คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Science & Arts
สถาปนา13 กันยายน พ.ศ. 2543
คณบดีดร.วศิน ยุวนะเตมีย์
ที่อยู่
57 หมู่ 1 ถนนชลประทาน ตำบลโขมง
อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี 22170
สีสีเหลืองและสีขาว
สถานปฏิบัติอาคาร 100 ปีสมเด็จพระศรีนคริทร์
เว็บไซต์http://www.chanthaburi.buu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Faculty of Science & Arts) ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

ประวัติคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์[แก้]

นโยบายของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทตามแผนอุดมศึกษาระยะยาว (พ.ศ. 2533 - 2547) โดยมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมาย ของอุดมศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับของประเทศ มหาวิทยาลัยบูรพาได้รับอนุมัติให้ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 [1]ตามแผนแม่บททางวิชาการได้กำหนดให้มีคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เป็นหน่วยงานจัดการศึกษา ในรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนองความต้องการกำลังพลของภูมิภาคและของประเทศ

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรีร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี ผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา และในระหว่างนั้นได้ดำเนินการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ซึ่งได้รับอนุมัติ ให้เป็นหน่วยงานภายในเมื่อปี พ.ศ. 2543

โดยเริ่มแรกได้ใช้อาคารหอประชุมทองใหญ่อนุสรน์ เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว เปิดทำการสอนตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้ทำการย้ายที่ตั้งคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มายัง ต.โขมง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี[2] ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ 57 หมู่ที่ 1 ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และมีพื้นที่ในส่วนของสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยเป็นจำนวน 450 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับการใช้งานอีก 2 แห่งคือ ที่ดินสาธารณประโยชน์หนองพง ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ 179 ไร่ และ ที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งร้อยรู ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด พื้นที่ 900 ไร่ อีกด้วย

หลักสูตร[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เปิดสอน 6 หลักสูตร ดังนี้

(1) วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่[แก้]

ชื่อปริญญา[แก้]

ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Modern Agricultural Technology

คุณสมบัติ[แก้]

รับ ผู้สมัครจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต (6 ภาคเรียน)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา[แก้]

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร : 82,400 บาท (เหมาจ่ายรายภาคเรียน ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 10,300 บาท , ภาคฤดูร้อน 5,150 บาท)

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agricultural Technology) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มวิชา[แก้]

1. กลุ่มวิชาเทคโนโลยีและการจัดการไม้ผล

2. กลุ่มวิชาเทคโนโลยีปรับปรุงพันธุ์และการออกแบบพืชอาหาร

ปรัชญาหลักสูตร[แก้]

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้วิชาการ ชำนาญปฏิบัติ ก้าวทันเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ สามารถประยุกต์ นำพาสังคมไทยให้ปลอดภัย เข้มแข็งและยั่งยืน

เกี่ยวกับหลักสูตร[แก้]

1. สาระสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตร  มีการพัฒนาจากหลักสูตรเดิมอย่างไร[แก้]

หลักสูตรเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ได้พัฒนาเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานและสถานประกอบการ (หลักสูตรปรับปรุง 2563) โดยปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตพืชแบบแม่นยำ เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืช เทคโนโลยีชีวภาพกับการจัดการโรคพืช เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ และเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และนโยบายของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0 มุ่งพัฒนาการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การบริหารจัดการการเกษตรแบบสมัยใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตร หลักสูตรจึงพัฒนารายวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ การผลิตสู่การตลาดและการเพิ่มมูลค่า และแบ่งกลุ่มวิชาเพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำงานในปัจจุบันและในอนาคตที่มุ่งเน้น Smart officer, Smart researcher, Smart farmer, Smart agriculture และการตลาดสมัยใหม่

2. หลักสูตร เด่นอย่างไร เด่นกว่าหลักสูตรในมหาวิทยาลัยอื่นอย่างไร[แก้]

          เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เน้นการจัดการเรียนการสอนเทคโนโลยีและการจัดการไม้ผล การปรับปรุงพันธุ์พืชอาหาร ซึ่งในการออกแบบหลักสูตรได้แยกออกเป็นกลุ่มวิชา โดยคำนึงถึงสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกไม้ผลและพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศไทยและมีมูลค่าการส่งออกสูง

