึกB4 (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)

ลงสถานีจตุจักร ต่อรถตู้ที่ลานจอดรถตรงข้ามจตุจักร และเดินทางเข้ามายังตึกB4 (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต)

รถโดยสารภายใน

การเดินทางภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต) จะมีบริการขนส่งโดยรถราง และรถบัสเล็ก คอยให้บริการในตามจุดต่างๆ (รวมไปถึงบริเวณตึกB4 คณะวิศวกรรมศาสตร์) เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการโดยสารนักศึกษาไปยังจุดต่างๆภายในบริเวณมหาวิทยาลัย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เนื่องจากเป็นสิทธิในการได้รับบริการขั้นพื้นฐานของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยและผู้ที่เข้ามาทำการเยี่ยมเยียน[92] โดยที่รถรางและรถบัสเล็กดังกล่าวได้ทำการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ แต่ในช่วงเวลาปัจจุบันได้มีการใช้พลังงานโซล่าเซลในการนำมาพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วจึงนำมาเข้าสู่ระบบไบโอดีเซลต่อไป ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในทั้ง 2 ระบบ โดยได้แก่ การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับในการหุงต้มน้ำเพื่อทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าในอดีต อีกทั้งยังนำมาใช้ในการให้ความร้อนกับน้ำมันพืชที่ได้ผ่านการใช้งานแล้ว เพื่อที่จะนำมาไว้ใช้สำหรับขั้นตอนกระบวนการกลั่น แล้วจึงนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อในกระบวนการถัดไป[93]

บทเพลง[แก้]

บทเพลงภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบไปด้วยบทเพลง 2 ประเภท[94] ซึ่งจะแบ่งออกเป็นบทเพลงประจำคณะวิชา และบทเพลงสันทนาการ โดยในช่วงระยะเวลาปัจจุบันมีจำนวนบทเพลงโดยรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 22 บทเพลง[94] ในจำนวนนี้จะสามารถแบ่งออกเป็นบทเพลงประจำคณะวิชาจำนวน 6 บทเพลง[94][e] และในส่วนของบทเพลงสันทนาการอีกจำนวน 16 บทเพลง[94][f] โดยบทเพลงเหล่านี้จะถูกนำใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆที่ทางคณะวิชาได้ทำการเข้าร่วม ซึ่งรวมไปถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในบริเวณมหาวิทยาลัย และกิจกรรมที่จัดขึ้นภายนอกบริเวณมหาวิทยาลัย

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Creativity + Entrepreneurship + Technology
  2. ในส่วนของอักษรย่อคณะวิชาโดยมากจะนิยมใช้ BUEN เป็นอักษรย่อที่ใช้สำหรับจำกัดความในส่วนของชื่อคณะวิชา เนื่องมาจากเป็นการลดรูปคำว่า Bangkok University Engineering ให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่าย
  3. 3.0 3.1 3.2 ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน แต่ไม่ทราบวันก่อตั้งที่แน่ชัด
  4. 4.0 4.1 4.2 คำนำหน้านามขณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในช่วงระยะเวลานั้น
  5. ประกอบไปด้วยบทเพลงดังนี้ เพลงปรบมือคณะรหัส 3, เพลงENGINEER BOOM, เพลงสายเลือดวิศวะ, เพลงแรงเลือดหมู, เพลงวิศวะคนซี่อ และเพลงวิศวะรักจริง[94]
  6. ประกอบไปด้วยบทเพลงดังนี้ เพลงแมงวัน, เพลงสับปะรด, เพลงตุ่ม, เพลงฮิปโป, เพลงตาแดงๆ, เพลงหล่อ+สวย, เพลงรถเมล์มอ, เพลงมะขวิด, เพลงพี่คะ, เพลงดัชนีไร้รัก, เพลงกระดึ๊บ, เพลงบัวนิเทศ, เพลงนวลอนงค์, เพลงนายพราน, เพลงบูชายัญ และเพลงว่าวไพ่[94]

อ้างอิง[แก้]

  1. FAQ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2001-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  2. BU Brochure Dek 65หน้าที่ 7
  3. ชื่อทางการในภาษาอังกฤษของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  4. ปูมองค์กรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  5. คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2021-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 9 August 2021
  6. สีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  7. ที่อยู่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  8. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. หนังสือพิมพ์ "บ้านกล้วย" ปีที่40 ฉบับที่1. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021
  9. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. บทเพลงประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 14 September 2021
    Eidi Mohammad Atef, Nitiwit Dumrichob, Romuald Jolivot, Waleed Mohammed, Karel Sterckx (2020). Low Cost Solar Power System with Open Loop Tracking for Rural and Developing Areas วิศวกรรมสาร มกท.
    (Bangkok University Engineering Journal), 5(24):pp. 65-76. ISSN 0125-8281 สืบค้นเมื่อ 30 August 2021
  10. 11.0 11.1 สถานที่ทำการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  11. 12.0 12.1 12.2 12.3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2 October 2018). "ประวัติและที่มาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ". มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
  12. 13.0 13.1 สาขาวิชาเริ่มแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2001-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  13. 14.0 14.1 14.2 14.3 การรับรองมาตรฐานการศึกษาจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 เก็บถาวร 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  14. 15.0 15.1 15.2 15.3 *การรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เก็บถาวร 2003-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  15. 16.0 16.1 16.2 16.3 การรับการประเมินคุณภาพภายนอกของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2010-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  16. 17.0 17.1 17.2 17.3 *สภาวิศวกร. รายงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ - Annual Report 2018. รายชื่อหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่สภาวิศวกรให้การรับรองปริญญาฯ พ.ศ. 2561 และรายชื่อองค์กรแม่ข่ายสำหรับกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องที่สภาวิศวกรให้การรับรอง เก็บถาวร 2021-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; บริษัท จุดทอง จำกัด, 2019, ข-ค. ISBN 978-616-92290-4-9
  17. 18.0 18.1
  18. 19.0 19.1 พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
  19. BU Timeline
  20. 21.0 21.1 รายละเอียดBUEN ที่ยูทูบ
  21. 22.0 22.1 22.2 22.3 หลักสูตรการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  22. 23.0 23.1 23.2 23.3 หลักสูตรการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  23. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดหลักสูตรใหม่ ใน 4 สาขา คือ หลักสูตรต่อเนื่อง 3ปี และหลักสูตร Double degreeเก็บถาวร 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    • BU Bulletin
    • BU Brochure_Dek 65
    • BU Brochure_Artwork
    • คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (04 ธันวาคม พ.ศ. 2560). หนังสือพิมพ์บ้านกล้วย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปีที่ 40, ฉบับที่ 1.
    • ภาควิชาบรอดแคสต์ติ้งและวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทw (20 เมษายน พ.ศ. 2561). บ้านกล้วย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, No.1, Vol.40.
  24. ประวัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพประจำปี พ.ศ. 2547
  25. "เกี่ยวกับภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-08-30.
  26. 28.0 28.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  27. 29.0 29.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  28. 30.0 30.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  29. 31.0 31.1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  30. "หน่วยงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (ศูนย์คอมพิวเตอร์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  31. หน่วยงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BU-CROCCS)
  32. หน่วยงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BU - ITU) เก็บถาวร 2017-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  33. หน่วยงานภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BU - MIT)
  34. ศูนย์วิจัยนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  35. สภานักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เฟซบุ๊ก
  36. 38.0 38.1 38.2
  37. คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครเข้าศึกษาต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[ลิงก์เสีย]
  38. "เอกสารการรับสมัคร รอบที่ 4 Admission 2 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประจำปี พ.ศ. 2563" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  39. เอกสารการรับสมัคร รอบที่ 4 Admission 2 มหาวิทยาลัยเอกชน ประจำปี พ.ศ. 2563
