คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
School of Communication Arts
University of the Thai Chamber of Commerce
ชื่อย่อคนศ. มกค.
CA, UTCC (ไม่เป็นทางการ)
สถาปนา17 มิถุนายน พ.ศ. 2533 (33 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ วิไลนุช
ที่อยู่
อาคาร 9 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงรัชดาภิเษก
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0 2697 6604-5
สี สีน้ำเงิน
สถานปฏิบัติMedia Studio and Lab อาคาร 9 และอาคาร 7
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เว็บไซต์http://commarts.utcc.ac.th

ประวัติ[แก้]

สภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำหลักสูตร เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยเริ่มก่อตั้งคณะนิเทศศาสตร์ ขึ้นเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2533 โดยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในปัจจุบัน) ให้เปิดรับสมัครนักเรียนเพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษารุ่นแรก ในระดับปริญญาตรี 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวารสารศาสตร์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ ต่อมา ในปีการศึกษา 2536 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอบคัดเลือกนักศึกษารุ่นแรกของสาขาวิชาการโฆษณา และเนื่องจากมีผู้สนใจเข้าเรียนจำนวนมาก จึงได้เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ในปีการศึกษา 2538 และต่อมาได้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา มีการก่อตั้งศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ภาคภาษาไทย[แก้]

สาขาวิชานิเทศศาสตร์[แก้]

  • กลุ่มวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล
  • กลุ่มวิชาการออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล
  • กลุ่มวิชาภาพยนตร์ดิจิทัล

หลักสูตรระดับปริญญาโท ภาคภาษาไทย[แก้]

ในระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ เปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาโทรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2540 ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด (Marketing Communication) และได้ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเอกต่าง ๆ ดังนี้

  • เอกการสื่อสารแบรนด์
  • เอกการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม
  • เอกสื่อใหม่เพื่อการสื่อสารการตลาด

หลักสูตรระดับปริญญาเอก ภาคภาษาไทย[แก้]

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เริ่มเปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด (Marketing Communication) เป็นแห่งแรกของประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 โดยประกอบไปด้วย 2 แผนการศึกษา ดังนี้

  • แผน 1 เน้นการทำวิจัย


แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษาเฉพาะหมวดดุษฎีนิพนธ์

  • แผน 2 ศึกษารายวิชาและทำวิจัย

แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ศึกษาวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์

แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (โทควบเอก) ศึกษาวิชาเพิ่มเติมและหมวดดุษฎีนิพนธ์

ศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน[แก้]

คณะนิเทศศาสตร์ได้ก่อตั้ง ศูนย์ศึกษาและวิจัยสื่อสารมวลชนอาเซียน (AMSAR Center) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยในสาขาสื่อสารมวลชนของกลุ่มประเทศอาเซียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ขยายขอบเขตภารกิจให้ครอบคลุมทั้งด้านสื่อและการสื่อสารในภาพใหญ่ และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ศึกษาสื่อและการสื่อสารอาเซียน หรือ ASEAN Media and Communication Studies and Research Center (AMSAR) [1]

ทำเนียบคณบดี[แก้]

วาระการดำรงตำแหน่ง รายชื่อ ตำแหน่ง
มิ.ย. 2533- 2537
อาจารย์ ดร.มานิต บุญประเสริฐ
รักษาการคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2538- 2542
อาจารย์ ราชันย์ ฮูเซ็น
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2543- 2551
รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2551- 2552
รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์
รักษาการคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2552- 2553
รองศาสตราจารย์ มาลี บุญศิริพันธ์
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2553 – 2557
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2557 – 2562
อาจารย์ ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์
2562 – ปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ วิไลนุช
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แม่แบบ:มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย