คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะดุริยางคศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Music, Silpakorn University
สถาปนาพ.ศ. 2541
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิชัย เลิศสถากิจ
ที่อยู่
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 22 ถนนบรมราชชนนี แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
วารสาร
  • วารสารดนตรีศิลปากร
  • จุลสารดุริยวิจัย
สี██ สีดอกบานเย็น[1]
มาสคอต
พระคเณศ ประทับบนกุญแจซอล
เว็บไซต์www.music.su.ac.th

คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Music, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร และโรงเรียนดนตรีแห่งที่สองของประเทศไทยต่อจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (มหิดล) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541

ประวัติ[แก้]

"คณะดุริยางคศาสตร์" เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ "โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร" โดยดำริของ ศาสตราจารย์ ดร. ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร มีผู้อำนวยการคนแรก คือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ

คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา 2543 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส ปีการศึกษา 2546 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรที่สาม และในปีการศึกษา 2552 คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา ปีการศึกษา 2562 เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

คณะดุริยางคศาสตร์ จัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงในวิชาที่เรียน โดยเน้นสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ออกแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน ณ สถานศึกษาและสถานที่สำคัญอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนับเป็นการบริการวิชาการ และส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพดนตรีที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติได้

วิสัยทัศน์ = คณะดุริยางคศาสตร์ ผู้นำด้านดนตรีสร้างสรรค์ นำนวัตกรรม สร้างบัณฑิตดนตรีวิถีศิลปากร

พันธกิจ

  • M1. ผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศ สามารถสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพ มีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
  • M2. ส่งเสริม งานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานนวัตกรรม ทางดนตรีที่เป็นประโยชน์กับสังคม และสามารถต่อยอดสู่การสร้างมูลค่าทางเชิงพาณิชย์
  • M3. สนับสนุนงานบริการวิชาการและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมบูรณาการกับความเป็นเอกลักษณ์ไทย สร้างความเข้มแข็งให้กับวงการดนตรีประเทศไทย
  • M.4 ส่งเสริม สนับสนุน เข้าถึงนักศึกษาเป็นมิตร เข้าใจ ใส่ใจในการให้บริการทั้งสายงานวิชาการและสายงานสนับสนุน

หน่วยงาน[แก้]

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะดุริยางคศาสตร์
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
อาจารย์ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 15 กันยายน พ.ศ. 2541 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[2]
ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542[3]
2
อาจารย์ ถาวร เยาวขันธ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542[4]
3
นาวาเอก วีระพันธ์ วอกลาง รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2542[5]
ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2545 (ลาออก)[6]
4
อาจารย์ พุฒ วีระประเสริฐ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 – 3 กันยายน พ.ศ. 2545[7]
5
อาจารย์ ธนาทร เจียรกุล ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ 5 กันยายน พ.ศ. 2545 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[8]
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 4 กันยายน พ.ศ. 2549[9]
5 กันยายน พ.ศ. 2549 – 4 กันยายน พ.ศ. 2553[10]
6
รองศาสตราจารย์ ดร. มานี เหลืองธนะอนันต์ รักษาราชการแทน 5 กันยายน พ.ศ. 2553 – 8 กันยายน พ.ศ. 2553[11]
7
อาจารย์ ดำริห์ บรรณวิทยกิจ 9 กันยายน พ.ศ. 2553 – 8 กันยายน พ.ศ. 2557[12]
9 กันยายน พ.ศ. 2557 – 8 กันยายน พ.ศ. 2561[13]
8
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิชัย เลิศสถากิจ 9 กันยายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 739/2541 ลงวันที่ 15 กันยายน 2541
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 1049/2541 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2541
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 662/2542 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2542
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 979/2542 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2542
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1134/2542 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2542
  7. คำสั่ง มศก. ที่ 295/2545 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2545
  8. คำสั่ง มศก. ที่ 1010/2545 ลงวันที่ 4 กันยายน 2545
  9. คำสั่ง มศก. ที่ 945/2546 ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2546
  10. คำสั่ง มศก. ที่ 1098/2549 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2549
  11. คำสั่ง มศก. ที่ 1255/2553 ลงวันที่ 3 กันยายน 2553
  12. คำสั่ง มศก. ที่ 1288/2553 ลงวันที่ 13 กันยายน 2553
  13. คำสั่ง มศก. ที่ 1265/2557 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]