  40. 42.0 42.1 เงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี รูปแบบการสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย และรูปแบบการสมัครผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Online)
  41. เงื่อนไขในการรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี รูปแบบรอง
  42. Admission Requirement for Master of Engineering.
  43. Doctoral Degree Graduation Requirements
  44. *แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ เก็บถาวร 2021-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. พิทักษ์ ศุภบัณฑิตย์กุล (1998). รายงานผลการแข่งขัน TPA Robocon'98 ROBOSOCCER Semiconductor Electronics Journal, (191):e227-231. ISSN 0125-1015
  46. 48.0 48.1 ผลงานหุ่นยนต์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  47. ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูร (1999). รายงานผลการแข่งขัน TPA RoBoCon '99 Semiconductor Electronics Journal, (196):e230-237. ISSN 0125-1015
  48. 50.0 50.1
  49. ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูร (1999). รายละเอียดทางเทคนิคและการออกแบบสร้าง BU maxspeed Semiconductor Electronics Journal, (198):e126-132. ISSN 0125-1015
  50. การจัดอันดับความนิยมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยสถาบันจัดอันดับทางการศึกษา
  51. รายละเอียดในการจัดอันดับความนิยมของสาขาคณะ และสถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันจัดอันดับทางการศึกษา
  52. สาขาวิชาในระดับปริญญาตรี ที่ยูทูบ
  53. สถานที่สำคัญภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  54. ตำแหน่งสถานที่ตั้งตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  55. สวนอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เฟซบุ๊ก
  56. สวนอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ยูทูบ
  57. ตำแหน่งสถานที่ตั้งสวนอาหารริมธาร ตึกวิศวะ ม.กรุงเทพ
  58. รายชื่อศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  59. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. "ศิษย์เก่าเพชรชัยพฤกษ์". สืบค้นเมื่อ 17 October 2021
  60. "บุคลากรสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา - สุนันทา สมใจ (SUNUNTA SOMJAI)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-30. สืบค้นเมื่อ 2022-08-30.
  61. * บุคลากรโรงเรียนบ้านนาบัว สพป.นครพนม เขต 1 - อภิสิทธิ์ อุคำ เก็บถาวร 2022-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  62. พารุ่นพี่ "ศุภฤกษ์ หนูเจริญ" คณะวิศวกรรมศาสตร์ มาให้ทุกคนรู้จัก ที่เฟซบุ๊ก
  63. จากคนเขียนSoftware มาสู่ เถ้าแก่ โดย คุณศุภฤกษ์ หนูเจริญ ที่เฟซบุ๊ก
  64. * ข้อมูลโดยภาพรวม บริษัท ดิจิเดย์ จำกัด
  65. แนะนำศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เก็บถาวร 2016-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  66. BU ALUMNI ASSOCIATION - ปิยพงศ์ เปรมวรานนท์
  67. ศิษย์เก่าคนดังมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หน้าที่ 10
  68. อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับรางวัล BAD AWRADS สาขา Interactive, web-site design เก็บถาวร 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  69. "รายละเอียดโดยภาพรวม ณัฐภพ นิ่มปิติวัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-30. สืบค้นเมื่อ 2022-08-30.
  70. คณะกรรมการบริหารสมาคม ECTI ชุดปี (2006-2007)
  71. * พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง BU กับ NEA
  72. รายละเอียดโดยภาพรวม ทิพรัตน์ วงษ์เจริญ[ลิงก์เสีย]
  73. ผลงานอาจารย์ - จักรพงษ์ สุธาภุชกุล
  74. คณะผู้บริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสืบค้นเมื่อ 17 October 2021
  75. 79.0 79.1 79.2 79.3 พันธมิตร สืบค้นเมื่อ 24 August 2021
  76. ปฐมนิเทศวิชาการ ที่ยูทูบ
  77. สถานที่ในการศึกษาตลอดทั้งหลักสูตร
  78. 85.0 85.1
    • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. "WITSATER". สืบค้นเมื่อ 9 September 2021
    • BU Brochure_Dek 65หน้าที่ 9
    • WITSATER ที่ยูทูบ
  79. 86.0 86.1 86.2 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. "ช็อปวิศวกรรม". สืบค้นเมื่อ 7 October 2021
  80. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. ระเบียบการแต่งกายนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022
  81. ตัวอย่างชุดครุยวิทยฐานะ ที่ถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  82. วิศวกรสังคม
  83. ประวัติพระวิษณุกรรม
  84. การเดินทางมายังคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพสืบค้นเมื่อ 26 August 2021
  85. *หัวข้อ รายละเอียดอาคารสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดย true ปลูกปัญญา เก็บถาวร 2020-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 28 September 2021
  86. "ระบบขนส่งภายใน ขวัญใจชาวมหาวิทยาลัย ในหัวข้อรถซาฟารี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  87. 94.0 94.1 94.2 94.3 94.4 94.5 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์. BUEN CHEERBOOK (Official Song & Cheer Song) ฉบับที่27. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

14°02′25″N 100°36′37″E / 14.04017222°N 100.61030278°E / 14.04017222; 100.61030278