สาขานี้เรียนด้านไหนบ้าง[แก้]

  • การจัดการธาตุอาหารพืช เทคโนโลยีการผลิตไม้ผล
  • โรคพืช ธุรกิจเกษตร การขายสินค้าออนไลน์
  • นวัตกรรมอาหาร เกษตรอัจฉริยะ
  • การปรับปรุงพันธุ์พืช การปลูกพืชไร้ดิน

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

  • รับราชการในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเกษตร
  • นักวิจัยและเจ้าหน้าที่ในองค์กรภาครัฐและเอกชน
  • ประกอบธุรกิจทางด้านการเกษตรหรือเป็นพนักงานบริษัทที่ประกอบธุรกิจการเกษตร
  • นักวิชาการเกษตร
  • หน่วยงานราชการ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพผลผลิต
  • นักปรับปรุงพันธุ์พืช บริษัทสารเคมีการเกษตร
  • บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช
  • ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
  • สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ความน่าสนใจและกิจกรรม[แก้]

  • สาขานี้เน้นการการเรียนนอกชั้นเรียนและลงพื้นที่ศึกษาดูงานในไร่และสวนจริงๆ การศึกษาในระบบโรงเรือน
  • ศึกษาดูงานโรงคัด-บรรจุผลิตผลการเกษตร
  • การเรียนในห้องปฏิบัติการ / การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • โครงการนิสิตแลกเปลี่ยนนานาชาติ ได้แก่ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านภาษาและวัฒนธรรม ( Cultural and Language Exchange Program: CLEP) และ โครงการการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านวิชาการ ( Academic Exchange Program: AEP)

หมายเหตุ : นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรมีโอกาสเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลา 4 เดือน ในชั้นปีที่ 4 ถ้านิสิตมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของคณะฯ และผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ. 

ทุนการศึกษา[แก้]

  • กยศ.
  • ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ

ติดต่อเรา : Facebook สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่   [แก้]

(2) วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล[แก้]

ชื่อปริญญา[แก้]

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Information Technology and Data Science)

คุณสมบัติ[แก้]

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา และ มีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
  • กรณีเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์รวมกัน ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
  • กรณีเป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา จะต้องสำเร็จการศึกษาทางด้านไฟฟ้า ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ หรือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยที่นิสิตสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ ตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การเทียบโอนผลการเรียนนิสิตระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ถ้ามี)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา[แก้]

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร : 81,600 บาท (เหมาจ่ายรายภาคเรียน ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 10,200 บาท , ภาคฤดูร้อน 5,100 บาท)

ปรัชญาหลักสูตร[แก้]

หลักสูตรนี้มุ่งสร้างบัณฑิตที่พร้อมเรียนรู้สู่สิ่งใหม่ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล มีมนุษยสัมพันธ์  มีทักษะพร้อมปฏิบัติงาน มีคุณธรรม มีส่วนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนรูปหน่วยงานให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิทัล มุ่งสร้างนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของยุทธศาสตร์ประเทศ

เกี่ยวกับหลักสูตร[แก้]

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล ได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล

2. รองรับการเปลี่ยนรูปองค์การไปสู่องค์กรอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-driven Business) บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล

3. พัฒนากำลังคนสำหรับธุรกิจดิจิทัล สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อนเชิงธุรกิจทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

  • นักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล
  • นักพัฒนาเว็บไซต์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานด้านสารสนเทศ
  • นักทดสอบงานระบบสารสนเทศ
  • นักวิทยาการข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูล
  • ผู้ประกอบการธุรกิจ
  • นักวิเคราะห์ด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
  • นักพัฒนาด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
  • นักพัฒนาคลังข้อมูล ในภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่

ความน่าสนใจและกิจกรรม[แก้]

  • ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล
  • การเสริมทักษะการบังคับโดรน
  • การเสริมทักษะการทำงานด้าน IoT
  • การร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนาซอฟต์แวร์
  • การร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานทางวิชาการ
  • กิจกรรมสานสัมพันธ์น้องพี่
  • กิจกรรมจิตอาสา
  • โครงการนิสิตแลกเปลี่ยนนานาชาติ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านภาษาและวัฒนธรรม (Cultural and Language Exchange Program: CLEP) และ โครงการการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านวิชาการ ( Academic Exchange Program: AEP)

