คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ครุศาสตรอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาว่าด้วยวิชาทางวิชาชีพต่างๆเช่น วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ โดยมุ่งเน้นในการผลิตครูอาชีวศึกษา ครูอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการศึกษาในสายอาชีพ

  • สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์(เครื่องกล โยธา ไฟฟ้า อุตสาหการ)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมศาสตร์ (เปิดสอนเฉพาะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร (เปิดสอนเฉพาะที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย[แก้]

สำหรับในประเทศไทยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพทางครุศาสตร์วิศวกรรม มีเพียงสถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เปิดสอนสาขาวิชาทางครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ เพื่อผลิตนักวิชาการหรือครูวิชาชีพทางศิลปะและสถาปัตยกรรม ให้กับวิทยาลัยเพาะช่าง ช่างศิลป์ หรือ วิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพทางศิลปะ และสาขาวิชาทางครุศาสตร์เกษตร เพื่อผลิตนักวิชาการ นักการเกษตร ครูผู้สอนวิชาเกษตรระดับมัธยมศึกษาหรือครูวิชาชีพทางการเกษตร เพื่อป้อนให้กับวิทยาลัยเกษตรที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดนทั้งสองสาขานี้ไม่มีในมหาวิทยาลัยอื่นๆอีก

หลักสูตรครูเทคนิคชั้นสูง[แก้]

การจัดการศึกษาด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในชื่อ "คณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี"[1] ต่อมาเปลี่ยนชื่อจาก คณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เป็น ภาควิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้ยกฐานะเป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาไฟฟ้า และสาขาวิชาอุตสาหการ (ปัจจุบันคือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.)[แก้]

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับการก่อตั้งขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2512 ในสาขาสาขาวิชาเครื่องกล และสาขาวิชาไฟฟ้า โครงการความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ได้เน้นทางด้านการสนับสนุนเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์การเรียนการสอน ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนทุนการศึกษา ฝึกอบรม และการดูงาน โดยคณะเริ่มรับนักศึกษารุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 ซึ่งเป็นหลักสูตร ค.อ.บ. แห่งแรกในประเทศไทย[2]

สายงานและอาชีพ[แก้]

  • ครุศาสตร์วิศวกรรม ครู อาจารย์ ในโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวะ หรือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิชาการ หรือประกอบอาชีพทางวิศวกรรม
  • ครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวะ หรือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิชาการ หรือประกอบอาชีพทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ
  • ครุศาสตร์เกษตร ครู อาจารย์ ในโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวะ หรือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิชาการ หรือประกอบอาชีพทางการเกษตร

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]