คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Faculty of Science and Technology , Rajamangala University of Technology Thanyaburi
สถาปนา21 มิถุนายน พ.ศ. 2538
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพัทย์ จงสวัสดิ์
ที่อยู่
สี  สีน้ำตาล
เว็บไซต์www.sci.rmutt.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (อังกฤษ : Faculty of Science and Technology , Rajamangala University of Technology Thanyaburi) เป็นคณะในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[1] ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2538

นโยบายและวิสัยทัศน์[แก้]

วิสัยทัศน์ (Vision)[แก้]

“เป็นคณะชั้นนำหนึ่งในห้ากลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคุณค่าสู่สังคมและประเทศ”

ปรัชญา (Philosophy)[แก้]

“นวัตกรรมสร้างชาติ บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาและสร้างนวัตกรรม”

ปณิธาน (Determination)[แก้]

“มุ่งมั่นจัดการศึกษาและวิจัยในการผลิตบัณฑิตนนักปฏิบัติมืออาชีพและนักนวัตกร ที่ทรงคุณค่าต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”

เอกลักษณ์ (Uniqueness)[แก้]

“คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนักปฏิบัติ พัฒนา นวัตรกร และสร้างสรรค์นวัตกรรม”

อัตลักษณ์ (Identity)[แก้]

“นักปฏิบัติมืออาชีพ นักคิด นักสร้างสรรค์นวัตกรรม”

พันธกิจ (Mission)[แก้]

1. ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

2. ผลิตผลงานวิจัยและสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ

3. บริการวิชาการที่ตอบสนองต่อความต้องการเป็นที่ยอมรับและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน

ค่านิยมองค์กร (Core values)[แก้]

สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม (S = Strength)

ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ (C= Collaboration)

เพื่อสร้างนวัตกรรม (I = Innovation)

ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี (T = Technology)

วัฒนธรรมองค์กร (Organization Working Culture)[แก้]

รักองค์กร ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาสู่สากล

สมรรถนะหลัก[แก้]

  1. ผลิตบัณฑิตนักนวัตกรที่ปฏิบัติงานได้จริง มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ มีสมรรถนะด้าน IT & Tech และ IT ตามาตรฐานสากล
  2. สร้างนวัตกรรม/งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อพัฒนาประเทศ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในฐานข้อมูลสากที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  3. มีศูนย์ความเป็นเลิศสร้างรายได้ให้กับคณะและสร้างศูนย์การเรียรรู้ให้กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
  4. มีเครือข่ายและหน่วยงานภารรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

ประวัติ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดิมชื่อ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้ชื่อ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นที่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยี ราชมงคลเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2538 โดย รองศาสตราจารย์ ธรรมนูญ ฤทธิมณี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในขณะนั้น ซึ่งได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นฐานความรู้ในการศึกษาทุกสาขาวิชาชีพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกทั้งในขณะนั้นประเทศกำลังขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก ดังนั้นการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงสอดคล้องตามความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก คณะวิทยาศาสตร์ เป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามอาคารของคณะฯ ว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา” และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ ให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ (5 ธันวาคม 2542) มาประดิษฐานประดับอาคารฯ นอกจากนี้คณะฯ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ มาประดิษฐาน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีดังนี้

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยุทธ ช่างสาร 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
2. รองศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ ดวงเดือน 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
3. รองศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริแข พงษ์สวัสดิ์ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 - 27 กันยายน 2559
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพัทธ์ จงสวัสดิ์ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

หลักสูตรระดับปริญญาตรี[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(วท.บ.) มี 9 สาขาวิชา ได้แก่[แก้]

  1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  2. สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  3. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดิจิทัล
  5. สาขาวิชาการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่
  6. สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  7. สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
  8. สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
    1. เทคโนโลยีเครื่องมือวัด
    2. นวัตกรรมวัสดุและนาโนเทคโนโลยี
  9. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยีอาหาร

หลักสูตรระดับปริญญาโท[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(วท.ม.) มี 4 สาขาวิชา ได้แก่[แก้]

  1. สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  2. สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
  3. สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและสารสนเทศ
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและนวัตกรรม

หลักสูตรระดับปริญญาเอก[แก้]

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ปร.ด.) มี 2 สาขาวิชา คือ[แก้]

  1. สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและนวัตกรรม

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]