หมายเหตุ นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ในชั้นปีที่ 4 ถ้านิสิตมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของคณะฯ และผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

  • กรณีการฝึกสหกิจศึกษา สามารถเข้าร่วมกับสถานประกอบการ ทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และ มีโอกาสไปฝึกสหกิจศึกษาต่างเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยสถิติหลังฝึกจบมีโอกาสได้งานทำสูง
  • กรณีไม่ไปสหกิจศึกษา สามารถเข้าร่วมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กับสถานประกอบการโดยใช้เวลา ไม่น้อยกว่า 7 สัปดาห์ และทำโครงงานการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูลที่นิสิตสนใจ

ทุนการศึกษา[แก้]

  • กยศ.
  • ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ

ติดต่อเรา : Facebook สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล[แก้]

(3) วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) สาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เก็บถาวร 2021-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[แก้]

ชื่อปริญญา[แก้]

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Applied Artificial Intelligence and Smart Technology)

คุณสมบัติ[แก้]

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องมีหน่วยกิตการเรียนในกลุ่มสาระต่าง ๆ  ดังนี้

     - กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต หรือ

     - กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต หรือ

2. เป็นผู้สำเร็จการระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ

3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา ทางด้านไฟฟ้า  ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  อิเล็กทรอนิกส์   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  แมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ

4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ปี

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษา[แก้]

แบบเหมาจ่ายรายภาคเรียน ภาคต้นและภาคปลาย ภาคเรียนละ 25,000 บาท ภาคฤดูร้อนภาคเรียนละ 12,500 บาท

ปรัชญาหลักสูตร[แก้]

หลักสูตรนี้มุ่งสร้างบัณฑิตนักปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ มีทักษะพร้อมปฏิบัติงาน มีคุณธรรม เป็นผู้นำในการขับเคลื่อน การเปลี่ยนรูปหน่วยงานให้เป็นองค์กรอัจฉริยะ มุ่งสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้อง กับความต้องการของยุทธศาสตร์ประเทศ

เกี่ยวกับหลักสูตร[แก้]

สาขาวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติเป็นศาสตร์ที่ประยุกต์งานด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับและบูรณาการร่วมกันกับศาสตร์อื่น ๆ ได้เกือบทุกแขนง จึงจำเป็นต้องมีการสร้างบัณฑิตให้ทันต่อการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของสภาพเศรษฐกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลยุทธ์ขององค์กรต่าง ๆ รวมทั้งความต้องการและกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงควรมีการจัดรูปแบบของหน่วยงานให้สามารถเอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาที่เน้นการวิจัยเชิงบูรณาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติตามความต้องการของสภาพเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม กอปรกับมหาวิทยาลัยบูรพาได้กำหนดยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง EEC เพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด จึงจำเป็นที่มหาวิทยาลัยบูรพาจะต้องใช้ “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการนำพาคนไทยสู่ความรู้และปัญญา นำพาเศรษฐกิจไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน  และนำพาสังคมไทยสู่ความเสมอภาค” เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างฉลาด การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมจะอยู่บนพื้นฐานของความรู้และปัญญา โดยให้โอกาสแก่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอย่างเสมอภาค นำไปสู่การเติบโตอย่างสมดุล

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

  • นักออกแบบและพัฒนาปรับปรุงปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อการเปลี่ยนรูปองค์กรเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) เช่น
    • วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์ (Applied Artificial Intelligence Engineer)
    • วิศวกรการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning Engineer)
    • เจ้าหน้าที่ทำงานทางด้านการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัลในองค์กร
    • วิศวกรคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision Engineer)
    • นักพัฒนาธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Developer)
    • นักพัฒนาอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things Developer)
    • นักวางแผนการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัล
    • ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านการจัดการเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีข้อมูลดิจิทัล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลในภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
  • ผู้ประกอบการอิสระด้านการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลดิจิทัล บริษัท StartUP ด้านดิจิทัลเพื่อรับงานวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศอัจฉริยะ รวมถึงเป็น Design House, Intelligent Product Design, และ System Integration ส่วนของ Smart Technology ให้ลูกค้า หรือ Software House ทั่วไป

ความน่าสนใจและกิจกรรม[แก้]

  • ทุกภาค Summer ไปฝึกปฎิบัติเครื่องมือทางด้าน AI และ Automation ที่ Automation Park ของ EEC
  • AI Camp รวมพลคน AI
  • ศึกษาดูงานด้าน AI และ Smart Technology
  • การร่วมกิจรรมนำเสนอผลงานวิชาการ

หมายเหตุ นิสิตสาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลา 9 เดือน ในชั้นปีที่ 4 ถ้านิสิตมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของคณะฯ และผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

ทุนการศึกษา[แก้]

  • กยศ.
  • ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ

ติดต่อประธานสาขา : ผศ.ดร.สมบัติ ฝอยทอง เบอร์โทร 0897923128 ไลน์ Sombut[แก้]

ติดต่อเรา : Facebook สาขาปัญญาประดิษฐ์ประยุกต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยบูรพา[แก้]

(4) บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) กลุ่มวิชา การตลาดและบริการ / กลุ่มวิชา การประกอบการ[แก้]

ชื่อปริญญา[แก้]

ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration

คุณสมบัติ[แก้]

ผู้สมัครจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า เช่น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา[แก้]

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร : 64,000 บาท (เหมาจ่ายรายภาคเรียน ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 8,000 บาท , ภาคฤดูร้อน 4,000 บาท)

ปรัชญาหลักสูตร[แก้]

รอบรู้ด้านการตลาดและการบริการ หรือ การประกอบธุรกิจ มีทักษะการทำงานหลายด้าน สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ มีบุคลิกภาพที่ดีในการทำงาน ชำนาญการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้การทำงานในองค์กรและการประกอบธุรกิจมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับหลักสูตร[แก้]

ศึกษาสาระสำคัญด้านบริหารธุรกิจเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะด้าน (การตลาดและบริการ / การประกอบการ) และเน้นการปฏิบัติ

1. กลุ่มวิชาการตลาดและบริการ ผู้เรียนมีองค์ความรู้ด้านการตลาด และมีทักษะการบริการ รวมถึงใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบอาชีพได้ เช่น การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการด้านการตลาดและบริการ เป็นต้น

2. กลุ่มวิชาการประกอบการ ผู้เรียนบูรณาการความรู้ด้านการจัดการ การตลาด การเงิน บัญชี และระบบสารสนเทศทางธุรกิจได้ เพิ่มเติมความรู้และฝึกทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการในรายวิชาต่างๆ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่าย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประกอบการและวิสาหกิจเพื่อสังคม การวินิจฉัยสถานประกอบการ การเขียนแผนธุรกิจ เป็นต้น

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

  • กลุ่มวิชาการตลาดและบริการ ประกอบอาชีพด้านการตลาดและบริการต่าง ๆ เช่น งานขาย วางแผนการตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ บริหารผลิตภัณฑ์ พัฒนาช่องทางการจำหน่าย วิจัยตลาด บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า การตลาดในธุรกิจบริการ งานบริการต่าง ๆ เป็นต้น ประกอบธุรกิจส่วนตัว
  • กลุ่มวิชาการประกอบการ ประกอบธุรกิจส่วนตัวหรือทำงานด้านการจัดการในองค์กร เช่น การขายออนไลน์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ วินิจฉัยองค์กร วิจัยธุรกิจ วางแผนและพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น

ความน่าสนใจและกิจกรรม[แก้]

