คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Faculty of Applied Science
King Mongkut's University of Technology North Bangkok
คติพจน์พัฒนาคน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถาปนาพ.ศ. 2522
คณบดีรศ.ดร.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น
ที่อยู่
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
สีสีเหลือง
เว็บไซต์sci.kmutnb.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม และการให้บริการวิชาการในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม บริการการสอนวิทยาศาสตร์ในหมวดวิชาทั่วไป แก่นักศึกษาทั้งในคณะและนอกคณะ ดำเนินการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ และประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ประวัติ[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีจุดเริ่มต้นมาจากภาควิชาคณิตศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

ต่อมาภาควิชาทั้งสองได้เปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม สาขาวิชาสถิติประยุกต์ และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ รวมทั้งให้บริการวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาคณะต่าง ๆ ภายในสถาบัน ทำให้ภาระงานของภาควิชาทั้งสองเพิ่มมากขึ้น

ทางสถาบันจึงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะยกฐานะให้เป็นคณะอย่างเป็นทางการ คณาจารย์ของภาควิชาทั้งสองจึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จนกระทั่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 และได้แยกตัวออกจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

หน่วยงาน[แก้]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี จำนวน 10 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 2-3 ปี จำนวน 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท จำนวน 7 หลักสูตร และปริญญาเอก จำนวน 3 หลักสูตร ดังต่อไปนี้

หลักสูตรการศึกษา
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี 4 ปี ระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 2-3 ปี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (MA)
  • สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (MMA)
ภาควิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์
  • สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ (IMI)(เน้นหลักสูตรฟิสิกส์อุตสาหกรรม)
  • สาขาอุปกรณ์การแพทย์ (IMIs)(เน้นหลักสูตรอุปกรณ์การแพทย์)
  • สาขาอุปกรณ์การแพทย์ (MMI)(เน้นหลักสูตรอุปกรณ์การแพทย์)
ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาเคมีอุตสาหกรรม (IC)
  • สาขาเคมีอุตสาหกรรม (MIC)
  • สาขาเคมีอุตสาหกรรม (Ph.D. (DIC))
ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (CS)(เน้นหลักสูตรฟิสิกส์)
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (CSs)(เน้นหลักสูตรฟิสิกส์)
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ (MCS)(เน้นหลักสูตรฟิสิกส์)
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ ภาคพิเศษ (S-MCS)(เน้นหลักสูตรฟิสิกส์)
ภาควิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาสถิติประยุกต์ (AS)
  • สาขาสถิติธุรกิจและการประกันภัย (ASB)
  • สาขาสถิติประยุกต์ (ASs)
  • สาขาสถิติประยุกต์ (MAST)
  • สาขาสถิติประยุกต์ (Ph.D.(DAST))
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
  • สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร (AT)
  • สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ET)
  • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร (FT)
  • สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชีวภาพ (MBIT)
  • สาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (MENV)
  • สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชีวภาพ (DBIT)
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ[ลิงก์เสีย]
  • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (BT)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]