คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Medical Science
Naresuan University
ตราสัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาปนา22 กันยายน พ.ศ. 2544; 22 ปีก่อน (2544-09-22)
คณบดีผศ.ร้อยโทหญิง ดร.สายศิริ มีระเสน
ที่อยู่
สี███ สีทอง
มาสคอต
Vitruvian man และ โครงสร้างอะตอม
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
เว็บไซต์www.medsci.nu.ac.th
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ : Faculty of Medical Science, Naresuan University) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นการรวมภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก (Pre-clinic) ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขาเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และให้การสนับสนุนงานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดทำโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เสนอขอปรับเข้าไว้ในแผนฯ 7 แล้ว และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยให้มีการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ระดับชั้นปรีคลินิก (Pre-clinic) ให้การสนับสนุนงานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตในคณะและสาขาวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ นิสิตในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ นิสิตในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สาขาวิชากายภาพบำบัด และสาขาวิชารังสีเทคนิค ในระดับปริญญาตรี

ต่อมาได้โอนหน่วยงานภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาสรีรวิทยา ภาควิชาปรสิตวิทยา ของคณะแพทยศาสตร์ และภาควิชาชีวเคมี ภาควิชาจุลชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มาเป็นภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาสรีรวิทยา ภาควิชาชีวเคมี และภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา สังกัดบคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรทั้งหมด

สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2544[1]

หน่วยงาน[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบไปหน่วยงานต่างๆ ได้แก่[2]

  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
  • ภาควิชาชีวเคมี
  • ภาควิชาสรีรวิทยา
  • ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา
  • สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านเห็ดและรา
  • สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
  • สถานบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สำนักงานเลขานุการคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ภาควิชา ปริญญาบัณฑิต ปรัญญามหาบัณฑิต ปริญญาดุษดีบัณฑิต
รวมทุกภาควิชา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ควบ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
ภาควิชาชีวเคมี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
ภาควิชาสรีรวิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรต่อเนื่อง (ปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท)
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
  • สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต่อเนื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
    • สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์
    • สาขาจุลชีววิทยา
    • สาขาวิชาชีวเคมี
    • สาขาวิชาปรสิตวิทยา
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
    • สาขาวิชาสรีรวิทยา

ศูนย์[แก้]

ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งอยู่
ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วยศูนย์ต่างๆ ดังนี้

  • ศูนย์นิติวิทยาศาสตร์

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์. ประวัติความเป็นมา [ออนไลน์]. 20 กันยายน 2564.
  2. คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์. โครงสร้างองค์กร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร [ออนไลน์]. 20 กันยายน 2564.