  • หางานง่าย เนื่องจากทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีตำแหน่งงานด้านการตลาด การบริการ และด้านการจัดการ และตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ หรือบริหารธุรกิจของครอบครัวต่อไป
  • สอนหรือแบ่งปันประสบการณ์ในหลายรายวิชาโดยผู้มีประสบการณ์ตรงจากภายนอก
  • ชั้นปีที่ 1 ก่อนเปิดภาคเรียน คณาจารย์ของคณะฯ สอนปรับพื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์
  • ชั้นปีที่ 2 การแบ่งปันประสบการณ์การเรียนจากตัวแทนนิสิตรุ่นพี่ และประสบการณ์การทำงานจากศิษย์เก่า
  • ชั้นปีที่ 3 การถ่ายทอดประสบการณ์การฝึกงาน (ทำงานระยะสั้น) และการปฏิบัติสหกิจศึกษา (ทำงานระยะยาว) จากนิสิตรุ่นพี่
  • ชั้นปีที่ 4 สัมมนาสาขาบริหารธุรกิจโดยเชิญวิทยากรด้านบริหารธุรกิจทั้งบุคคลภายนอกและ/หรือศิษย์เก่ามาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้กับนิสิตทั้ง 4 ชั้นปี และนิสิตต่างสาขา
  • ให้คำแนะนำการวางแผนและเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ และมีกิจกรรมพัฒนานิสิตตลอดช่วงเวลาที่เรียน เช่น พัฒนาบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายในเพื่อเป็นนักบริหารธุรกิจที่ดี สร้างทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานภายใต้ความกดดัน การทำงานท่ามกลางสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลง เขียนจดหมายสมัครงานและresume เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ส่งเสริมการสอบ License เพื่อการประกอบอาชีพ ศึกษาดูงาน เป็นต้น
  • เปิดโอกาสให้ลงมือทำธุรกิจ และมีรายได้จริง รวมถึงบูรณาการองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจกับศาสตร์ต่างๆ ได้
  • ส่งเสริมการนำความรู้ด้านบริหารธุรกิจไปพัฒนาชุมชน
  • ฝึกฝนการนำเสนองาน การจัดรายการ การจัดทำคลิปวิดีโอ และอื่น ๆ ในห้องสตูดิโอของคณะฯ
  • สนับสนุนการแข่งขันด้านบริหารธุรกิจในเวทีต่าง ๆ
  • สามารถเข้าร่วมโครงการนิสิตแลกเปลี่ยนนานาชาติ ได้แก่ โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านภาษาและวัฒนธรรม และ โครงการการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านวิชาการ

หมายเหตุ มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลาอย่างน้อย 4 เดือน ในชั้นปีที่ 4 ถ้าผู้เรียนมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขของคณะฯ และผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

ทุนการศึกษา[แก้]

  • กยศ.
  • ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ

ติดต่อ : โทรศัพท์ 0-3931-0000 ต่อ 2068, 2055, 1609, 1610 และ 08-7067-4831[แก้]

ติดต่อเรา : Facebook กลุ่มวิชา การตลาดและบริการ / กลุ่มวิชา การประกอบการ[แก้]

(5) บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน[แก้]

ชื่อปริญญา[แก้]

ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration (Logistics and Cross- Border Trade Management)

คุณสมบัติ[แก้]

ผู้สมัครจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต (6 ภาคเรียน)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา[แก้]

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร : 64,000 บาท (เหมาจ่ายรายภาคเรียน ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 8,000 บาท , ภาคฤดูร้อน 4,000 บาท)

ปรัชญาหลักสูตร[แก้]

ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์ และการค้าระหว่างประเทศ ควบคู่กับการมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรอบรู้เท่าทันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

เกี่ยวกับหลักสูตร[แก้]

ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และการค้ากับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งกลุ่มประเทศอาเซียน และเอเชียตะวันออก เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาโลจิสติกส์

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

  • ด้านการจัดการโลจิสติกส์ เช่น หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การควบคุมวัตถุดิบ การจัดซื้อ การจัดการคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้าระหว่างประเทศ
  • ด้านการจัดการการค้าชายแดนหรือการค้าระหว่างประเทศ เช่น หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การนำเข้า การจัดซื้อหรือจัดหาต่างประเทศ การขายต่างประเทศการตลาดต่างประเทศ การประสานงานต่างประเทศ ในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน และการประกอบธุรกิจส่วนตัว

ความน่าสนใจและกิจกรรม[แก้]

  • ชั้นปีที่ 1-3 ศึกษาดูงานในสายงานต่างๆ เช่น ด่านการค้าชายแดน ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ ท่าอากาศยาน คลังสินค้า โรงงานสายการผลิต เป็นต้น
  • ชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมการฝึกงานและสหกิจศึกษาตามสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศ
  • เข้าร่วมโครงการนิสิตแลกเปลี่ยนนานาชาติ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านภาษาและวัฒนธรรม ( Cultural and Language Exchange Program: CLEP) และ โครงการการแลกเปลี่ยนนิสิตด้านวิชาการ ( Academic Exchange Program: AEP)
  • กิจกรรมส่งเสริมทักษะต่างๆ เช่น การจัดอบรมและสอบใบประกอบคุณวุฒิวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ ผู้ปฏิบัติการนำเข้าส่งออก ผู้ปฏิบัติคลังสินค้า
  • กิจกรรมสัมนาด้านการจัดการโลจิสติกส์ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทันสมัยตามสถานการณ์โลก
  • กิจกรรม LBT DAY จัดแสดงผลงานของนิสิต และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับศิษย์เก่า
  • กิจกรรมการแข่งขันทักษะด้านโลจิสติกส์ต่างๆ เช่น การแข่งขัน Lean Game การแข่งขันจัดเส้นทางเดินรถ (Logistics Model) เป็นต้น

หมายเหตุ นิสิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลา 4 เดือน ในชั้นปีที่ 4 ถ้านิสิตผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

หน่วยกิต[แก้]

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต

  • วิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต เช่น ภาษาเพื่อการสื่อสาร ทักษะชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 100 หน่วยกิต เช่น การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การจัดการเพื่อการส่งออกและการนำเข้า การจัดการคลังสินค้า พิธีการศุลกากร การจัดการการขนส่งทางทะเล เป็นต้น

ทุนการศึกษา[แก้]

  • กยศ.
  • ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ

ติดต่อเรา : Facebook สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน[แก้]

(6)ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ[แก้]

ชื่อปริญญา[แก้]

ภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (English for Business Communication)

คุณสมบัติ[แก้]

ผู้สมัครจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียนที่ผ่านการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต (6 ภาคเรียน)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา[แก้]

ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร : 144,000 บาท (เหมาจ่ายรายภาคเรียน ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 18,000 บาท , ภาคฤดูร้อน 9,000 บาท)

ปรัชญาหลักสูตร[แก้]

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ ให้มีความรอบรู้เท่าทันสถานการณ์ภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมีแนวคิดการเป็นผู้ใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินธุรกิจต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการมีคุณธรรม และจริยธรรม

เกี่ยวกับหลักสูตร[แก้]

ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพทางด้านธุรกิจ รวมถึงความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ในการพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์งานอาชีพ

รายวิชาที่น่าสนใจ[แก้]

  • English for Tourism Industry
  • English for Aviation Industry
  • English for Hotel Personnel
  • English for Standardized Tests
  • English for Importing and Exporting
  • English for International Trade
  • English for Logistics Management
  • English for Mass Media

แนวทางการประกอบอาชีพ[แก้]

สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจในภาครัฐและเอกชน งานแปล งานสำนักงาน และธนาคาร

ความน่าสนใจและกิจกรรม[แก้]

  • การศึกษาดูงานในสายงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สายการบิน โรงแรมระดับ5ดาว เป็นต้น
  • กิจกรรมจำลองการเป็นไกด์นำเที่ยวในรายวิชา English for Tourism Industry
  • การฝึกงานและฝึกสหกิจศึกษาต่างประเทศ
  • ส่งนิสิตเข้าร่วมโครงการ AUN and ASEAN+3 Educational Forum and Young Speakers’ Contest
  • โครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒธรรมกับ University of Malaya และ อีกหลายมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน

หมายเหตุ หมายเหตุ นิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ มีโอกาสเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษา (ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ) เป็นเวลา 4 เดือน ในชั้นปีที่ 4 ถ้านิสิตผ่านการคัดเลือกให้ปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

ติดต่อเรา : Facebook สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. แผนพัฒนาความเป็นเลิศมหาวิทยาลัยบูรพา_1.pdf https://planning.buu.ac.th/content/plan/strategie/แผนพัฒนาความเป็นเลิศมหาวิทยาลัยบูรพา_1.pdf/[ลิงก์เสีย]
  2. "คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์". scia.chanthaburi.buu.ac.th.